“เด็กน้อยภายใน” สู่การเยียวยาและการเติบโตของชีวิต

รหัสหลักสูตร: 29854

จำนวนคนดู 4716 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

เด็กน้อยภายใน” หรือ อิทธิพลที่สืบเนื่องมาจากวัยเด็ก คือองค์ความรู้และเทคนิควิธีด้านจิตวิทยาการบำบัดและการเรียนรู้ทางจิตปัญญา พาเรากลับมาดูแลตัวตนเด็กน้อยและตัวตนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ และโลกทัศน์

ทุกคนต่างมีเด็กน้อยอยู่ภายใน และผู้ที่เติบโตอย่างแท้จริงคือผู้ที่หลุดจากอิทธิพลของข้อจำกัดในอดีตและจากด้านมืดของเด็กน้อย (Darkside of InnerChild) ในอีกแง่หนึ่ง เด็กน้อยภายใน ยังเป็นพลังสร้างสรรค์ที่เราอาจละเลยไปเมื่อติดอยู่ในกรอบการใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ การกลับมาหาเด็กน้อยคือการเยียวยาและดึงคุณค่าในตัวเราเพื่อพัฒนาชีวิตในวันนี้

กระบวนการอบรมของศูนย์ฯ จะมุ่งเน้นให้ใช้เครื่องมือการเขียนเชิงกระบวนการ ศิลปะ การสนทนา และการเคลื่อนไหวเพื่อดูแลตัวตนเด็กน้อยภายใน และดึงคุณค่าที่แท้จริงออกมาโดยไม่ต้องใช้ทักษะด้านศิลปะหรือการเขียนใดใด

 

ความหมายของ “เด็กน้อยภายใน”

เด็กน้อยภายใน (Inner Child) มีอยู่หลายสกุลคิด โดยในการอบรมจะเน้นในความหมาย ดังนี้ เด็กน้อยภายใน คือ การเยียวยาและการเปลี่ยนแปลงอิทธิพลเชิงลบที่มีต่อความคิดความเชื่อในการใช้ชีวิตจากเหตุการณ์และความรู้สึกในวัยเด็ก โดยให้ไถ่ถอนความรู้สึกที่ค้างคาด้วยการรับฟังอย่างลึกซึ้ง และเปลี่ยนแปลงกรอบทัศนะใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและเห็นคุณค่าในตนเอง  เด็กน้อยภายใน ยังเป็นภาวะขาดการจัดการอารมณ์ความรู้สึกลบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ความโกรธ ความขี้น้อยใจ ความขี้อิจฉา เป็นต้น ซึ่งสืบเนื่องมาจากการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้านที่เปราะบางภายในตัวเรา

เด็กน้อยภายใน คือ การน้อมนำคุณสมบัติของการเป็นเด็ก ขึ้นมาใช้ในวันวัยผู้ใหญ่ เพื่อเติมเต็มโลกทัศน์ พลัง และท่าทีชีวิต ชนิดที่วันวัยผู้ใหญ่อาจหลงลืมไปกับกรอบความรู้และกิจวัตรการงานต่างๆ คุณสมบัติของเด็กน้อยภายใน เป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่มีติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อไม่ได้น้อมนำมาใช้อย่างพอดีและอย่างบ่มเพาะให้เติบโตแล้ว ชีวิตวันวัยผู้ใหญ่ก็เหมือนชีวิตที่แข็งทื่อหรือขาดความพอดี ลึกๆ แล้วเรายังมีความต้องการนำสิ่งที่ดีในวัยเด็กออกมาใช้แต่หากไม่รู้ทัน ไม่รู้ใช้แล้ว ผลสะท้อนออกมาอาจเป็นการกระทำที่ขาดการยั้งคิด ความเครียดสะสม การเสพติด การฉลองสังสรรค์เกินพอดี ความลุ่มหลงเมามายในชีวิต เป็นต้น

เด็กน้อยภายใน ยังคือ ท่าทีที่เรามีต่อตัวเราเองในด้านต่างๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความสัมพันธ์ของผู้ปกครองในวัยเด็ก หลักสูตรเรียกประเด็นนี้ว่า เป็น “ครอบครัวภายใน” หมายถึงความเป็นพ่อเป็นแม่เป็นผู้ปกครอง และ ความสัมพันธ์ของพวกเขาต่อเราและต่อพวกเขาเอง ล้วนมีอิทธิพลสืบเนื่องมาถึงจิตใจเราและท่าทีความสัมพันธ์ในชีวิตปัจจุบัน เราต้องย้อนมองมายังครอบครัวภายในนี้ เพราะหลายครั้งเรามีท่าทีที่ไม่เกื้อกูลตนเองและผู้อื่น เราอาจรู้สึกขัดแย้งสับสน บีบคั้นหรือปล่อยปละละเลย มีความดีงามของผู้เลี้ยงดูเราที่ส่งทอดมาถึงเราให้น้อมนำออกมาใช้ และมีด้านลบหรือข้อจำกัดที่เราได้รับอิทธิพลมาเช่นกัน เรียนรู้เพื่อปลดปล่อยตนจากข้อจำกัดที่เราแบกรับไว้อยู่ภายในจิตไร้สำนึกเสมอมาจากวัยเยาว์

 

วัตถุประสงค์ในการอบรม

๑. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแล “เด็กน้อยภายในตนเอง” และในความสัมพันธ์ได้

๒. ผู้เรียนมีแรงบันดาลใจ พลัง และได้กลับมาดูแลบาดแผลทางจิตใจหรือคลี่คลายข้อจำกัดในตนเอง

๓. ผู้เรียนได้ดึงคุณค่าในความเป็นเด็กน้อยภายในออกมาใช้ในชีวิตวันผู้ใหญ่ได้อย่างเกื้อกูลสมดุล


หัวข้ออบรมสัมมนา

กระบวนการที่ใช้ในการอบรม

หลักสูตร “เด็กน้อยภายใน” ให้ผู้เรียนได้โอบอุ้มดูแลเด็กน้อยภายในของตนและเพื่อน บ่มเพาะภาวะผู้ใหญ่ กลับมาสื่อสารกับตนเองและสถานการณ์ที่ยากลำบาก ผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเน้นผ่านประสบการณ์ โดยใช้เครื่องมือ การเขียนเชิงกระบวนการ(Process Writing) จิตวิทยาเชิงกระบวนการร่วมกับ NLP ที่ใช้การเคลื่อนไหว การแสดงออก บทบาทสมมติ และจินตภาพประสานกับกิจกรรมเล่นเพื่อเชื้อชวนออกจากกรอบผู้ใหญ่ที่ยึดมั่น และการภาวนาเพื่อบ่มเพาะความสมดุล

กระบวนการอยู่บนฐานของการรับฟังอย่างลึกซึ้ง และการใช้พลังแห่งความรักความกรุณาในจิตของผู้เรียน เป็นผู้เยียวยาและให้พลังชีวิตแก่ตนและเพื่อนได้

กิจกรรมจึงมีทั้งการทำงานเชิงลึกภายในตนเอง การแลกเปลี่ยนในพื้นที่รับฟัง กิจกรรมเล่นสนุก และการเป็นผู้นำกระบวนการเยียวยาหรือการเรียนรู้ให้แก่เพื่อนในคู่

 

 

 

 เนื้อหาการอบรมสำหรับขั้นต้น

“เด็กน้อยภายใน”
สู่การเยียวยาและการเติบโตของชีวิต

 

๑. มุมมองและแนวคิดต่อ “เด็กน้อยภายใน”

๒. สำรวจปมปัญหาที่มีรากเหง้ามาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก

๓. ทำความรู้จักตัวตนผู้ใหญ่และเด็กน้อยในตัวเรา

๔. เรียนรู้การสื่อสารกับเด็กน้อยภายในผ่านการเขียนเชิงกระบวนการ

๕. พลังของผู้ปกป้องในตัวเรา

๖. สนทนากับเสียงภายในที่ขัดแย้งผ่านการเขียนเชิงกระบวนการ

๗. บ่มเพาะความคิดความเชื่อใหม่ที่เกื้อกูล

๘. จินตนาการกับพลังสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการศิลปะ

๙. แก่นสารในความใฝ่ฝันผ่านการเขียนเชิงกระบวนการ

๑๐. ฝึกสื่อสารกับเด็กน้อยภายในระหว่างความสัมพันธ์

 

thumb_IMG_1597_1024

 

เนื้อหาการอบรม ขั้นกลาง

“เด็กน้อยภายใน : คืนสู่บ้าน”
Inner Child(s) : Homecoming

 

๑. กลไกของผู้ปกป้อง ๒ แบบ

๒. ลักษณะความเป็นพ่อแม่/ลูก ในตัวเรา ต่อตนเอง และความสัมพันธ์

๓. การดูแลเด็กน้อยภายในระยะยาว

๔. การทำงานกับเด็กน้อยภายในผ่านกระบวนการศิลปะ การสะกดจิต และการภาวนา

๕. การเติบโตด้วยภาวะผู้ใหญ่ (หยั่งรากชีวิต)

๖. การเอาคืนต่อร่างกายที่ไม่รู้ตัว / การสื่อสารกับร่างกาย

๗. พัฒนาความเป็นแม่เพื่อการโอบอุ้ม หล่อเลี้ยง และปกป้องตนอย่างสมดุล

๘. พลังสร้างสรรค์ของเด็กน้อยในพื้นที่ปลอดภัย


  • เด็กน้อยภายใน ขั้นต้น /๑๔ ถึง ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙
  • เด็กน้อยภายใน : คืนสู่บ้าน / ๑๑ ถึง ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๙
    สำหรับผู้ผ่านหลักสูตร เด็กน้อยภายใน (อบรมในปี ๒๕๕๗ ถึง ๒๕๕๙)
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: การอบรม, เด็กน้อยภายใน, ศิลปะบำบัด, จิตวิทยา, รู้จักตัวเอง

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

อบรมหลักสูตรออนไลน์ การจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Purchasing spa...

อบรม หลักสูตร “การจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร” (Purchasing spare parts in maintenance) #ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งานและความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร อุปกรณ์ ผ่านกระบวนการ จัดซื้อ จัดจ้าง และจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ

หลักสูตร : การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ( Project Feasibility Analysis ) ...

ขอเชิญอบรม หลักสูตร : การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ( Project Feasibility Analysis ) #โครงการนั้นมีความเหมาะสม มีความคุ้มค่าและมีความเป็นไปได้ที่จะมีโครงการนั้นอยู่หรือไม่ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มโครงการใดๆ ก็ตาม เราควรจะต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้