กฎหมายแรงงาน กับ การบริหารงานบุคคล ที่มีคุณภาพต่อองค์กร

รหัสหลักสูตร: 55046

จำนวนคนดู 697 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
นายจ้างประกอบธุรกิจเพื่อผลิตสินค้า ให้กับลูกค้าที่เป็นไปตามสัญญาข้อตกลงกัน สิ่งที่ผู้ประกอบกิจการต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลา คือต้องผลิตสินค้าให้มากที่สุด ดังนั้น สิ่งที่จะก่อให้เกิดสินค้าที่ดี มีคุณภาพก็คือผู้ควบคุมงานและผู้ผลิตชิ้นงาน ซึ่งผู้บริหารบุคคลจึงเป็นปัจจัยหลักในการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานในองค์กร และเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความตั้งใจในการทำงานได้พัฒนาแรงงาน และการทำกิจการต่างๆ เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาทอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อกระบวนการผลิตชิ้นงานให้ออกมาดี


วัตถุประสงค์

      1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทราบการสรรหาบุคลากรที่ดี และมีคุณภาพ เข้ามาทำงานให้กับองค์กร และการเลื่อนตำแหน่งงาน หรือการสร้างสิ่งโน้มน้าวจิตใจให้กับพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้นานๆ

      2. เพื่อให้ทราบถึงผลดีต่อการพัฒนาและคุ้มค่าต่อพนักงานที่ได้เรียนรู้ถึงการอบรมสัมมนาและการทำกิจกรรมต่างๆ หรือการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี ตามนโยบายของบริษัทฯ

      3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ถึงเทคนิคการแก้ปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในองค์กร และการกล่าวโทษทางวินัยของพนักงานที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการรับผิด รวมทั้งการเลิกจ้างพนักงานในกรณีต่างๆ ที่ผู้บริหารงานบุคคลจะต้องนำไปปฏิบัติจริง

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อสัมมนา

1. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ จะมีขั้นตอนอย่างไร?

2. ข้อบังคับในการทำงานคืออะไร? ประกาศ / ระเบียบ / คาสั่ง / คืออะไร

3. การสรรหาพนักงานที่ดีและมีคุณภาพ เข้ามาทำงานในองค์กร จะคัดสรรค์อย่างไร?

4. การสัมภาษณ์งาน / การวิเคราะห์คนให้ตรงกับงาน / การทำสัญญาจ้าง ต้องทำอย่างไร?

5. การประเมินค่าตอบแทน / การทำข้อตกลงเงินค่าสวัสดิการ / การจ่ายค่าจ้าง จะทำข้อตกลงอย่างไร?

6. การปฐมนิเทศพนักงาน ที่เข้าทำงานใหม่

7. การสร้างสิ่งโน้มน้าวจิตใจ ให้พนักงานอยู่กับองค์กรได้นานๆ

8. การจัดอบรมให้กับพนักงานเพื่อให้ตระหนักถึง อำนาจ / หน้าที่ / ความรับผิดชอบขณะทำงาน

9. การป้องกันและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน

10. การสร้างแรงงานสัมพันธ์อันดีงาน ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

11. การลางาน / การอนุมัติการลา

12. การพิจารณาการปรับค่าจ้างประจำปี พิจารณาจากอะไร?

13. การพิจารณาอนุมัติ การเลื่อนตำแหน่งงานให้กับพนักงาน พิจารณาจากเหตุผลอะไร?

14. เทคนิคการเข้าตรวจสอบ การทำผิดวินัยของพนังงาน มีอะไรบ้าง?

15. การพิจารณาความผิด และสั่งพักงานลูกจ้าง จะต้องดำเนินการอย่างไร?

16. การระงับข้อพิพาทแรงงานระหว่างหัวหน้างาน กับผู้ใต้บังคับบัญชา

17. การกล่าวโทษวินัยร้ายแรง จะพิจารณาจากอะไร?

18. การกล่าวโทษวินัยไม่ร้ายแรง จะพิจารณาจากอะไร?

19. การบอกเลิกจ้างพนักงาน รายวัน – รายเดือน ต้องบอกกล่าวอย่างไร?

20. การเลิกจ้างพนักงานต้องตรวจสอบสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับ มีอะไรบ้าง?

21. เมื่อพนักงานไปฟ้องศาลแรงงาน บริษัทฯ มอบอำนาจให้ผู้บริหารงานบุคคลไปดำเนินคดี จะต้องเตรียมเอกสารอย่างไร?

22. เมื่อนายจ้างเป็นโจทย์ หรือจำเลยในศาล เงินที่ฟ้องเรียกดอกเบี้ยขณะฟ้องร้อยละ 15 หรือร้อยละ 7.5 มีเงินอะไรบ้าง?

23. การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

24. กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ผู้บริหารงานบุคคลจะต้องเข้าตรวจสอบสิทธิของลูกจ้างที่ย้ายตาม หรือไม่ย้ายตามอย่างไร?

25. กรณีนายจ้างปิดกิจการ ผู้บริหารงานบุคคลจะต้องเข้าดำเนินการอย่างไร?

26. คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีแรงงานที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?

ถาม –ตอบ –แนะนำ

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd