บริษัท สัมมนาดีดี จำกัด ขอแจ้งปิดวันสงกรานต์ในวันที่ 12-15 เมษายน 2567 และจะเปิดทำการปกติในวันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 (กรณีเร่งด่วน ติดต่อได้ผ่าน LINE @seminardd)

"การวิเคราะห์ต้นทุนของหม้อแปลงตลอดอายุการใช้งาน (Life cycle cost Analysis of transformers)"

รหัสหลักสูตร: 42591

จำนวนคนดู 3156 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
หลักการและเหตุผล

              ในการวิเคราะห์ต้นทุนของหม้อแปลงตลอดอายุการใช้งาน (Life Cycle Cost หรือ LCC ) ซึ่งคล้ายกับการวิเคราะห์ต้นทุนโดยรวมในการเป็นเจ้าของหม้อแปลง (Total Cost of Ownership หรือ TCO) นั้น ยังไม่มีมาตรฐานเป็นที่แน่นอน แต่ก็มีแนวทางปฏิบัติที่ใช้กันมายาวนานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลจนถึงทุกวันนี้ ต่อมามีการพัฒนานำแนวทางดังกล่าวเพื่อประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ซอฟต์แวร์ เครื่องถ่ายเอกสาร รถยนต์ โดยมีแนวคิดที่คำนึงไม่เฉพาะเรื่องของราคาอย่างเดียว แต่ยังรวมความสิ้นเปลืองพลังงาน ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ราคาชิ้นส่วน และอะไหล่ของอุปกรณ์แต่ละยี่ห้อซึ่งก็ถูกแพงแตกต่างกัน จนถึงเมื่อหมดอายุการใช้งานก็สามารถขายซากหรือมือสองได้ราคาดีหรือราคาตก นอกจากนั้นยังคำนึงถึงอุปกรณ์ บางชนิดที่อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำลายอย่างไรหรือไม่ ในหลายๆ ธุรกิจต่างก็ให้ความสำคัญในการนำ LCC หรือ TCO มาช่วยในการวางกลยุทธ์และการประเมินต้นทุนของแต่ละรูปแบบของระบบที่จะนำมาใช้ในองค์กร ดังนั้น LCC หรือ TCO จึงเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์และประเมินต้นทุนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นทางเลือกในการพิจารณาลงทุนได้อย่างเหมาะสม

               หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สําคัญในการแปลงแรงดันและกระแสไฟฟ้าจากระบบผลิต ระบบส่งและระบบจำหน่ายไปยังผู้ใช้งานอย่างเหมาะสม นับว่ามีบทบาทสําคัญและมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อการขยายตัวของการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จึงถือได้ว่าหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่สําคัญและจําเป็นสําหรับการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าไปยังอาคารที่พักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล ฯลฯ ดังนั้นการนำแนวทางLCC หรือ TCO มาวิเคราะห์เพื่อเลือกซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีความสำคัญและราคาแพงตลอดจนแนวทางการใช้งานตามหลักปฏิบัติสากลจะสามารถช่วยในการลดค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้งาน และยืดเวลาการเปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า แนวทาง LCC หรือ TCO จะเริ่มนำเสนอตั้งแต่การจัดทำข้อกำหนดและวิธีเลือกซื้อหม้อแปลงที่คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น อายุการ ใช้งาน ค่าไฟฟ้า การจ่ายโหลดของหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งที่อยู่ในเอกสารตําราหรือมีการสอนทั่วไป

             สํานักวิชาการซีโอที (COT Academy) จึงได้จัดอบรบเชิงวิชาชีพขึ้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบข้อแตกต่างระหว่างหม้อแปลงที่มีความสูญเสียต่ำกับที่ความสูญเสียมาตรฐาน อีกทั้งประโยชน์จากการใช้งานหม้อแปลงที่มีความสูญเสียต่ำที่ถูกต้องจากวิทยากรผู้ชํานาญเฉพาะเรื่องโดยตรง อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นประสบการณ์กับวิทยากร และระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมด้วยกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ

วัตถุประสงค์

1.เข้าใจแนวทางการจัดทำข้อกำหนดหม้อแปลงไฟฟ้า ให้ มีประสิทธิภาพ ในการใช้งานที่ยาวนานทำให้เกิดการลงทุน อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของหม้อแปลงไฟฟ้า

3.การคำนวนต้นทุนของหม้อแปลงตลอดอายุการใช้งาน (Life Cycle Cost หรือ LCC ) หรือ การ คำนวนต้นทุนโดยรวมในการเป็นเจ้าของหม้อแปลง (Total Cost of Ownership หรือ TCO)

4.ระบบเฝ้าตรวจภาระของหม้อแปลงจำหน่ายที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง (Transformer load monitoring system or TLM)


หัวข้ออบรมสัมมนา
1. แนวทางการจัดทำข้อกำหนดของหม้อแปลงไฟฟ้า

2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของหม้อแปลงไฟฟ้า

3. การคำนวณต้นทุนของหม้อแปลงตลอดอายุการใช้งาน (Life Cycle Cost หรือ LCC) หรือการคำนวณต้นทุนโดยรวมในการเป็นเจ้าของหม้อแปลง (Total Cost of Ownership หรือ TCO)

4. ระบบเฝ้าตรวจภาระของหม้อแปลงจำหน่ายที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง (Transformer load monitoring system or TLM)


วันพุธที่ 6 กันยายน 2560  เวลา 9.00 – 16.00 น. 
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: ไฟฟ้า, หม้อแปลงไฟฟ้า, วิศวกรไฟฟ้า, จัดซื้อจัดหา, การตรวจสอบ

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

หลักสูตร เทคนิคการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Material Requ...

MRP (Material Requirements Planning) คือ แผนหรือตารางความต้องการวัตถุดิบ (Items) ในแต่ละวันของการผลิต และตามสูตรการผลิต (Bill of Material: BOM) ของสินค้าหนึ่ง ๆ ดังนั้น MRP จึงขึ้นอยู่กับความต้องการวัตถุดิบจากสูตรการผลิตและตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ