อัพเดทค่าจ้างขั้นต่ำปรับใหม่ 2560 สารพันปัญหาค่าจ้างและการปรับค่าจ้างวิธีต่างๆ

รหัสหลักสูตร: 35970

จำนวนคนดู 1008 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
 ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราที่ปรับใหม่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 นี้แล้ว  เงินที่ฝ่ายนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เงินใดเป็นค่าจ้าง 
หรือไม่ใช่ค่าจ้าง ล้วนสร้างความสับสนให้ฝ่ายนายจ้างมานานแล้ว แต่  ถ้าเงินใดที่ฝ่ายนายจ้างจ่ายในปัจจุบันอยู่ในตระกูลเดียวกันกับค่าจ้าง 
แม้ค่าจ้างต่อวันไม่ถึง 300 บาท แต่รวมกับเงินในชื่ออื่นๆที่นายจ้างมีการจ่ายให้  รวมแล้วไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างในอัตราใหม่  
การจ่ายดังกล่าวของฝ่ายนายจ้าง ก็ย่อมไม่ผิดต่อกฎหมายแรงงานไทย และ ไม่ต้องไปปรับเงินใดๆให้แก่ลูกจ้าง ก็ไม่ผิดกฎหมายแรงงาน

แต่ถ้าฝ่ายนายจ้าง  ไม่ต้องการให้เงินที่จ่ายแก่ลูกจ้างที่ได้จ่ายไปแล้ว  ซึ่งมีอัตราที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่  
ไม่ต้องการให้เงินบางรายการที่มีสถานภาพเป็นค่าจ้าง  แปลงไปเป็นเงินสวัสดิการ  จะมีวิธีการกระทำได้ด้วยวิธีการใด 
เพียงไร  ตามแนวทางที่ศาลฎีกาเปิดช่องไว้ให้  เรื่องนี้ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฏีกาคดีแรงงาน 
และอดีตกรรมการค่าจ้างกลาง 4 สมัย จะได้มาชี้แจงแนะนำให้ในวันสัมมนา

       อีกประการหนึ่ง กิจการท่านทราบไหมว่า ในภาคเอกชนนั้น มีการปรับค่าจ้างด้วยวิธีการต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ 
หรือการขึ้นค่าจ้างตามผลงาน ปัจจุบันรวบรวมมาได้มากกว่า 20 วิธี ท่านควรให้ความสนใจมาศึกษาเรียนรู้วิธีการต่างๆ ดังกล่าว  
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการของท่าน  หากไม่เข้าร่วมรายการสัมมนาในครั้งนี้ กิจการของท่านอาจสูญเสียโอกาสที่ดี
ในการเลือกวิธีการปรับค่าจ้างที่เป็นประโยชน์มากกว่าวิธีการที่กิจการของท่าน  เคยทำอยู่ในปัจจุบันก็ได้
หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อสัมมนา
  • ความหมายของ ค่าจ้าง/ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ/ ค่าล่วงเวลา/ ค่าทำงานในวันหยุด/ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ที่ถูกต้อง ฯลฯ
  • เงินที่ฝ่ายนายจ้างจ่าย จะต้องเป็นค่าจ้าง ถ้าเข้า 4 เกณฑ์ใด ที่ศาลฎีกาวางบรรทัดฐานไว้
  • องค์ประกอบ 5 ประการ ของเงินประเภทใด ที่ศาลฎีกาไม่ถือเป็นค่าจ้าง
  • เงินที่นายจ้างจ่าย อย่างน้อย 35 ชื่อ มีเงินใดบ้างที่ศาลฎีกาถือเป็นค่าจ้าง (จาก ฎีกาประมาณ 40 คดี)
  • สิทธิของนายจ้าง ในเรื่องค่าจ้างมีเพียงไร
  • หลักเกณฑ์ในการขึ้นเงินเดือน อันเป็นสิทธิทางการบริหาร ทำไมศาลฎีกาไม่ให้มีผลใช้บังคับ
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง ทำได้อย่างไร และมีผลผูกพันลูกจ้างเพียงไร
  • ลูกจ้างทดลองงานนั้น นายจ้างจ่ายในอัตราต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ที่รัฐบาลประกาศได้หรือไม่
  • ลูกจ้างทำงานมา 2 ปี ตกลงรับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลประกาศ – ทำไมจึงไม่ผิดกฎหมาย
  • ลูกจ้างตกลงไม่รับค่าจ้าง เมื่อนายจ้างหยุดงาน – ทำไมจึงมีผลใช้บังคับได้ และ ไม่ได้
  • ทำไมนายจ้างใช้มติการประชุมยกเลิกการจ่ายเงินรางวัลมิได้
  • ทำสัญญาถ้าลาออกก่อนทำงานครบ 18 เดือน หากฝ่าฝืน จึงมีผลใช้บังคับให้ลูกจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
  • ทำไมลูกจ้างขาดงาน งดจ่ายค่าจ้างในวันขาดงานมิได้ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
  • ทำไมทำงานครบปีแล้ว นายจ้างไม่ขึ้นค่าจ้างให้ จึงกระทำได้โดยชอบ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
  • ทำไมนายจ้างไม่จ่ายโบนัส จึงทำได้โดยชอบ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
  • ทำไมเปลี่ยนหลักเกณฑ์และงบฯขึ้นเงินเดือน จึงทำได้โดยชอบ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
  • สาระสำคัญของค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ในแต่ละพื้นที่
  • คณะกรรมการค่าจ้าง ใช้เกณฑ์ใดกำหนดขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
  • หลักเกณฑ์การกำหนดขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีอย่างไร
  • สาเหตุ 6 ประกอบ ที่มีการปรับค่าจ้างให้ลูกจ้าง มีอะไรบ้าง
  • เมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ภาคเอกชน มีวิธีการปรับมากกว่า 20 วิธี แต่ละวิธีแตกต่างกันอย่างไร
  • ข้อควรระวัง 6 ประการ ในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ มีอะไรบ้าง
  • ข้อพิพาทเรื่องค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด มีอายุความกี่ปี เหตุใดหมดอายุความแล้ว ก็ยังฟ้องร้องได้
  • ทำไมนายจ้าง ไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุด หากฝ่าฝืน ทำไมมีโทษจำคุกนายจ้าง
  • นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยไม่ต้องถามความสมัครใจ ในกรณีใดบ้าง
  • นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างกิจการใดบ้าง ที่ต้องมาทำงานในวันหยุด โดยไม่ต้องถามความสมัครใจได้โดยชอบ
  • สัญญาจ้างโดยจ่ายค่าล่วงเวลาเหมา ทำไมจึงตกเป็นเป็นโมฆะ และ กรณีใดที่มีผลใช้บังคับได้
  • ลูกจ้างขับรถประจำตำแหน่ง ที่ได้ค่าล่วงเวลาเหมาไปแล้ว ทำไมฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาย้อนหลังได้
  • ตกลงสละค่าล่วงเวลา กรณีใด จึงมีผลผูกพันใช้บังคับได้ (ตัวอย่าง ฎีกาประกอบ)
  • ถาม – ตอบ ปัญหาข้อข้องใจ


วันที่ 20 มกราคม 2559

 

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: ค่าจ้าง, แรงงาน, ปรับค่าจ้าง, ข้อพิพาท, ฟ้องร้อง, กฎหมายแรงงาน

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

หลักสูตร นักจัดซื้อยุคใหม่... เพื่อความสำเร็จขององค์กร

คาดหวังให้นักจัดซื้อ ต้องสามารถรองรับรูปแบบการธุรกิจใหม่ๆให้ได้ด้วย เช่น e-commerce ธุรกิจในปัจจุบันนี้ ต้องการ ความรวดเร็ว (Speed) มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และต้นทุนที่ต่ำ (Cost Deduction) ดังนั้น นักจัดซื้อสมัยใหม่จะต้องมีแนวคิดในเรื่อง Logisti