การประชุมและเสวนาเรื่อง “เตรียมตัวตายอย่างมีสติ เพื่อวาระสดท้ายอั ุ นงดงาม”

รหัสหลักสูตร: 4874

จำนวนคนดู 2599 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

การประชุมและเสวนาเรื่อง

“เตรียมตัวตายอย่างมีสติ เพื่อวาระสดท้ายอั ุ นงดงาม”

(Towards a Beautiful End: Preparing for Death Mindfully)

หลักการและเหตุผล

ความตายเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของชีวิตและมนุษย์ ทุกคนก็จะต้องตายไม่วันใดก็วันหนึ่งแต่น่าประหลาดใจว่าผู้คนในสังคมดูจะไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ความตายหรือการตายเท่าที่ควร การอภิปรายหรือการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับความตายมักจะทำกันเมื่อเกิดการตายขึ้น เช่น ในพิธีศพ หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดว่าความตายกำลังคืบคลานเข้ามาในชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ในกรณีของคนไข้ใกล้ตาย ลักษณะเช่นนี้ทำให้สังคมขาดการคิดอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบเกี่ยวกับความตายและทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนสำคัญยิ่งของชีวิตส่วนนี้ ผลก็คือความตายกลายเป็นสิ่งลึกลับ น่าสะพรึงกลัว เป็นสิ่งที่ต้องพยายามหลบหนีไปให้พ้นหรือเป็นสิ่งที่จะคิดถึงก็ต่อเมื่อเวลามาถึงด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการคิดคำนึงเกี่ยวกับการตายและความตาย คณะผู้จัดจึงได้จัดประชุมและเสวนาเรื่อง “เตรียมตัวตายอย่างมีสติ เพอื่ วาระสุดท้ายอันงดงาม” ขึ้นเพื่อให้นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติธรรม และประชาชนทั่วไป ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมุมมองของวิทยาศาสตร์และศาสนาในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับการตายและความตายในหลายลักษณะ เช่น การแพทย์แผนใหม่มีวิธีชะลอความตายและมีปัญหาเกี่ยวกับเกณฑ์วินิจฉัยการตาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนิยามของความตาย นอกจากนี้ก็มีปัญหาเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่ วยในการปฏิเสธการรักษา หรือแม้แต่การทำการุณยฆาต ซึ่งได้แก่การทำให้ผู้ป่ วยถึงแก่ความตายในกรณีที่ผู้ป่ วยทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจนไม่มีความหมายที่จะดำรงชีวิตอยู่ต่อไป คำสอนของพุทธศาสนาไม่ว่าเป็นนิกายใดก็มีความเกี่ยวข้องกับความตายและชีวิตหลังตายอย่างชัดเจน ดังนั้น การพบปะกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนาเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ และจะเป็นประโยชน์ทั้งในเชิงวิชาการและในเชิงปฏิบัติแก่บุคคลทั่วไป การประชุมและเสวนาในครั้งนี้นอกจากจะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจเรื่องความตายดี ยิ่งขึ้นแล้วยังทำให้ได้มุมมองต่างๆซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการตื่นตัว ในสังคมไทยเกี่ยวกับความตายอีกด้วย คณะผู้จัดเชื่อว่าการตื่นตัวเช่นนี้เป็นแรงสำคัญในการผลักดันให้ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าและเมื่อวาระสุดท้ายมาถึง ก็จากไปอย่างงดงาม ด้วยจิตที่ไม่ตื่นตระหนกหรือหวาดกลัว แต่เป็นจิตที่ได้รับการเตรียมมาดีเนื่องจากเรื่องความตายเป็นประเด็นสำคัญในพุทธศาสนาวัชรยานของทิเบตและเรื่องราวเกี่ยวกับทิเบตที่โยงกับความตายเป็นเรื่องที่ได้รับการพูดถึงไปทั่วโลก ในการประชุมครั้งนี้จึงได้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความตายในทรรศนะของชาวทิเบตอีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อปลุกจิตสำนึกของผู้คนในสังคม ไม่เพียงแต่ผู้ป่ วยเท่านั้น ให้ตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเตรียมตัวตายซึ่งจะทำให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาทและมีคุณค่า

2. เพื่อให้ความรู้แก่สาธารณชนทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องความตาย การเตรียมตัวตาย และชีวิตหลังตาย

3. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิชาการจากหลากหลายสาขา ผู้ปฏิบัติธรรม และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความตายและการตาย

8.30-9.00 น. ลงทะเบียน

9.00-9.15 น. พิธีเปิด

9.15-10.00น. “ข้อคิดเกยวกบชีวิตและความตาย ีั่ ”  ศ. ดร. สมภาร พรมทา (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

10.00-10.45 น. “ตายอย่างพุทธ”  อ. สมฤทธ์ิ ลือชัย (พิธีกรรายการธรรมในใจและอาจารย์พิเศษสาขาวิชา เอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

10.45-11.15 น. พักรับประทานชากาแฟ

11.15-12.15 น. “เผชิญความตายอย่างสว่าง”  นพ. พรเลิศ ฉัตรแก้ว (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)  และ คุณวรรณา จารุสมบัติ (เครือข่ายพุทธิกา)

12.15-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย

13.00-14.30 น. สนทนาหลากหลายมิติเรื่อง “ชีวิต ความตาย และการุณยฆาต”  ผู้ร่วมเสวนา : พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย) รศ. พญ. ศรีเวียง ไพโรจน์กุล  (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์   (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

14.30-15.00 น. พักรับประทานชากาแฟ

15.00-16.00 น. ชมภาพยนตร์และสไลด์เกี่ยวกับประเพณีการตายของทิเบต รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการ ประกอบพิธีโพวาเพื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทิเบต (เมษายน 2553) และการนำเสนอเรื่อง “บาร์โด : ชีวิตหลังตาย” รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ (มูลนิธิพันดารา)

16.00-18.00 น. “คำสอนเกี่ยวกับความตายในพุทธวัชรยาน” พระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเช (วัดต้าชี่กง นครลาซา และวัดเจคุนโด เมืองยูชู ทิเบตตะวันออก)

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: Seminar, Best Forecasting and Inventory Replenishment, อบรมหลักสูตรการใช้งาน Microsoft Visio, อบรมรุ่นที่ 1 วันที่ 2 กันยายน 2553 เวลา 8.30 – 16.30 น., อบรม หลักสูตร การใช้งาน Microsoft Word และ Microsoft PowerPoint

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด