เตรียมความพร้อมให้นักบัญชีรุ่นใหม่รู้ทันกฎหมายภาษีสรรพากรปี 2562 และรับมือการตรวจของสรรพากรรูปแบบใหม่

รหัสหลักสูตร: 60609

จำนวนคนดู 1300 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
หลักการและเหตุผล

 ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจประเภทออนไลน์ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจข้อกำหนดทางภาษี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อมูลบัญชีให้กับกรมสรรพากร อีกทั้งเมื่อมีการวางแผนภาษีที่ดี จะช่วยให้เราเข้าใจอย่างถูกต้องครบถ้วน แล้วยังช่วยรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจอีกด้วย

 เพื่อเป็นการลดข้อผิดพลาดจากการตรวจของสรรพากร ธุรกิจจะต้องมีการปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อป้องกันปัญหาทางภาษีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยหลักสูตรนี้จะออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมเตรียมความพร้อมให้รู้ทันกฎหมายภาษีสรรพากรปี 2562 และรับมือการตรวจของสรรพากรรูปแบบใหม่

วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายภาษีสรรพากรปี 2562 และการรับมือการตรวจของสรรพากรรูปแบบใหม่

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจกฎหมายภาษีสรรพากรปี 2562 และรับมือการตรวจของสรรพากรรูปแบบใหม่

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมวางแผนการเสียภาษีที่สอดคล้องกับธุรกิจ

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและประหยัด และป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

หลักสูตรการฝึกอบรม

  การฝึกอบรมจัดแบ่งหัวข้อของการฝึกอบรมออกเป็น 7 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

 หัวข้อที่ 1 Nation E-payment พรบ.ภาษีคู่ค้าออนไลน์ ธุรกรรมที่ต้อง Update

1.2) สถาบันการเงินที่ต้องเปิดเผยข้อมูลบัญชีให้กรมสรรพากร

1.3) ยอดฝากหรือรับโอนเงิน เท่าไรที่ต้องอยู่ในเงื่อนไข

1.4) เงื่อนไขธุรกรรมลักษณะเฉพาะคืออะไร

1.5) ตัวอย่างสรุปเงื่อนไข ทั้งจำนวนครั้งและมูลค่าเงิน แบบถูกส่งข้อมูล และไม่ถูกส่งข้อมูล

หัวข้อที่ 2 มาตรการบัญชีเดียวของกรมสรรพากร วิธีการตรวจของสรรพากรรูปแบบใหม่ 

     2.1) กรมสรรพากรประเมินธุรกิจกลุ่มเสี่ยงอย่างไร ก่อนออกตรวจการประเมินสถานะผู้ประกอบการในรูปแบบที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบดู

    - เกณฑ์การประเมินในกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยง

    - กลุ่มกิจการซื้อมาขายไป,กลุ่มกิจการผลิต, กลุ่มกิจการให้บริการ

 2.2) Data Analytics ระบบการวิเคราะห์พฤติกรรมความเสี่ยงของกิจการ เครื่องมือที่กรมสรรพากรใช้วิเคราะห์ผู้ประกอบการ

    2.2.1) ความเสี่ยงของธุรกิจแต่ละประเภท

    2.2.2) พฤติกรรมที่บ่งบอกว่าอาจแสดงรายได้ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง

       - การสร้างค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมาะต่อกิจการ

       - ผู้ประกอบการย่องบรายได้ไม่ครบ ค่าใช้จ่ายสูง

       - ตัวอย่างพฤติกรรมของกิจการที่สรรพากรเพ็งเล็ง

 2.3) RBA (Risk Based Audit System) เกณฑ์ประเมินความเสี่ยงผู้เสียภาษีที่กรมสรรพากรใช้

- ข้อมูลภายในที่เจ้าหน้าที่มีอยู่ในมือ (ภ.ง.ด.50/ภ.พ.30/ภาษีหัก ณ ที่จ่าย/อากรแสตมป์)

    - ข้อมูลภายนอกที่กรมสรรพากรสนับสนุนการตรวจ (ข้อมูลการต่อทะเบียนรถยนต์/ข้อมูลไฟฟ้า/ข้อมูลประปา)

 หัวข้อที่ 3 รายการบัญชีแบบไหนที่กรมสรรพากรใช้ประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ

3.1) สินทรัพย์

3.2) หนี้สินและทุน

3.3) รายได้

3.4) ค่าใช้จ่าย

 หัวข้อที่ 4 มาตรการบัญชีชุดเดียวที่จะได้สิทธิตาม พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มและโทษทางอาญา ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 

  4.1) เงื่อนไขของบุคคลที่ได้รับสิทธิบัญชีชุดเดียว

  4.2) สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม

หัวข้อที่ 5 Update ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 

5.1) ผู้เสียภาษีที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีที่ดิน

5.2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษี

5.3) อัตราภาษีในช่วง 2 ปีแรก

5.4) อัตราภาษีในช่วงเวลาปกติ (หลัง 2 ปีแรก)

5.5) ฐานที่ต้องใช้คำนวณ และวิธีการคำนวณภาษี

 5.6) ความรับผิดในเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม หากไม่ยื่นแบบฯ

 หัวข้อที่ 6 สิทธิประโยชน์ SME ลงรายจ่ายได้ 2 เท่า

ค่าจ้างทำของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และใช้เอกสารหลักฐานใดได้สิทธิ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 321 (ค่าซื้อ ค่าจ้างทำของ ค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถึง 31 ธันวาคม 2562)

จ้างผู้สูงอายุอย่างไรให้ได้สิทธิตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 290 (การจ้างงานผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หักรายจ่ายได้ 2 เท่า)

บริจาค 2 เท่าตามสิทธิพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 668 (บริจาคเงินให้กองทุนฯ หักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวน 2 เท่า)

 ลงทุนในทรัพย์สินใดบ้างให้เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้ได้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 626 พ.ศ. 2560 (นิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ หักรายจ่ายลงทุนในทรัพย์สินได้ 2 เท่า)

 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทางเลือกของ SME ที่มีสิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 627 พ.ศ. 2560 (กิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ SME ที่จัดตั้งระหว่าง 1 ตุลาคม 2558 - 31 ธันวาคม 2563 (5 รอบระยะเวลาบัญชี)

หัวข้อที่ 7 คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี 


หัวข้ออบรมสัมมนา
เตรียมความพร้อมให้นักบัญชีรุ่นใหม่รู้ทันกฎหมายภาษีสรรพากรปี 2562

และรับมือการตรวจของสรรพากรรูปแบบใหม่


ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: นักบัญชี, ภาษี, การเงิน, ผู้ประกอบการ, นักธุรกิจ, เก็บชั่วโมงบัญชี