เจาะลึกประเด็นสำคัญ กฎหมายแรงงานใหม่ ภาคปฏิบัติ รุ่น 2

รหัสหลักสูตร: 57641

จำนวนคนดู 1095 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
-ทำความเข้าใจและอัพเดทกฎหมายแรงงานที่แก้ไขฉบับล่าสุด

-สิทธิความเท่าเทียมชายหญิงคืออะไร

-หน้าที่ของนายจ้างตาม พรบ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 2560

หัวข้ออบรมสัมมนา
เจาะลึกประเด็นสำคัญ กฎหมายแรงงานใหม่ ภาคปฏิบัติ รุ่น 2 (เลื่อนวันสัมมนา เดิม 7 ก.พ. 2562)

1.การแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560 มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป

1) แก้ไขเกี่ยวกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

2) แก้ไขเรื่องเกษียณอายุ กฎหมายให้เกษียณอายุเท่าไหร่

3) เกษียณอายุเป็นการเลิกจ้าง

4) ครบเกษียณอายุแล้ว แต่ลูกจ้างยังคงทำงานต่อไป ผลตามกฎหมายและปัญหาเป็นอย่างไร และแนวทางแก้ไขปัญหา

2. พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 (ฉบับที่ 7) ที่จะมีผลบังคับ ในปี 2562

1) มาตรา 9 แก้ไข อัตราดอกเบี้ยกรณีนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินระหว่างหยุดกิจการชั่วคราว เพิ่มดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี

2) มาตรา 13 กรณีเปลี่ยนตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ปัจจุบัน ลูกจ้างไม่ยินยอมผลเป็นอย่างไร

3) มาตรา 17/1 การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านับอย่างไร จ่ายเมื่อไหร่ ผลของการผิดนัดเป็นอย่างไร

4) มาตรา 34 การลากิจ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็นปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน สิทธินี้ได้ทันทีเมื่อเข้าทำงานหรือต้องผ่านทดลองงานก่อน

5) มาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน นายจ้างจ่ายค่าจ้างกี่วัน

6) มาตรา 53 สิทธิความเท่าเทียมกันของชายและหญิง โดยเฉพาะคำว่า “ค่าเท่าเทียมกัน” คืออะไร

7) มาตรา 70 การจ่ายเงินต่าง ๆ เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้าง โดยเฉพาะคำว่า “เงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถูกต้อง” คืออะไร

8) มาตรา 75 กำหนดเงื่อนไขการจ่ายค่าจ้างในกรณีหยุดกิจการชั่วคราวโดยมิใช่เหตุสุดวิสัย

9) มาตรา 93(5) ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120/1

10) มาตรา 118 (5) อัตราค่าชดเชยลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 10 แต่ไม่ครบ 20 ปี จ่าย 300 วัน (6) อัตราค่าชดเชยลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปี จ่าย 400 วัน

11) มาตรา 120 กำหนดให้การย้ายสถานประกอบกิจการให้รวมถึงการย้ายไปที่ซึ่งนายจ้างมีสถานประกอบกิจการอยู่แล้วด้วย และให้นายจ้างแจ้งกำหนดการย้ายสถานประกอบกิจการ ให้ลูกจ้างทราบตามแบบที่อธิบดีกำหนด

12) ความระงับทางอาญา และมาตรา 155/1 โทษปรับเกิดขึ้นทันที ในกรณีนายจ้างไม่แจ้งแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานมีโทษทันทีโดยไม่จำต้องมีหนังสือเตือนจากพนักงานตรวจแรงงานแจ้งเตือนก่อนเหมือนกฏหมายปัจจุบัน

3. Update หน้าที่ของนายจ้างในการหักเงินกู้ยืมลูกจ้าง พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560

4. วันหยุด วันลาตามกฎหมายแรงงาน กำหนดไว้อย่างไร(ประเด็นที่มักมีความเข้าใจยังไม่ถูกต้อง)

5. การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดคำนวณอย่างไร

6. สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม กรณีใดต้องจ่ายและกรณีใดไม่ต้องจ่าย พิจารณาอย่างไร 

7. ช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรณีการจัดการกับพนักงานเจ้าปัญหาต้องทำอย่างไร ตามแนวคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษหรือศาลฏีกาในปัจจุบัน

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: กฎกมายแรงงาน, สัมมนา, อบรม, บัญชี, ภาษี, ค่าจ้าง