ข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงานของธุรกิจ (มรท. ๘๐๐๑ – ๒๕๖๓)

รหัสหลักสูตร: 54272

จำนวนคนดู 3185 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ปรับปรุงประกาศใช้ข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทยความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงานของธุรกิจ มรท. ๘๐๐๑ - ๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๓ ซึ่งมีผลบังคับใช้ใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ เพื่อให้สถานประกอบกิจการทุกประเภท ทุกขนาดนำไปปฏิบัติต่อแรงงานในสถานประกอบกอบกิจการของตนด้วยความสมัครใจ เพื่อพัฒนา สถานประกอบกิจการให้มีระบบบริหารจัดการแรงงานทันสมัยดีเทียบได้กับมาตรฐานแรงงานสากล โดยมุ่งเน้นด้านการยกระดับคุณภาพชองชีวิตแรงงาน และเสริมสร้างให้ธุรกิจมีการพัฒนาที่ยั่งยืน

ข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย (TLS) คือ มาตรฐานในการบริหารจัดการแรงงานที่ยึดหลักการปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ยอมรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโปร่งใสและมีความรับผิดชอบ รวมทั้งมีข้อกำหนดระบบการจัดการเพื่อประกันคุณภาพการปฏิบัติอย่าง

เข้มแข็ง และยั่งยืน


หัวข้ออบรมสัมมนา

วัตถุประสงค์

๑. ให้สถานประกอบกิจการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อแรงงาน โดยนำสาระแห่งมาตรฐานนี้

ไปกำหนดเป็นนโยบาย และมีการจดการให้เป็นไปตามนโยบาย

๒. เป็นเกณฑ์ให้สถานประกอบกิจการใช้ในการตรวจสอบ และประกาศแสดงตนเองว่า

เป็นสถานประกอบกิจการที่ปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานนี้

๓. เป็นเกณฑ์พิจารณาให้การรับรองแก่สถานประกอบกิจการที่นำมาตรฐานนี้ไปปฏิบัติ

ประโยชน์ของการจัดทำมาตรฐานแรงงานไทย

๑. สถานประกอบกิจการมีสินค้าและบริการได้รับการยอมรับ น่าเชื่อถือและไว้วางใจที่เกิดจากการบริหารจัดการแรงงานที่เป็นธรรม คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงานที่มีการดำเนินการอย่างมีมาตรฐานและเคารพหลักสิทธิมนุษยชนสากล

๒. แรงงานมีความมั่นคงในการทำงาน ได้รับการคุ้มครองไม่น้อยกว่ากฎหมายกำหนด ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม มีความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยที่ดี

๓. ประเทศมีภาพลักษณ์ที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันทางการค้าอย่างยั่งยืน

ระดับและอายุการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย

๑.ระดับพื้นฐาน มีอายุการรับรอง ๒ ปี

๒. ระดับสมบูรณ์ มีอายุการรับรอง ๓ ปี

๓. ระดับสมบูรณ์สูงสุด มีอายุการรับรอง ๓ ปี

ระยะเวลาและกระบวนการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย

๑. ยื่นคำขอการรับรอง (แบบกรร.๐๓) ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน - หน่วยรับรอง / หน่วยตรวจ ภาคเอกชน

๒. สำนักฯ ใช้เวลาตรวจสอบข้อมูล ๑๒๐ วัน

๓. หากพบข้อบกพร่องให้กลับมาแก้ไขภายใน ๑๘๐ วัน

๔. หากไม่พบข้อบกพร่อง สำนักฯ จะจัดทำรายงานแจ้งภายใน ๓๐ วัน

๕. ได้รับการรับรองโดยภาครัฐหรือเอกชน

๖. ออกหนังสือรับรองอย่างเป็นทางการ

หัวข้อการอบรม

• เป็นข้อกำหนดทางกฎหมายและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติมาตรฐานและแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ

๑. ความเป็นมา และขอบเขตการนำไปใช้

๒. เอกสารอ้างอิง พระราชบัญญัติ อนุสัญญา ปฏิญญาภาคี ปฏิญญาไตรภาคี ปฏิญญาสากล หลักปฏิบัติ และมาตรฐานการจัดการระบบคุณภาพ ที่เกี่ยวข้อง

• เป็นข้อกำหนดให้มีในระบบการจัดการ รูปแบบและวิธีการเหมือนระบบ ISO สามารถบูรณาการกับระบบการจัดการมาตรฐานอื่น

๓. ข้อกำหนดต่าง ๆ ตามประกาศข้อกำหนด มรท. ๘๐๐๑-๒๕๖๓

๔.๑ ข้อกำหนดทั่วไป

๔.๒ ระบบการจัดการ

• เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน เสรีภาพในการสมาคมและเจรจาต่อรอง และความปลอดภัยในการทำงาน และสวัสดิการแรงงาน

๔.๓ การใช้แรงงานบังคับ

๔.๔ ค่าตอบแทนการทำงาน

๔.๕ ชั่วโมงการทำงาน และเวลาพัก

๔.๖ วันหยุดและวันลา

๔.๗ การเลือกปฏิบัติ

๔.๘ วินัยและการลงโทษ

๔.๙ การล่วงเกินทางเพศ และการใช้ความรุนแรง

๔.๑๐ การใช้แรงงานเด็ก

๔.๑๑ การใช้แรงงานหญิง

๔.๑๒ เสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง

๔.๑๓ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

๔.๑๔ สวัสดิการแรงงาน

กลุ่มเป้าหมาย

พนักงานทุกคน ทุกฝ่าย ทุกตำแหน่ง ภายในองค์กร


ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: ข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมด้าน