การวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือนเครื่องจักรหมุน ระดับต้น

รหัสหลักสูตร: 58788

จำนวนคนดู 1844 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักการและเหตุผล

การวัดและวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนสำหรับเครื่องจักรหมุน เป็นเครื่องมือในการประเมินระดับความรุนแรงของปัญหาโดยอาศัยมาตรฐาน และยังสามารถช่วยในการวินิจฉัยความเสียหายผ่านสัญญาณการสั่นสะเทือน โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรหมุน  จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีความเข้าใจในการตั้งค่าและวัดค่าสัญญาณการสั่นสะเทือนที่ถูกต้อง รวมทั้งต้องมีความเข้าใจในรูปแบบสัญญาณการสั่นสะเทือนเพื่อช่วยในการวินิจฉัยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรหมุน

วัตถุประสงค์

1.    สามารถต้งค่าเพื่อให้สามารถวัดสัญญาณการสั่นสะเทือนได้อย่างถูกต้อง
2.    สามารถวัดการสั่นสะเทือนได้ตามมาตรฐาน
3.    สามารถวินิจฉัยสัญญาณการสั่นสะเทือนเบื้องต้น
4.    สามารถเข้าใจในการถ่วงสมดุลโรเตอร์แกร่ง แบบ Single plane balance

หัวข้ออบรมสัมมนา
วันที่ 1
08.00-09.00    ลงทะเบียน
09.00-10.00    ทดสอบการเรียน 30 ข้อ
10.00-10.30    พื้นฐานการวัดการสั่นสะเทือน

                       - การสั่นสะเทือนคืออะไร, คาบ (Period) และ ความถี่(Frequency), ขนาดและปริมาณการสั่นสะเทือน (pk-pk, pk, rms), หน่วยการสั่นสะเทือน,

                       การแปลงหน่วยการสั่นสะเทือน

10.30-10.45    รับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00    พื้นฐานการวัดการสั่นสะเทือน (ต่อ)
                       - หน่วยการสั่นสะเทือน, โดเมนเวลา และ โดเมนความถี่สำหรับงานวัดการสั่นสะเทือน,
12.00-13.00    รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30    การวัดเฟส (Phase), รีโซแนนซ์(resonance), ความถี่ธรรมชาติ(natural frequency), ความเร็ววิกฤติ(critical speed)
14.30-14.45    รัปประทานอาหารว่าง

14.45-16.00    work shop ( การวัดการสั่นสะเทือนด้วยมิเตอร์วัดการสั่นสะเทือน และ FFT Analyzer  , resonance testing , critical speed testing,

                        การวัดและวิเคราะห์เฟส  และ ถาม-ตอบ


วันที่2
09.00-10.30        พื้นฐานการเลือกหัววัดการสั่นสะเทือน และ การตั้งค่าการวัดการสั่นสะเทือน

                          - ชนิดของหัววัดการสั่นสะเทือน (หัววัดความเร่ง(Accelerometer), หัววัดความเร็ว(velocity transducer) และ

                            หัววัดการขจัด (Displacement transducer)

                          - วิธีการจับยึดทรานดิวเซอร์ (Mounting)
10.30-10.45        รับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00        - การตั้งค่าการวัดการสั่นสะเทือน

                           - ย่านความถี่การวัด( frequency span, Fmax), LOR (Line of resolution), Window filter( Hanning, Uniform, Flat top) ,

                             ชนิดของการหาค่าเฉลี่ย (Average Type), การกำหนดจำนวนเฉี่ลย(Average no.), ความละเอียด (Resolution), เวลาในการเก็บข้อมูล(Time acquisition)

12.00-13.00        รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30        ภาคปฎิบัติ การตั้งค่าการวัดการสั่นสะเทือนเบื้องต้น
14.30-14.45        รับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00        ภาคปฎิบัติ การตั้งค่าสำหรับทดสอบหาความถี่ธรรมชาติ แบบ Bump test, Run-up and Coast down testing


วันที่3

09.00-10.30     พื้นฐานการวัดสัญญาณการสั่นสะเทือน
                        - การกำหนดจุดวัดการสั่นสะเทือน อาทิ มอเตอร์, ปั้ม, โบเวอร์, เกียร์ เป็นต้น
                       พื้นฐานการวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือน

                       -    การเสียสมดุลย์โรเตอร์( Rotor unbalance) แบบต่างๆ อาทิ การเสียสมดุลย์โรเตอร์แบบสถิต (Static unbalance),

                      การเสียสมดุลย์แบบพลวัตร  (Dynamic unbalance) พร้อมกรณีศึกษาจากการวัดจริง

                      - การเยื้องศูนย์เพลา (shaft alignment) แบบต่างๆ อาทิ การเยื้องศูนย์แบบขนาน(Parallel misalignment)

                      การเยื้องศูนย์เชิงมุม (Angular misalignment)  พร้อมกรณีศึกษาจากการวัดจริงผ่านชุดจำลองการสั่นสะเทือน

10.30-10.45    รับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00    พื้นฐานการวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือน (ต่อ)
                       - การหลวมคลอนทางกล (Mechanical looseness) พร้อมกรณีศึกษาจากการวัดจริง
                       - พื้นฐานการวิเคราะห์สัญญารการสั่นสะเทือน (ต่อ)
                      - การวิเคราะห์ความผิดปกติของตลับลูกปืน    
12.00-13.00    รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30     การถ่วงสมดุลโรเตอร์ด้วยวิธี Polar plot
                       - ภาคปฎิบัติ การถ่วงสมดุล (การคำนวณหามวลถ่วงสมดุล และ ถ่วงสมดุลผ่านชุดฝึกการถ่วงสมดุลโรเตอร์หมุน)
14.30-14.45    รับประทานอาหารว่าง
14.45-15.45    ทดสอบท้ายการอบรม (Post-test)


ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: การวัดการสั่นสะเทือน, การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน, อบรมการสั่นสะเทือน, Vibration analysis course, Vibration data collection, การถ่วงสมดุลโรเตอร์