บริษัท สัมมนาดีดี จำกัด ขอแจ้งปิดวันสงกรานต์ในวันที่ 12-15 เมษายน 2567 และจะเปิดทำการปกติในวันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 (กรณีเร่งด่วน ติดต่อได้ผ่าน LINE @seminardd)

Quality Control Circle Practice (QCC Practice)

รหัสหลักสูตร: 53686

จำนวนคนดู 1379 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
       “ปัญหา คือ สิ่งที่อยู่คู่กับการทำงานตลอดเวลา” ทั้งในอุตสาหกรรมภาคบริการ และการผลิต ปัญหามีทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และปัญหาที่เกิดขึ้นเรื้อรังเกิดอยู่เป็นประจำ ปัญหาที่เกิดเรื้อรังอยู่เป็นประจำจนทำให้เรารู้สึกเคยชินและยอมรับกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่คิดจะปรับปรุงให้ดีขึ้น นั่นคือ “ต้นทุน” การผลิตและการบริการ ถ้าต้องการให้องค์กรสามารถแข่งขันในตลาดได้เราจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพกระบวนการทำงานให้ดีขึ้นเพื่อลดความสูญเสียซึ่งเป็นการ “ลดต้นทุน” นั่นเอง การปรับปรุงคุณภาพกระบวนการทำงานที่ดีที่สุด คือ การให้พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่หน้างานมีส่วนร่วม เพราะพนักงานเหล่านี้รู้ปัญหาดีที่สุด กิจกรรมปรับปรุงคุณภาพกระบวนการทำงานที่เหมาะสม คือ กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC เพราะเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับในหน่วยงาน เน้นการทำงานเป็นทีมและช่วยกันระดมความคิดในการปรับปรุงคุณภาพ

กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC (Quality Control Circle) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญในการปรับปรุงคุณภาพกระบวนการทำงาน และการเพิ่มผลผลิต โดยอาศัยปรัชญาพื้นฐานและหลักการของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมทั้งองค์กร ดังนั้นการที่องค์กรจะริเริ่มให้มีการนำกิจกรรมคิวซีซีมาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานจึงควรมีการให้ความรู้ในระดับที่สามารถดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อยได้โดยเฉพาะในระดับปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถใช้กระบวนการและขั้นตอนของกิจกรรมคิวซีไปปรับปรุงคุณภาพงานอย่างได้ผลจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมหรือวิธีการทำงานประจำวันของทุกคนในองค์กรให้ได้


หัวข้ออบรมสัมมนา
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม


1.เข้าใจในการใช้เครื่องมือคุณภาพ QC 7 Tools อย่างถูกต้อง

2.เข้าใจการทำงานเป็นทีม การระดมสมอง และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

3.เข้าใจขั้นตอนและเทคนิคการดำเนินกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC และขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบ QC Story ได้อย่างถูกต้อง

4.ตระหนักถึงการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ตามขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบ QC Story


หัวข้อ / รายละเอียดเนื้อหา :

1)ปัญหา สาเหตุของปัญหาและ แนวคิดการจัดการปัญหาที่ทุกคนมีส่วนร่วม

2)แนวคิด ประโยชน์ และการส่งเสริม QCC


3)ขั้นตอนการจัดทำ QCC

3.1) เลือกหัวข้อปัญหา

3.2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและตั้งเป้าหมาย

3.3) จัดทำแผนดำเนินการแก้ไข

3.4) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

3.5) กำหนดมาตรการและแผนการดำเนินการแก้ไข

3.6) ตรวจสอบผลลัพธ์

3.7) จัดทำเป็นมาตรฐาน

4)QC 7 Tools 

4.1) ใบรายการตรวจสอบ (Check Sheet)

4.2) กราฟ (Graph)

4.3) ผังพาเรโต (Pareto Diagram)

4.4) ผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)

4.5) ผังสหสัมพันธ์ (Scatter Diagram)

4.6) ฮิสโตแกรม (Histogram)

4.7) แผนภูมิควบคุม (Control Chart)


5)New QC 7 Tools

5.1) แผนผังกลุ่มเชื่อมโยง (Affinity Diagrams)

5.2) แผนผังความสัมพันธ์ (Relations Diagrams)

5.3) แผนผังต้นไม้ (Tree Diagrams)

5.4) แผนผังแมทริกซ์ (Matrix Diagrams)

5.5) แผนผังลูกศร (Arrow Diagrams)

5.6) แผนผัง PDPC (Process Decision Program Charts)

5.7) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบแมทริกซ์ (Matrix Data Analysis)


6)เครื่องมือคุณภาพอื่นๆ

6.1) Why-Why Analysis

6.2) Flow Process Chart

6.3) 3 Gen

6.4) 5W1H

7)QC Story

8)Workshop

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

1.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถดำเนินกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC ได้อย่างถูกต้อง

2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบ QC Story ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

3.ผู้เข้ารับการอบรมได้เพิ่มพูนทักษะการทำงานเป็นทีม และได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำเสนอผลงานการดำเนินกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC ได้อย่างถูกต้อง

ระยะเวลาการฝึกอบรม: 2 วัน (09.00-16.00 น.)

จำนวนผู้เข้าอบรม: 20 คน


วันที่ 22-23 มิถุนายน 2561
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: QCC

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

หลักสูตร การวางแผนและควบคุมการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Production Planning and C...

เพื่อสามารถจัดระเบียบการไหลของงานในระบบผลิต และติดตามการทำงานนั้นว่าเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา หรือเป็นการเตรียมและจัดการทรัพยากรและความต้องการตลอดจนทางเลือกต่างๆให้เกิดความพร้อมสำหรับการผลิต