กฎหมายแรงงาน กับการจ้างแรงงานต่างด้าว อย่างถูกกฎหมายภายใต้ MOU

รหัสหลักสูตร: 52857

จำนวนคนดู 1082 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
การที่บริษัทเอกชนรับคนเข้าทำงานในองค์กรมีหลายประเภท มีอุตสาหกรรมบางประเภทที่คนไทยไม่ทำ ทำให้นายจ้างขาดแคลนแรงงาน จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการจ้างแรงงานต่างด้าวภายใต้ MOU หรือข้อตกลงที่ร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย เพื่อสนองการประกอบธุรกิจให้เดินหน้าไปถึงจุดหมายตามที่ต้องการ ซึ่งการรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ ก็จะมีขั้นตอนของข้อกฎหมาย ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยเรา ก็ถือโอกาสเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างได้ง่าย เพราะการเดินทางสะดวก ภาษาพูดก็เรียนรู้ได้ง่าย และขนบธรรมเนียมประเพณี หรือการนับถือศาสนา ก็เป็นเรื่องที่ปฏิบัติเหมือนกัน

วัตถุประสงค์

     1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการทราบที่มาของแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย รวมไปถึงค่าธรรมเนียมของการนำเข้าต่างๆ

     2. เพื่อให้ทราบถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ ของแรงงานต่างด้าว ภายใต้พระราชกำหนดที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย

    3. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติทราบถึง กฎระเบียบ ข้อบังคับ ในการทำงาน และการกล่าวโทษต่างๆ หรือวิธีที่จะเลิกจ้าง ให้ลูกจ้างมีความพึงพอใจต่อการเลิกจ้าง

    4. เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการต่อสู้คดีในชั้นศาล การปฏิบัติตน ให้อยู่ในวินัยของศาล เพื่อให้ศาลพิจารณาและตัดสินให้ชนะคดี

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการอบรม

1. ข้อบังคับในการทำงานคืออะไร?

2. ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ต้องปฏิบัติตามอย่างไร?

3. ทำไมต้องจ้างแรงงานต่างด้าว มีข้อดี –ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร

4. การจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายภายใต้ MOU มีอะไรบ้าง?

5. นายจ้างไม่มีแรงงานต่างด้าว จะต้องมีขั้นตอนการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานอย่างไร?

6. นายจ้างมีแรงงานต่างด้าวอยู่แล้ว ต้องการจ้างให้ถูกกฎหมาย ต้องตรวจสอบเอกสารอย่างไร?

7. นายจ้างรับแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้างจะมีโทษอย่างไร? และลูกจ้างจะมีโทษอย่างไร?

8. ผู้ใดประกอบธุรกิจนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างโดยผิดกฎหมาย จะมีโทษอย่างไร?

9. การเลิกจ้างแรงงานต่างด้าวในกรณีต่างๆ มีอะไรบ้าง?

10. นายจ้างต้องแจ้งต่อนายทะเบียน การเข้า–ออก ของลูกจ้างต่างด้าว ภายในกี่วัน

11. การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ต้องทำอย่างไร?

12. การจ้างแรงงานมีหลายประเภท คืออะไรบ้าง

13. โทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง?

14. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จะพิจารณาโทษจากเหตุผลอะไร ถึงจะลงโทษคู่กรณี ให้เป็นความผิดร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรง

15. การกล่าวโทษในใบเตือน ถ้าระบุข้อความไม่ชัดเจน จะมีผลต่อการถูกเลิกจ้างอย่างไร?

16. เมื่อมีคดีไปสู่ศาล ผู้ฟ้องมักจะฟ้องเรียกร้องเงินค่าเสียหาย จากการถูกเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลจะพิจารณาตัดสินให้ได้รับเงินดังกล่าวได้ จะพิจารณาจากอะไร?

17. เมื่อมีคดีไปสู่ศาล ผู้ฟ้องมักจะฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจากมูลฟ้อง มีเงินอะไรบ้าง?

18. นายจ้างบอกเลิกจ้างด้วยวาจาหรือทางโทรศัพท์ได้หรือไม่

19. การเลิกจ้างพนักงาน ต้องบอกกล่าวอย่างไร?

20. เมื่อเลิกจ้างพนักงาน สิ่งที่จะต้องตรวจสอบ มีอะไรบ้าง

21. การกระทำอันไม่เป็นธรรม มีอะไรบ้าง

22. การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มีอะไรบ้าง

23. การต่อสู้คดีในศาล ในชั้นไกล่เกลี่ยของผู้ประนอม หรือในชั้นสืบพยานในห้องพิจารณาคดีจะศึกษาหาข้อมูลนำเสนอศาลอย่างไร? ให้ศาลตัดสินให้ชนะคดี

24. คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ตัดสินคดีแรงงานที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?

ถาม –ตอบ –แนะนำ

24 พฤษภาคม 2561


09.00 - 16.00 น. โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ. 26

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

อบรมหลักสูตรออนไลน์ การจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Purchasing spa...

อบรม หลักสูตร “การจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร” (Purchasing spare parts in maintenance) #ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งานและความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร อุปกรณ์ ผ่านกระบวนการ จัดซื้อ จัดจ้าง และจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ