เทคนิคการเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องสหภาพแรงงานกับบริษัทฯ

รหัสหลักสูตร: 53175

จำนวนคนดู 1125 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
องค์กรเอกชนที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจึงมีฐานะเป็นนิติบุคคล เมื่อประกอบธุรกิจจึงมีพนักงานเข้ามาผลิตสินค้าให้กับนายจ้างซึ่งได้รับสวัสดิการ แต่อาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่สมควร ดังนั้นพนักงานจึงใช้สิทธิทางกฎหมายโดยการจัดตั้งสหภาพแรงงานในองค์กรขึ้น เพื่อเรียกร้องสวัสดิการและสิทธิอันพึงมีพึงได้ขึ้น และใช้สหภาพแรงงานเป็นตัวขับเคลื่อนในการเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งการเรียกร้อง การเจรจากัน บางสถานที่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ นายจ้างจึงมีการหยุดงาน หรือลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานชุมนุมนัดหยุดงาน แต่ถ้าผู้แทนทั้งสองฝ่ายในระหว่างเจรจากันยื่นหลักเมตตาธรรม เสนอเหตุผลอันสมควรต่อกัน ปัญหานี้ก็อาจจะไม่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์

      1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดข้อพิพาทแรงงาน และจุดเริ่มต้นของการมีสหภาพแรงงานในองค์กร / ขั้นตอนการยื่นข้อเรียกร้อง / การเจรจาต่อรอง / การนำที่ปรึกษาเข้ามาไกล่เกลี่ยปัญหาที่ตกลงกันไม่ได้

      2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงขั้นตอน / การแจ้งประนอมข้อพิพาทแรงงาน / การเจรจาต่อรองในระดับไตรภาคี / การปิดงานหรือการชุมนุมนัดหยุดงานของสหภาพแรงงาน

      3. เพื่อให้ทราบถึงการกล่าวโทษ กรรมการสหภาพแรงงาน / การกล่าวโทษกรรมการลูกจ้าง และหลักการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้ออบรม

1. ผู้บริหารงานบุคคลจะดำรงค์ตนให้อยู่ในวิชาชีพของตนที่ดี ได้อย่างไร? 

2. ข้อบังคับในการทำงานคืออะไร? / การแก้ไขข้อบังคับในการทำงาน ต้องทำอย่างไร? 

3. สภาพการจ้างคืออะไร? / ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอะไรบ้าง? 

4. การบริหารงานบุคคลที่ก่อให้เกิดข้อพิพาทแรงงานขึ้นในองค์กรบ่อยๆ มีอะไรบ้าง? 

5. ปัญหาที่จะทำให้เกิดการตั้งสหภาพแรงงาน คืออะไร? 

6. การตั้งสหภาพแรงงานของลูกจ้างมีวิธีหรือขั้นตอนการตั้งอย่างไร? 

7. การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฝ่ายนายจ้างต้องเรียกประชุมภายในไม่เกินกี่วัน? 

8. ในระหว่างเจรจาข้อเรียกร้องผู้แทนฝ่ายนายจ้าง – ฝ่ายลูกจ้าง จะแจ้งผู้แทนในการเจรจา และแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ ฝ่ายละกี่คน 

9. ที่ปรึกษาฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายลูกจ้าง ที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนการเป็นที่ปรึกษาจะมีความผิดตามกฎหมายอย่างไร? 

10. การเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องสหภาพแรงงานจะใช้วิธีเจรจาต่อรองอย่างไรให้มีการตกลงกันได้ภายในองค์กร 

11. ในกรณีเจรจากันตกลงกัน ไม่ได้ จะเลื่อนการเจรจาไปได้กี่ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันได้กี่วัน? 

12. การแจ้งประนอมข้อพิพาทแรงงานต่อหน่วยงานภาครัฐ เมื่อแจ้งแล้วภาครัฐจะมีการเรียกประชุมเพื่อเจรจากันทั้ง 3 ฝ่ายภายในกี่วัน? 

13. ในกรณีสหภาพแรงงานกับบริษัท ตกลงกันได้ จะแจ้งให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานทราบอะไร? จะนำข้อตกลงไปจดทะเบียนเพื่อเป็นสภาพการจ้างภายในกี่วัน? 

14. การบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ดีต้องทำอย่างไร? ทำข้อตกลงได้ไม่เกินกี่ปี? 

15. กรณีที่สหภาพแรงงานกับบริษัทเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ นายจ้างสั่งปิดงานที่ผิดกฎหมาย หรือสั่งปิดงานที่ถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร? 

16. การชุมนุมนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมายต้องทำอย่างไร? 

17. การปิดงานของนายจ้างทั้งถูกหรือผิดกฎหมาย จะมีผลกระทบอย่างไร? 

18. การชุมนุมนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานทั้งถูก หรือผิดกฎหมายจะมีผลกระทบอย่างไร? 

19. การเลิกสหภาพแรงงานที่ถูกกฎหมาย หรือผิดกฎหมายต้องทำอย่างไร? 

20. การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง / บทบาทน้าที่ / การลงโทษกรรมการลูกจ้างต้องทำอย่างไร? 

21. บทบาทหน้าที่ของสหภาพแรงงาน และสมาชิกของสหภาพแรงงาน มีอะไรบ้าง? 

22. การกล่าวโทษสมาชิกของสหภาพแรงงาน และการร้องทุกข์ของสมาชิกสหภาพแรงงานต้องทำอย่างไร? 

23. การอนุญาตให้ผู้นำแรงงานหรือสมาชิกของสหภาพแรงงานไปประชุมหรือไปอบรมสัมมนาตามสถานที่ต่างๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐ – สมาพันธ์ลูกจ้าง – สภาองค์การลูกจ้างแรงงาน จะมีผลดีหรือผลเสียแก่บริษัทฯอย่างไร? 

24. การบริหารงานบุคคลที่ก่อให้เกิดการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอะไรบ้าง? 

25. คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีแรงงาน ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง? 

ถาม –ตอบ –แนะนำ

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด