อบรม การเตรียมพร้อมและเทคนิคในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรและการตรวจปล่อยเพื่อรองรับ POST AUDIT รุ่นที่ 9

รหัสหลักสูตร: 33185

จำนวนคนดู 2299 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
ช่วยให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงข้อกฎหมายและข้อควรปฏิบัติในพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น
1.เพื่อให้ผู้ร่วมการสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ เทคนิควิธีการ เบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย รวมตลอดถึงหลักเกณฑ์การตีความ และข้อควรปฏิบัติในพิธีศุลกากร โดยมีการยกตัวอย่างประกอบการสัมมนาเพื่อง่ายแก่การเข้าใจ
2.เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระเบียบปฏิบัติ วิธีการในการจัดเตรียมเอกสาร ข้อมูล 
เพื่อชี้แจง หรือนำเสนอต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร
3.เพื่อให้ทราบถึงแนวทาง วิธีการในการวินิจฉัยข้อกฎหมายของเจ้าหน้าที่ศุลกากรและ 
คำพิพากษาของศาลเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไข
หัวข้ออบรมสัมมนา
ภาคเช้า ( บรรยาย 3 ชั่วโมง )


-ความหมายของการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย
-อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการเข้าตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย
-หน้าที่ของผู้ประกอบการหรือผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในข่ายได้รับการตรวจปล่อย
-กฎหมายว่าด้วยการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย
-ระบบควบคุมทางศุลกากร
•การควบคุมก่อนการตรวจปล่อย (Pre Clearance Control)
•การควบคุมขณะตรวจปล่อย (Clearance Control)
•การควบคุมหลังการตรวจปล่อย (Post Clearance Control)

  • Post Review
  • Post Audit
  • Voluntary Audit
  • Investigation Audit
-การตรวจสอบเอกสารใบขนสินค้าด้วยตนเองและการชำระค่าภาษีอากร
-ประเด็นที่ศุลกากรมักเข้มงวดในการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย
-เทคนิคการเตรียมพร้อมในการจัดเก็บเอกสารเพื่อตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย
-การดำเนินคดีและบทลงโทษ
-เทคนิคในการใช้สิทธิโต้แย้งกับกรมศุลกากร
-หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบคดีและการระงับคดีในชั้นศุลกากร

ภาคบ่าย ( บรรยาย 3 ชั่วโมง ) 


-สาระสำคัญ และเทคนิคของการจัดสินค้าเข้าประเภทพิกัด
-การจัดหมวดหมู่ และประเภทของสินค้าตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร
-ความหมาย และความสำคัญของ “หมายเหตุ” “หมวด” “ตอน” ในการจัดสินค้าเข้าประเภทพิกัด
-ความหมายของ “สาระสำคัญ” ในตัวสินค้า
-หลักเกณฑ์ วิธีการในการวินิจฉัยตีความพิกัด
-ตัวอย่างจริงของสินค้าที่ยากแก่การจัดประเภทพิกัด พร้อมหลัก และเทคนิคการตีความ เช่น ไฟฉายที่มีวิทยุติดที่กระบอกไฟฉาย ( จัดเป็นพิกัดไฟฉาย หรือวิทยุ ) หรือ Laser Pointer ที่มีปลายอีกด้านหนึ่งเป็นปากกา ( จัดเป็นพิกัดปากกา หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ ) หรือหมวกใส่ตีกอล์ฟที่มีวิทยุติดที่หมวก ( จัดเป็นพิกัดหมวก           หรือวิทยุ ) ฯลฯ
-เทคนิคการเปิดหนังสือพิกัดเพื่อหาหมวดหมู่ของสินค้าให้ได้รวดเร็ว
-ความหมาย ความสำคัญของ E / N ( Explanatory Note ) ต่อพิกัด
-ประโยชน์ และวิธีการปฏิบัติของ Advance Ruling ตามความตกลง GATT ข้อที่ 10 เป็นอย่างไร ต้องดำเนินการอย่างไร จึงจะถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติของกรมศุลกากร
-เน้นสาระสำคัญของ “ระเบียบปฏิบัติและกฎหมายศุลกากร” ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย
-ตัวอย่าง “คำวินิจฉัยการตรวจสอบของกรมศุลกากร” และการดำเนินการเมื่อได้สงวนสิทธ์
-เทคนิคการชี้แจงและการจัดเตรียมเอกสาร ข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดประเภทพิกัด
-ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรที่น่าสนใจ
-เทคนิค “การยื่นอุทธรณ์พิกัด” และ “การจัดเตรียมข้อมูล เอกสาร”

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา9.00-16.00 น
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: ศุลกากร, POST AUDIT, สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด