กลยุทธ์การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ AEC - FTA และ กฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin)

รหัสหลักสูตร: 27279

จำนวนคนดู 2167 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
ความตกลงเขตการค้าเสรี FTA เป็นผลให้ภาครัฐมีการเจรจาทางการค้ากับประเทศคู่ค้ามากขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต แต่ทั้งนี้ภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าส่งออกจำนวนมาก ยังไม่เข้าใจสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรอย่างแท้จริง รวมทั้งยังไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการเลือกใช้ประโยชน์จากข้อตกลงของ AEC - FTA ในการปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA ดังนั้น ประเด็นเรื่อง “กฎแหล่งกำเนิดสินค้า” จึงเป็นโอกาสอย่างมากต่อผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้าส่งออกที่จะใช้ข้อได้เปรียบของ AEC และแต่ละ FTA เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร นอกจากนี้ภาครัฐโดยเฉพาะกรมศุลกากร และ กรมการค้าต่างประเทศ ยังเน้นการตรวจสอบ (Post Audit) ในประเด็นของกฎแหล่งกำเนิดสินค้าและใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้าส่งออกจึงต้องเตรียมความพร้อมต่อการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้นจากภาครัฐในการใช้สิทธิตาม “กฎแหล่งกำเนิดสินค้า” ( Rules of Origin) เหล่านี้อย่างถูกต้อง
หัวข้ออบรมสัมมนา
• บทสรุปของ AEC ประโยชน์-ผลกระทบ • บทสรุปและการเปรียบเทียบ 10 เขตการค้าเสรีของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ ATIGA (AFTA เดิม), ACFTA, AJCEP, AKFTA, AANZFTA, TAFTA, NZTCEPA, ITFTA, JTEPA และ ITFTA • Update การเปลี่ยนแปลงล่าสุดสำหรับ “ความตกลงการค้าเสรี ASEAN-China FTA หรือ ACFTA” • การซื้อขายผ่านประเทศที่สามภายใต้เงื่อนไข Third Party (Country) Invoicing • การส่งออกผ่าน Agent ในจีน กับ Form E ปลอม • กรณี Movement Certificate, Through Bill of Lading • กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA Rules of Origin) • การปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้า กรณี Back-to-Back Form D • ข้อยกเว้นในเรื่องเกณฑ์ขั้นต่ำ DE MINIMIS • กรณีกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าฉบับทบทวน (Revised PSR) • การคำนวณสัดส่วนต้นทุนมูลค่าการผลิตในประเทศภาคี (Regional Value Content) • การสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าแบบบางส่วน (Partial Cumulative) • การส่งผ่านประเทศนอกภาคีอาเซียน (สามารถทำได้หรือไม่? อย่างไร?) • Update 2011 กรอบสินค้าและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงอื่น ๆ ได้แก่ AJCEP, AKFTA, AANZFTA, TAFTA, NZTCEP, ITFTA, JTEPA และ ITFTA • การระบุวิธีการดำเนินการเพื่อให้ศุลกากรสามารถตรวจปล่อยสินค้าได้โดยสะดวกมากขึ้นในกรณีมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น พิกัดอัตราศุลกากร แต่ไม่กระทบต่อค่าอากรและกฎแหล่งกำเนิดสินค้า • Update ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self Certification System: SC) ของผู้ส่งออกที่มีสิทธิรับรองตนเองหรือที่เรียกว่า “Certified Exporter” เป็นโอกาสและความท้าทายใหม่ของผู้ส่งออกไทยเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค AEC (ASEAN Economic Community) ภายในปี 2015 • กลยุทธ์การเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อเชื่อมโยงกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรประเภทอื่น ๆ ได้แก่ Free Zone, BOI และBonded Warehouse • การขอสงวนสิทธิ์การขอคืนอากร กรณีไม่สามารถนำ Form เพื่อใช้สิทธิ FTA มาแสดงต่อศุลกากรได้ทันขณะที่นำเข้า • การบริหารความเสี่ยงกรณีการวางประกัน เช่น กรณีพิกัดต่างทำให้อากรแตกต่างกันภายใต้ FTA ประเภทต่าง ๆ • การใช้พิกัดอัตราศุลกากรระบบ HS 2012 และ AHTN ใน Form ประเภทต่าง ๆ • ประเด็นพิธีการศุลกากรอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการมักกระทำผิดเกี่ยวกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้า พร้อมแนวทางแก้ไข • การวางแผนการใช้บริการวินิจฉัยถิ่นกำเนิดสินค้าล่วงหน้า (Advanced Rules of Origin Ruling) และประเด็นความเสี่ยงที่พึงระวัง • แนวทางการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Customs Post Audit) • ประเด็นกฎแหล่งกำเนิดสินค้าและใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) ของผู้ประกอบการ • ประเด็นที่ผู้ประกอบการมักปฏิบัติผิดพลาดเกี่ยวกับ Form ประเภทต่าง ๆ • ความเสี่ยงและเบี้ยปรับจากการถูก Post Audit • เทคนิคการเอาตัวรอดจากการถูกตรวจสอบ • ข้อแนะนำในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อรับการตรวจสอบ • ประเด็นสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List) และสินค้ายกเว้น (Exclusion List) กับประเด็นการถูกตรวจสอบ • เทคนิคการเลือกใช้ / เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ภาษีอากรสินค้านำข้า-ส่งออกตามกรอบของ AFTA และ FTA • CASE STUDY
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

อบรมหลักสูตรออนไลน์ การจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Purchasing spa...

อบรม หลักสูตร “การจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร” (Purchasing spare parts in maintenance) #ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งานและความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร อุปกรณ์ ผ่านกระบวนการ จัดซื้อ จัดจ้าง และจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ