สัมมนา : กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ ผลกระทบกับผู้ประกอบการ ครั้งที่ 3

รหัสหลักสูตร: 567

จำนวนคนดู 2333 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

เรียนเชิญท่านผู้สนใจ เข้าร่วม

สัมมนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ ผลกระทบกับผู้ประกอบการ ครั้งที่ 3

New Thai Consumer Protection Law and its effect on Entrepreneurs # 3

สัมมนาจัดที่ โรงแรม เรดิสัน ถนนพระราม 9 ในวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2552 บรรยายโดย คุณ ปกรณ์ สินธุพาชี ทนายความ/กรรมการผู้จัดการ บริษัท วินนิ่ง พอยท์ จำกัด ที่ปรึกษา ผู้ประกอบการ และ บริษัท ชั้นนำหลายแห่ง ค่าใช้จ่าย 4,300 บาท รวมอาหารกลางวัน International Buffet และ อาหารว่าง 2 มื่อ และสื่อการสอน. ค่าใช้จ่ายในการสัมมนาสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 200%คำนำท่านได้ทราบจากข่าวสารบ้านเมืองว่าในต่างประเทศ มีผู้บริโภคเข้าไปใช้บริการ หรือ บริโภคสินค้าบางอย่างแล้วเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้บริโภคนั้น ผู้ประกอบการรายนั้นถูกฟ้องคดีและต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมาก ซึ่งหลักการนี้ ประเทศไทยได้รับเข้ามาบังคับใช้ในประเทศไทยแล้ว โดย พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 นี้ อันจะเกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการแน่นอนดังนั้น ผู้ประกอบการ อันหมายความว่า ผู้ผลิต หรือ ผู้ว่าจ้างให้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขายสินค้า และผู้ซึ่งใช้ชื่อทางการค้า จะต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย กล่าวคือ สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย กับผู้บริโภคอันหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน และเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบใช้ค่าเสียหาย ค่าเสียหายนั้น มีบทบัญญัติว่าด้วย วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งได้บังคับใช้ไปแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ให้อำนาจศาล ลงโทษผู้ประกอบการในเชิงลงโทษหมายความว่า ศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายคู่ความในคดีแล้วยังรวมไปถึงผู้บริโภครายอื่นๆที่มิใช่คู่ความในคดีอีกต่างหากและกำหนดอัตราค่าเสียหายที่สูงเกินกว่าค่าเสียหายที่แท้จริงได้ ต่างจากหลักของกฎหมายทั่วไป บริษัท วินนิ่ง พอยท์ จำกัด ได้เล็งเห็นปัญหานี้อันจะเกิดขึ้น กับผู้ประกอบการ จึงได้จัดสัมมนานี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจ พึงระวังการขาย ผลิต สินค้าที่ไม่ปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค หากมีปัญหาขึ้นแล้วค่าเสียหายที่ต้องรับผิดชอบมีแค่ไหนอย่างไร และจะกระทบต่อสินค้าที่ผลิต หรือขายอย่างไรบ้าง รวมทั้งข้อยกเว้นความรับผิดต่างๆ นั้นสามารถพิสูจน์ได้อย่างไร ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดนั้นสามารถบังคับใช้ได้แค่ไหนอย่างไรนอกจากนี้ หากเกินปัญหากระบวนการระงับข้อพิพาทมีอย่างไร ขั้นตอนอะไรบ้าง ภาระการพิสูจน์ความรับผิดและยกเว้นความรับผิด เพื่อวางแผนการขายและผลิตสินค้าโดยชอบด้วยกฎหมายและถูกต้องตามหลักคุณธรรมและศีลธรรมอันดี จะส่งผลดีแก่ผู้ประกอบการต่อไปขอบคุณ TIPCO, S&P, Mitsubishi, Olympus, SGS, Hyundai Johnson & Johnson, J.Walter Thompson, IFEC และบริษัทชั้นนำอื่นๆ กว่า 40 ท่านที่เข้าร่วมสัมมนาในครั้งแรกกำหนดการสัมมนา9.00-11.00 น. หัวข้อที่ 1พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ• ความหมายและบทนิยาม- สินค้าที่ไม่ปลอดภัย- สินค้า- ผู้ประกอบการ- ผลิต ขาย- ผู้เสียหาย- ความเสียหาย- นำเข้า• ลักษณะสินค้าที่ไม่ปลอดภัย• ความรับผิดของผู้ประกอบการ• ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ประกอบการ• ค่าเสียหายและค่าทดแทน มีมากน้อยเพียงใด และการกำหนดค่าเสียหาย• อายุความคดี11.00-12.00 น. หัวข้อที่ 2ความสัมพันธ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย กับ บทบัญญัติกฎหมายทั่วไป ว่าด้วย จ้างทำของ ละเมิด และพะราชบัญญัติว่าด้วยคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และแก้ไขล่าสุด• ข้อแตกต่างและข้อเหมือนเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ประกอบการต่อความเสียหาย• ข้อแตกต่างและข้อเหมือนเกี่ยวกับข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ประกอบการ12.00-13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง13.00-15.00 น. หัวข้อที่ 3กระบวนการระงับข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551• ความหมายคดีคุ้มครองผู้บริโภค• การไกล่เกลี่ยคดีก่อนฟ้องคดีต่อศาล• วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค- การไกล่เกลี่ยคดีในชั้นศาล- กระบวนพิจารณาในศาล- การกำหนดค่าเสียหายผูกพันไปผู้บริโภคอื่นที่ไม่ใช่คู่ความในคดีได้เพียงใด- การกำหนดค่าเสียหายสูงกว่าค่าเสียหายจริงได้หรือไม่ เพียงใด- ภาระพิสูจน์เพื่อหลุดพ้นความรับผิด- ข้อผูกพันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงกับผู้บริโภคอื่นๆมีเพียงใด อย่างไร- ผู้ใดมีอำนาจฟ้องคดี• การคุ้มครองคดีไว้ชั่วคราวมีขอบเขตเพียงใด และทำได้อย่างไร เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ประกอบการ15.00-16.30 น. หัวข้อที่ 4ความสัมพันธ์ทางกฎหมายในส่วนกำหนดค่าเสียหายและข้อยกเว้นความรับผิดระหว่างกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย กฎหมายวิธีพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และแก้ไขล่าสุด16.30 น. จบการสัมมนาที่นั่งมีจำนวนจำกัด, สำรองที่นั่ง โทร. (086) 073-4446 / 47*Seminar information in English is available upon request*หากท่านสนใจเข้าร่วมสัมมนา หรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัมมนาในครั้งนี้กรุณาติดต่อเราได้ที่บริษัท วินนิ่ง พอยท์ จำกัด1056/54 หมู่บ้านคาซ่า ซิตี้ รามคำแหงถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240โทร.(02)376-3839, 245-0291 โทรสาร.(02)376-3849สายด่วน (086)073-4446/47WEBSITE http://www.winningpoint.co.thสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (02)376-3839 winning point
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด