บริษัท สัมมนาดีดี จำกัด ขอแจ้งปิดวันสงกรานต์ในวันที่ 12-15 เมษายน 2567 และจะเปิดทำการปกติในวันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 (กรณีเร่งด่วน ติดต่อได้ผ่าน LINE @seminardd)

วิธีการจัดทำ และแก้ไขข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงาน

รหัสหลักสูตร: 35975

จำนวนคนดู 2535 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
   ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้การบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล  ดำเนินไปด้วยความราบรื่น บรรลุเป้าหมาย เพราะเหตุว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับสิทธิ และ หน้าที่ของทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ปัญหาสำคัญคือ ผู้จัดทำข้อบังคับจะเขียนอย่างไร  จึงจะเกิดประโยชน์มากที่สุดต่อฝ่ายนายจ้าง  สิ่งใดบ้างที่ควรระบุ และ ไม่ควรระบุ  ลงในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  เป็นเรื่องละเอียดอ่อน   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบ การทุกกิจการ   ฝ่ายบริหาร   ฝ่ายทรัพยากรบุคคล   และ   ฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ จะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้  ก่อนการจัดทำ หรือ ทำการแก้ไข   แต่ถ้าจัดทำไปแล้ว หากบกพร่อง หละหลวม ไม่รัดกุม หรือ เมื่อมีกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ออกมาแล้ว  ก็จะต้องทำความเข้าใจว่า  จะต้องทำการแก้ไขอย่างไร   จึงจะรัดกุมและ เกิดประโยชน์สูงสุด   เพราะมักจะมีเนื้อหากระทบกับหมวด ต่างๆ ถึง 7 หมวด ใน 8 หมวด ที่กฎหมายบังคับตามมาตรา 108     สิ่งใดที่กฎหมายมิได้กำหนดไว้ แต่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายนายจ้าง   ก็จำเป็นที่จะต้องเขียนไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน   เพราะถ้าหากไม่เขียนไว้  ศาลฎีกาท่านให้ถือว่า  นายจ้างสละสิทธิ์ที่จะรับประโยชน์จากส่วนที่เป็นสิทธิทางการบริหารในเรื่องนั้นๆ

           ดังนั้น  อะไรบ้างที่ควรระบุไว้ในข้อบังคับ หรือ แก้ไขข้อบังคับฯ เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง  ส่วนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม จะกระทำให้มีผลผูกพันทั้งลูกจ้างใหม่และลูกจ้างเก่า  เป็นสิ่งที่กระทำได้   ถ้ารู้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย  วิทยากรเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในเรื่องการจัดทำ  และแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  จะมาเป็นผู้ให้ความรู้  ความกระจ่าง ตลอดจนมาชี้แนะแนวทาง  เพื่อประโยชน์สูงสุดในการทำให้เกิดสิทธิทางการบริหาร และถูกต้องบังคับใช้ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่
หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการสัมมนา
  • เมื่อไรที่นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
  • ความสำคัญ/การจัดทำ/ภาษา/การประกาศใช้บังคับ/การปิดประกาศ
  • สถานที่ปิดประกาศ/วิธีการส่งสำเนาข้อบังคับฯ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่ได้ประโยชน์สูงแก่ฝ่ายนายจ้าง
  • ถ้าไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฝ่ายนายจ้างจะมีความผิดตามกฎหมาย
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานควรเขียน  และควรแก้ไขให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายนายจ้าง และถูกต้องตามกฎหมายแรงงานฉบับปี 2551 ควรมีสาระอย่างไรบ้างเกี่ยวกับ
  • วัน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
  • วันหยุด และหลักเกณฑ์การหยุด
  • หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงาน ในวันหยุด
  • วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด
  • วันลาและหลักเกณฑ์การลา
  • วินัยและโทษทางวินัย
  • การร้องทุกข์
  • การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
  • สิ่งที่ไม่ควรระบุในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมีอะไรบ้าง
  • สิ่งสำคัญที่ต้องระบุในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมีเรื่องอะไรบ้าง
  • จะทำการแก้ไขข้อบังคับฯ ให้มีผลใช้กับลูกจ้างใหม่ได้อย่างไร
  • จะทำการแก้ไขข้อบังคับฯ ให้มีผลใช้กับลูกจ้างเก่าที่เข้ามาก่อนการแก้ไขได้อย่างไร
  • นายจ้างจะแก้ไขข้อบังคับฯฝ่ายเดียว ที่มีผลเป็นโทษต่อลูกจ้าง  แต่ให้มีผลใช้บังคับได้โดยชอบ กระทำได้ด้วยวิธีใด พร้อมยกคำพิพากษาฎีกาประกอบ
  • ข้อสงวนสิทธิของฝ่ายนายจ้างในการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับฯ  เหตุใดศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้ฝ่ายนายจ้างกระทำได้ตามต้องการ
  • ข้อบังคับฯ ที่ประกาศใช้แล้วต้องใช้บังคับนานเท่าไร
  • ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการแก้ไขข้อบังคับในการทำงานมีอย่างไร
  • ถาม – ตอบปัญหาข้อสงสัย
วันที่ 24 มกราคม 2560  
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงา, วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง, วินัยและโทษทางวินัย การร้องทุกข์, ค่าล่วงเวลา, การเลิกจ้าง, หลักเกณฑ์การทำงาน

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

หลักสูตร มาเป็นผู้นำหน่วยงาน..จัดซื้อกัน (Be Purchasing Leader)

ขอเชิญอบรม หลักสูตร มาเป็นผู้นำหน่วยงาน..จัดซื้อกัน (Be Purchasing Leader) เมื่อคุณต้องมารับผิดชอบหน่วยงานจัดซื้อ ก็ช่วยไม่ได้ที่คุณจะต้องรู้ว่า งานจัดซื้อ เป็นอย่างไร! ต้องรับผิดชอบ อะไร ! และต้องทำอะไรบ้าง ! และต้องรู้อะไรบ้าง!