กฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายประกันสังคมสำหรับฝ่ายบุคคลมือใหม่ เนื้อหาสงวนลิขสิทธิ์ (เข้าใจง่ายปฏิบัติได้จริง)

รหัสหลักสูตร: 56921

จำนวนคนดู 1297 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
หลักสูตรสำหรับผู้บริหารหรือฝ่ายบุคคลมือใหม่ 

ครอบคลุม ทุกประเด็น

โดยศึกษาแนวทางคำพิพากศาลฎีกา เพื่อสู่การปฏิบัติจริง 

มุ่งเน้นประเด็นสำคัญด้านกฎหมายแรงงานและประกันสังคมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในทุกองค์กร 

โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายแรงงาน ข้อพิพาทแรงงาน ค่าจ้างสวัสดิการ และกฎหมายประกันสังคม


หัวข้ออบรมสัมมนา

หัวข้ออบรม (สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอก)

1.หมวด การมาปฏิบัติงาน  การลางาน 

 • ลูกจ้างมาทำงานสายบ่อยๆจนทำให้หัวหน้างานรับไม่ได้ จะกล่าวโทษหรือเลิกจ้างต้องดำเนินการอย่างไร.? 

• บริษัทฯ ประกาศว่าหากพนักงานมาทำงานสายเกินกว่า 30นาที จะหักค่าจ้าง1ชั่วโมง และหากมาทำงานสายเกิน 1ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงจะหักค่าจ้างครึ่งวันนายจ้างทำได้หรือไม่.? 

 • ลูกจ้างลางาน ลาทุกประเภทไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ แนวทางการแก้ปัญหาต้องดำเนินการอย่าไร.?

 • การลากิจ (ลูกจ้างรายเดือน) ลากิจได้เดือนละหรือปีละกี่วันและตามกฎหมายจะได้รับค่าจ้างในวันลากิจหรือไม่อย่างไร.? 

 • ลูกจ้างลาป่วยแต่ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงประกอบการลางาน (ตามระเบียบของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้) นายจ้างจึงไม่จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยของลูกจ้าง ทำได้หรือไม่ .? 

 • หากพนักงานต้องการลาพักร้อน 2 ชั่วโมง ซึ่งไม่ตรงตามแนวปฏิบัติของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ให้ลาพักร้อนครั้งละอย่างน้อย 1วัน ลูกจ้างแจ้งว่าเป็นสิทธิของลูกจ้าง นายจ้างไม่อนุญาตทำได้หรือไม่.?

 • นายจ้างเลื่อนวันหยุดตามประเพณีในวันที่ 1 พฤษภาคม เนื่องจากมีงานด่วนจะทำได้หรือไม่ และพนักงานให้ความยินยอมด้วยแล้ว

 • กรณีวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์จะเลื่อนไปหยุดชดเชยในวันอื่นที่ไม่ใช่วันทำงานถัดไปได้หรือไม่ หากไม่ได้ถ้าลูกจ้างเป็นผู้ร้องขอจะทำได้หรือไม่.? 

2.หมวด การทดลองงาน - การจ้างงาน - สัญญาจ้าง 

 • นายจ้าง สามารถต่ออายุการทดลองงานได้หรือไม่ หรือเลิกจ้างเพราะไม่ผ่านทดลองงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง.? 

 • นายจ้างจะจ้างเด็กอายุตำกว่า 18 ปี เข้าทำงานต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างไร.?

 • จ้างงานแบบมีกำหนดระยะเวลาถ้าลูกจ้างต้องการบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ หรือลูกจ้างต้องรับผิดกรณีบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดหรือไม่.? 

 • กรณีบริษัทฯ ส่งพนักงานไปอบรมทั้งในประเทศหรือต่างประเทศและให้งบประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมด มีการทำสัญญาให้ทำงานกับบริษัทฯ 5 ปี และพนักงานลาออกก่อนกำหนดนายจ้างสามารถหักเงินเดือน หรือเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่

 • นายจ้างทำข้อตกลงเป็นสัญญาจ้างกับลูกจ้างว่าทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง ไม่จ่ายค่า OT. ให้นายจ้างทำได้หรือไม่ (เพราะตำแน่งพนักงานขับรถให้ผู้บริหารเจอปัญหานี้แทบทุกที่ ) 

 • หลักประกันในสัญญาจ้างสามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่และหากต่อมาลูกจ้างเปลี่ยนตำแหน่งงานนายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร.? 

 • เมื่อนายจ้างหรือลูกจ้างต้องการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง สวัสดิการ สภาพการจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร.?

3.หมวด การจ่ายค่าจ้าง - สวัสดิการ - ค่าล่วงเวลา

 • บริษัทฯ จะหักค่าจ้างของลูกจ้างได้มีหักค่าอะไรบ้าง 

 • ระหว่างนัดหยุดงานหรือปิดงานตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างหรือไม่.? 

 • กรณีพนักงานรายเดือนมาทำงานในวันหยุดตั่งแต่เวลา 13.00น. - 20.00น. บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าจ้างอย่างไร.?

 • สวัสดิการอะไรที่เป็นค่าจ้าง – สวัสดิการอะไรที่ไม่เป็นค่าจ้าง เพราะจะมีผลต่อการเอาไปรวมเป็นค่าจ้างกรณีออกจากงาน 

   * ยกตัวอย่างสวัสดิการต่างๆ 10 ประการ

 • กรณีลูกจ้างทำหนังสือยินยอมให้นายจ้างหักค่าจ้าง เพื่อใช้หนี้แทนคนอื่น กรณีเป็นผู้ค้ำประกัน หรือรับผิดในความเสียหาย ตามกฎหมายนายจ้างทำได้หรือไม่.? 

 • กรณีพนักงานหญิงมีครรภ์ทำงานตำแหน่งธุรการเดินเอกสาร ในสายการผลิตสามารถทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่.?

 • ลูกจ้างทำงานไม่ถึงหนึ่งปี นายจ้างต้องจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีไห้หรือไม่อย่างไร.?

4.หมวด การทำผิดวินัย - เลิกจ้าง 

 • ลูกจ้างทำผิดไม่ยอมเซ็นรับ ในหนังสือเตือน ผู้บริหารหัวหน้างานต้องดำเนินการอย่างไร.?

 • กรณีพนักงานเล่นโทรศัพท์ในเวลาทำงานเป็นประจำ หรือใช้คอมพิวเตอร์ในเวลาทำงานอันมิใช่เรื่องงาน ซึ่งนายจ้างได้เตือนแล้วจะกล่าวโทษหรือเลิกจ้างต้องดำเนินการอย่างไร.? 

 • กรณีที่เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า – ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย – ค่าเสียหาย – วันหยุดพักผ่อนประจำปี - เงินสมทบต่างๆ มีกรณีใดบ้าง.?

 * ยกตัวอย่างการทำผิด 10 กรณี

5.หมวด กฎหมายประกันสังคม 

 • การนำส่งเงินเข้ากองทุนเงินทดแทนของนายจ้างต้องส่งตามสัดส่วนและมีเงื่อนไขอย่างไร.? 

 • กรณีประสบอุบัติเหตุในเวลาทำงานอันเนื่องมาจากการทำงานให้กับนายจ้างลูกจ้างจะได้รับ สิทธิประโยชน์ อันชอบด้วยกฎหมาย มีอะไรบ้าง.? 

 * เงินเดือน – ค่าจ้าง – การประเมินความศูนย์เสียของแพทย์ – ทุพพลภาพ – กรณีเสียชีวิต 

 • ลูกจ้างบันทึกเวลาเข้าทำงาน ก่อนถึงเวลาทำงานเล่นกีฬาได้รับบาดเจ็บหรือได้รับบาดเจ็บเพราะปกป้องทรัพย์สินของนายจ้างในกรณีเช่นนี้จะต้องรักษากองทุนประกันสังคมหรือกองทุนเงินทดแทน 

 • ลูกจ้างป่วยนอกงานไม่สามารถเข้ารับการรักษา ตามโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ต้องทำอย่างไร.? 

 • จ่ายเงินสมทบกี่เดือนจึงใช้สิทธิกรณีเสียชีวิตไม่เนื่องจากการทำงานได้และสิทธิประโยชน์หรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายมีใครบ้าง.?

- ฟังตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ผู้บริหาร – HR. ควรรู้มีคดีอะไรบ้าง

- ถาม – ตอบ – ปรึกษาและให้แนะนำ


วิทยากร
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: กฎหมายแรงงาน, กฎหมายคุ้มครองแรงงาน, ฝ่ายบุคคลมือใหม่, กฎหมายประกันสังคม, ปัญหากฎหมายแรงงาน, อบรมกฎหมายแรงงาน