กฎหมายแรงงาน ที่ฝ่ายบริหาร/หัวหน้างานควรรู้

รหัสหลักสูตร: 38467

จำนวนคนดู 1474 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
หลักการและเหตุผล :

กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานที่ฝ่ายบริหารต้องรู้ ไม่ใช่แค่รู้และเป็นสาระสำคัญที่จะช่วยให้ท่านได้เข้าใจในการใช้กฎหมายแรงงานในการบริหารคนและองค์การได้อย่างถูกต้องรัดกุม และวิธีการทําสัญญาจ้างแรงงานที่ปลอดภัย เพื่อพิทักษ์รักษาสิทธิทั้งของนายจ้างและลูกจ้าง โดยการบรรยายจะเชื่อมโยงข้อเท็จจริงและการยกตัวอย่างประกอบตลอดเวลา ทำให้กฎหมายซึ่งเป็นเรื่องยากๆ กลับง่ายและน่าเบื่อ เป็นเรื่องที่สนุก อยากเรียนรู้และติดตามอย่างต่อเนื่อง ต้องพิสูจน์ด้วยตาและหูของท่านเอง ในการจับประเด็นเค้นข้อกฎหมายได้อย่างรอบด้าน ตีแผ่วงการบริหารงานบุคคล วงการกฎหมาย และเจาะแนวคิดศาลมาร้อยเรียงได้อย่างน่าฉงนและเร้าใจ


วัตถุประสงค์ :

1. เพื่อให้เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน ฝ่ายบุคคล มีความเข้าใจและรู้ด้านกฎหมายแรงงาน

2. เพื่อให้ท่านสามารถนําความรู้ไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบที่อาจตามอย่างมากมายและองค์กรของท่านไม่ต้องรับโทษทางกฎหมายทั้งคดีแพ่ง คดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายแรงงาน

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการบรรยายและ Workshop

1. ลักษณะของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มีความสําคัญอย่างไร

2. การทําสัญญา/ข้อตกลง ที่ลูกจ้างเต็มใจตกลงด้วย ทําไมศาลฎีกา ให้ตกเป็นโมฆะ

3. กิจการทําผิดกฎหมาย ทําไมผู้บริหารกิจการจึงต้องถูกจําคุก และ/หรือถูกปรับ มาจากกฎหมาย

อะไรในมาตราใด มีความหมายอย่างไร

4. ต่อไปจะไม่จ้างลูกจ้างประจํา จ้างแต่ลูกจ้างชั่วคราวได้ไหม

5. การจ้างลูกจ้างชั่วคราว จ้างได้ไม่เกินกี่ปี จ้างกันนานๆ จะกลายเป็นลูกจ้างประจําไหม

6. การนับอายุงาน นับอย่างไรจึงจะถูกต้อง

7. ค่าชดเชยมีกี่อัตรา จ่ายเท่าไร ทําไมจึงมิใช่จ่าย 1 เท่า, 3 เท่า, 6 เท่า, 8 เท่า, 10 เท่า ของเงินเดือน

8. พนักงานลาออก ไม่ต้องจ่ายเงินอะไรบ้าง

9. เลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานปี 2551 มีเงื่อนไขอย่างไร

10.งานใดไม่ควรใช้การจ้างแรงงาน แต่ควรจ้างแบบเหมาบริการ มีประโยชน์แก่กิจการอย่างไร

11. การจ้างเหมาค่าแรง คือค่าจ้างแบบใด และกิจการที่จ้างต้องมีความรับผิดชอบอย่างไร

12. ต้องจ่ายค่าทํางานในวันหยุดเท่าไร จึงจะถูกกฎหมาย

13. การคิดค่าจ้างต่อวันในลูกจ้างรายเดือน คิดอย่างไรจึงจะถูกกฎหมาย

14. การปฏิบัติต่อลูกจ้างชาย-หญิง อย่างเท่าเทียมกัน มีความหมายอย่างไร

15. งานใดควรใช้เวลาทํางานแบบยืดหยุ่น และงานแบบใดควร Fix เวลาเข้างาน / ออกงาน

16. การให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง Subcontractor มีผลให้กิจการนั้นกลายเป็นนายจ้างโดยตรงทันที การให้สวัสดิการแบบใดที่ไม่ทําให้กิจการตกเป็นนายจ้างของลูกจ้าง Subcontrator

17. ขั้นตอนการนัดหยุดงานที่ถูกกฎหมาย มีกระบวนการ และขั้นตอนอย่างไร

18. ถ้าลูกจ้างนัดหยุดงานผิดขั้นตอน นายจ้างควรดําเนินการอย่างไร

19. จะลงโทษกรรมการสหภาพแรงงานที่ทําผิด เหมือนพนักงานทั่วไป ได้หรือไม่ เพียงไร

20. ข้อห้ามในการเลิกจ้างลูกจ้าง 3 มาตรา มีอย่างไร หากฝ่าฝืนผู้บริหารกิจการมีโทษอย่างไร

21. กรรมการสหภาพแรงงาน มีสิทธิการลาไปร่วมกิจการอะไรได้บ้าง โดยถือเป็นวันทํางาน

22. เงินที่ลูกจ้างได้จากลูกค้าที่ให้เอง กับอํานาจเลิกจ้าง

23. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราในเวลาทํางาน อาจจะไม่ใช่ความผิดร้ายแรง

24. ลูกจ้างร่วมกับบุคคลภายนอกชิงทรัพย์ลูกค้า กลับเลิกจ้างไม่ได้

25. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราในเวลาทํางาน อาจจะไม่ใช่ความผิดร้ายแรง

26. ลูกจ้างมีผลงานตํ่ากว่ามาตรฐาน ทําไมเลิกจ้างไม่ได้

27. ข้อสัญญาจ้าง ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หากลูกจ้างแปลผิดพลาดอาจจะต้องยอมรับ

28. ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุก่อนลูกจ้างชายไม่ได้

29. การยุบหน่วยงาน เลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย

30. ลูกจ้างเฉื่อยงาน แต่เลิกจ้างไม่ได้

31. งานรับเหมาช่วง งานรับเหมาก่อสร้าง อาจจะไม่ใช่งานครั้งคราว

32. ลูกจ้างเป็นผู้ลงนามในใบลาออกจริง กลายเป็นกรณีเลิกจ้าง

33. นายจ้างมีสัญญาจ้างทดลองงาน แต่กลับเลิกจ้างไม่ได้

34. นายจ้างจ่ายเงินสมทบเกินหน้าที่เสมอ

35. ข้อตกลงการจ่ายเงินรางวัลประจําปี ของฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง อาจใช้ไม่ได้

36. นายจ้างงดจ่ายค่าจ้าง หรือตัดค่าจ้างของลูกจ้างในวันที่ลูกจ้างขาดงาน หรือละทิ้งหน้าที่ไม่ได้

37. เงินจ่ายที่ไม่ใช่เงินเดือน ต้องนํามารวมกับเงินเดือน เพื่อคํานวณจ่ายเป็นค่าชดเชย

38. นายจ้างมีงานเร่งด่วน นายจ้างไม่มีอํานาจสั่งให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลา วันหยุด

39. ลูกจ้างไม่ลาหยุด พักผ่อนตามประกาศ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง

40. ลูกจ้างทําความผิดจริง จึงสั่งลงโทษให้พักงานโดยงดจ่ายค่าจ้างทำไม่ได้

41. ค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่ายให้รายเดือนมีปัญหา

42. ผู้ว่าจ้างจ่ายค่าว่าจ้างให้ผู้รับจ้างตามผลสําเร็จของงาน เป็นสัญญาจ้างแรงงาน

43. ผู้ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างทํางานโดยอิสระ ศาลให้เป็นสัญญาจ้างแรงงาน

44. เจ้าของบ้านว่าจ้างช่างมาปลูกสร้างบ้าน ศาลถือเป็นจ้างแรงงาน

45. ลูกจ้างทําหนังสือรับสภาพหนี้ให้นายจ้าง แต่กลับไม่ต้องชำระหนี้

46. การเลิกจ้างในระหว่างทดลองงาน อาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

47. การเลิกจ้างไปสังกัดบริษัทในเครือ โดยลูกจ้างไม่ได้ตกลงด้วย

48. การลาออกไม่เป็นไปตามสัญญา งดการออกหนังสือรับรองการผ่านงานไม่ได้

49. การโอนลูกจ้างไปสังกัดบริษัทในเครือ โดยลูกจ้างไม่ได้ตกลงด้วย

50. การลาออกไม่เป็นตามสัญญา งดการออกหนังสือรับรองการผ่านงานไม่ได้

51. สัญญาจ้าง ข้อบังคับฯ ระเบียบ คําสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างลงนามบังคับลูกจ้างไม่ได้

52. นายจ้างให้เว้นระยะการจ้างลูกจ้าง แต่ต้องนับอายุงานติดต่อกัน

53. กําหนดเวลาทํางานปกติ วันละ 9 ชม. สัปดาห์ 5 วัน ผิดกฎหมายแรงงาน

54. ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ ทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ที่สั่นสะเทือน งานขับเคลื่อน ติดไปกับยานพาหนะ งานที่เข็นของหนักเกิน 15 กก. ไม่ได้

55. ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ร้องขอทํางานในวันหยุด นายจ้างยินยอม แต่มีความผิดทางอาญา

56.ไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างรายวัน ในวันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจําปี มีความผิดตามกฎหมาย

57.จ่ายค่าจ้างในวันที่ไม่ได้หยุดพักผ่อนตามสวน ทําไมจึงถือว่าผิด

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด