หลักสูตร การบริหารงานบุคคลที่ดี ต้องมีหลักปฏิบัติอย่างไร?

รหัสหลักสูตร: 52506

จำนวนคนดู 1385 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
หลักการและเหตุผล


 บริษัทเอกชนเป็นองค์กรที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล การบริหารงานจึงจำเป็นจะต้องนำกฎหมายแรงงานต่างๆ เข้ามาบังคับใช้กับผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นการบริหารงานบุคคลจึงเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญ ที่จะต้องดูแล ในเรื่องการสรรค์หา – การพัฒนา – และกล่าวโทษ หรือเลิกจ้างพนักงานให้เป็นไปตามสิทธิลูกจ้างที่จะได้รับตามกฎหมาย เมื่อผู้บริหารยึดหลักการทำงานโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม – ความมีเมตตาธรรม การมีน้ำใจต่อกัน และให้โอกาสกันมาปฏิบัติงานจริง ปัญหาข้อขัดแย้งในองค์กรก็จะไม่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงหลักการนำกฎหมายแรงงาน ไปบังคับใช้กับผู้ปฏิบัติงานจริง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

2.เพื่อให้ทราบถึงการบริหารงานบุคคลที่ดี มีคุณธรรมในการปฏิบัติงานต่อพนักงานและสิทธิของพนักงานที่ได้รับ ตามพระราชบัญญัติไว้ในกฎหมายแรงงาน

3.เพื่อให้เข้าใจถึงขั้นตอนการบอกเลิกจ้างพนักงานหรือสิทธิของพนักงาน ในกรณีสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง และกระบวกการเรียกร้องสิทธิต่างๆ ทางศาลแรงงาน


หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการบรรยาย

1.การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ จะต้องมีทุนจดทะเบียนหรือเตรียมเอกสารอย่างไร?

2.วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารงานบุคคลที่ดี ต้องปฏิบัติอย่างไร?

3.อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารงานบุคคล มี่อะไรบ้าง?

4.ในกรณีที่องค์กรเกิดปัญหา การจ่ายโบนัสประจำปี ให้กับพนักงาน ผู้บริหารงานบุคคลจะให้หลักการแก้ปัญหาอย่างไร?

5.ในกรณีที่องค์กรเกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานตามวัน เวลา ที่กำหนดได้ ผู้บริหารงานบุคคลเข้าดำเนินการอย่างไร?

6.บริษัทไม่จัดงานเลี้ยงประจำปีให้กับพนักงาน มีพนักงานชุมนุมกันในเวลาทำงาน และนอกเวลาทำงาน ผู้บริหารงานบุคคลจะเข้าดำเนินการอย่างไร?

7.บริษัทไม่จัดนำเที่ยวประจำปีให้กับพนักงาน มีพนักงานชุมนุมกันในเวลาทำงาน และนอกเวลาทำงาน ผู้บริหารงานบุคคลจะเข้าดำเนินการอย่างไร?

8.มีพนักงานฝ่ายผลิต ไม่ได้รับการปรับค่าจ้างประจำปี 3 คน ได้ดำเนินการเข้าร้องทุกข์ต่อผู้บริหารงานบุคคล จากปัญหาดังกล่าวจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร?

9.หัวหน้างานได้ทำเอกสาร(ลับ)ถึงผู้จัดการฝ่ายบุคคล ขอย้ายผู้ใต้บังคับบัญชาออกหน่วยงาน โดยให้เหตุผลว่าไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน ผู้บริหารงานบุคคลจะเข้าดำเนินการอย่างไร?

10.พนักงานได้รับอุบัติเหตุเนื่องมาจากการทำงาน เมื่อสิ้นสุดการรักษาไม่สามารถทำงานตำแหน่งเดิมได้ บริษัทมีนโยบายเลิกจ้างพนักงาน ผู้บริหารงานบุคคลจะ เข้าดำเนินการอย่างไร?

11.ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยนอกเวลาทำงาน เมื่อสิ้นสุดการรักษา ไม่สามารถทำงานตำแหน่งเดิมได้ บริษัทมีนโยบายเลิกจ้างลูกจ้าง ผู้บริหารงานบุคคลจะเข้าดำเนินการอย่างไร?

12.ลูกจ้างเกษียณอายุงานตามข้อบังคับการทำงานของบริษัท นายจ้างประสงค์จ้างต่อ ผู้บริหารงานบุคคลจะทำสัญญาจ้างอย่างไร?

13.ขณะปฏิบัติงาน พนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์ได้ยกชิ้นงานถอยหลังชนเพื่อนร่วมงาน ในโรงงาน ได้รับบาทเจ็บ ขาหัก 2 ท่อน พนักงานจะได้รับสิทธิ ค่าจ้าง / การรักษาพยาบาล / ค่าศูนย์เสียอวัยวะ / จะเอาผิดทางอาญาต่อผู้ขับรถโฟร์คลิฟท์ ได้หรือไม่?

14.มีพนักงานปลอมลายเซ็นหัวหน้างานลงในใบเบิกสิ่งของที่ใช้ทำงานประจำวัน สอบสวนแล้วพนักงานยอมรับว่าทำจริง หัวหน้างานสั่งพักงาน 7 วัน ผู้บริหารงานบุคคลจะเข้าดำเนินการอย่างไร?

15.ก่อนเริ่มงานทุกๆ วัน หัวหน้างานเรียกประชุมแถวเพื่อสั่งงาน / รับทราบปัญหา / รับฟังความคิดเห็นต่างๆ แต่มีพนักงาน 1 คน ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เข้าประชุมบ่อยครั้ง หัวหน้างานเรียกมาตักเตือนด้วยวาจา ก็ทำทีไม่สนใจ หัวหน้างาน จึงสั่งพักงาน 7 วัน ผู้บริหารงานบุคคลจะเข้าดำเนินการอย่างไร?

16.ในเวลาทำงาน เมียของหัวหน้างานได้ปล่อยเงินกู้โดยเก็บดอกเบี้ยแพงมากเกินที่กฎหมายกำหนด มีพนักงาน 2 คน ละทิ้งหน้าที่ในเวลาทำงานและออกจากหน่วยงานไป 30 นาที เพื่อรอกูเงิน ผู้บริหารงานบุคคลไปพบจะเข้าดำเนินการอย่างไร?

17.ในเวลาทำงานมีพนักงาน 5 คน ละทิ้งหน้าที่การทำงานและออกนอกหน่วยไปชุมนุมกัน เพื่อเปียแชร์ เป็นเวลา 30 นาที ผู้บริหารงานบุคคลไปพบและทราบข้อเท็จจริงแล้วจะดำเนินการอย่างไร?

18.พนักงานเบิกเงินค่ารถ เพื่อเข้ามาทำงาน แต่เบิกเกินหนึ่งเท่า ของสิทธิที่จะได้รับ หัวหน้างานเซ็นอนุมัติการเบิกมาตลอด เป็นเวลา ปีกว่า ผู้บริหารงานบุคคลทราบ จะเข้าดำเนินการอย่างไร?

19.นายจ้างทำสัญญาจ้าง เพื่อรับลูกจ้างเข้าทำงาน เมื่อถึงเวลาทำงาน นายจ้างบอกไม่รับ นายจ้างจะมีความผิดอย่างไร?

20.เลิกจ้างลูกจ้าง โดยไม่ออกใบผ่านงานให้ ลูกจ้างทวงถามหลายครั้งก็ไม่ได้ นายจ้างจะมีความผิดอย่างไร?

21.ลูกจ้างทำผิดวินัยร้ายแรง ผู้บริหารงานบุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไร? ที่จะอธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ลูกจ้างเข้าใจและลาออกจากงานเอง โดยไม่ไปฟ้องศาลแรงงานภายหลัง

22.การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คือการเลิกจ้างอย่างไร?

23.ลูกจ้างถูกเลิกจ้างแล้วไปฟ้องศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ ผู้บริหารงานบุคคลเมื่อได้รับจดหมายศาลจะต้องดำเนินการอย่างไร?

24.การหาพยานเอกสาร / พยานวัตถุ – ประจักรพยาน หรือเขียนคำให้การเพื่อเสนอต่อศาล ผู้บริหารงานบุคคลจะเข้าดำเนินการอย่างไร?

25.เมื่อตัวความหรือคู่ความขาดนัด ไม่ไปตามวัน และเวลาที่ศาลกำหนด จะเกิดปัญหาอะไร?

26.การปฏิบัติตนในบริเวณของศาล / อยู่ในห้องไกล่เกลี่ยของผู้ประนอมคดี / หรืออยู่ในห้องพิจารณาคดี ต้องอยู่ในระเบียบวินัยอย่างไร?

27.ในระหว่างผู้ประนอมไกล่เกลี่ยคดีความ จะนำหลักฐานหรือให้เหตุผลอย่างไร? ต่อผู้ประนอมเพื่อให้คดีตกลงกันได้

28.เมื่อผู้ประนอมไกล่เกลี่ยคดี คู่ความทั้งสองสามารถตกลงกันได้ การบันทึกข้อตกลง จะดำเนินการอย่างไร?

29.ขณะอยู่ในห้องพิจารณาคดี เมื่อสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว และกำลังจะสืบพยานโจทก์ แต่โจทก์ให้การแถลงต่อศาลว่าไม่ติดใจดำเนินคดีต่อคู่ความ ขอถอนฟ้องสามารถทำได้หรือไม่?

30.การอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล จะยื่นอุทธรณ์ภายในกี่วัน / จะยื่นข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง อย่างไร?

31.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ตัดสินคดีไปแล้ว ซึ่งผู้บริหารงานบุคคลควรรู้ มีอะไรบ้าง?


19 กรกฎาคม 2561
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: การบริหารบุคคล, การบริหารภายในองค์กร, การพัฒนาบุคคล, การสรรหาบุคคล, หลักสูตร, อบรม

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด