บริษัท สัมมนาดีดี จำกัด ขอแจ้งปิดวันสงกรานต์ในวันที่ 12-15 เมษายน 2567 และจะเปิดทำการปกติในวันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 (กรณีเร่งด่วน ติดต่อได้ผ่าน LINE @seminardd)

การเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน

รหัสหลักสูตร: 62067

จำนวนคนดู 1104 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ปฏิบัติตนให้อยู่ในวินัยที่ดี และรักษามรรยาทในการสนทนากัน ขณะเจรจาข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานที่มีผู้แทนฝ่ายลูกจ้างนำเสนอ

2.เพื่อให้ผู้แทนการเจรจาข้อเรียกร้องเข้าใจ การใช้เทคนิคในการเจรจา - การนำเสนอเหตุผลเมื่อจะมีการ เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในสถานประกอบกิจการ

3.เพื่อให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้จริงต่อการไกล่เกลี่ยปัญหา – ต่อการเจรจาต่อรองข้อเรียกร้อง ของสหภาพแรงงาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ตระหนักอยู่เสมอว่าการแจ้งประนอมข้อพิพาทแรงงานหรือชุมนุมนัดหยุดงาน จะเกิดผลกระทบต่อองค์กร - ต่อนายจ้าง - หรือต่อลูกจ้างอย่างไร

หัวข้อในการอบรม

หมวด 1: การเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องสหภาพแรงงาน

1.กฎหมายคุ้มครองแรงงานคุ้มครอง นายจ้าง - คุ้มครองลูกจ้าง อย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การคุ้มครองนายจ้าง - ลูกจ้าง พร้อมคำอธิบาย

2.กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ให้สิทธินายจ้าง - ให้สิทธิ ลูกจ้าง อย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การได้รับสิทธิของนายจ้าง - การได้รับสิทธิของลูกจ้าง พร้อมคำอธิบาย

3.ปัญหา ที่ทำให้ลูกจ้างตั้งสหภาพแรงงาน มาจากอะไร..?

•ยกตัวอย่าง : ต้นเหตุมาจากหลายประการพร้อมคำอธิบาย

4.การเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน - นายจ้าง - ผู้แทนในการเจรจาฝ่ายนายจ้างจะใช้เทคนิค อย่างไร..? (ถึงจะทำให้ตกลงกันได้ในองค์กร)

•ยกตัวอย่าง : การเสนอเหตุผลและวิธีที่จะทำให้ตกลงกันได้

5. ในระหว่างเจรจาข้อเรียกร้อง นายจ้างต้องการสร้างความกดดันให้สหภาพแรงงาน ต้องดำเนินการอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : นายจ้าง ยื่นข้อเรียกร้องสวน และการกำหนดข้อเรียกร้องของนายจ้าง

6. กรณีที่นายจ้าง - ลูกจ้าง นำที่ปรึกษาของแต่ละฝ่ายเข้าเจรจาข้อเรียกร้องจะเกิดผลกระทบอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : ปัญหาจะตามมาในรูปแบบต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

7. การแจ้งประนอมข้อพิพาทแรงงานจะเกิดผลกระทบอย่างไร..? เพราะจะเป็นการเจรจากันในระบบไตรภาคี ซึ่งมีผู้แทน 3 ฝ่าย (นายจ้าง - ลูกจ้าง - ภาครัฐ)

•ยกตัวอย่าง : ผลกระทบในภาพรวมพร้อมคำอธิบาย

8. การชุมนุมนัดหยุดงาน ที่ผิดกฎหมายของสหภาพฯ เป็นการชุมนุมลักษณะใด.?

•ยกตัวอย่าง : การชุมนุมในกรณีต่างๆ

9. การปิดงานของนายจ้าง ที่ผิดกฎหมายเป็นการกระทำในลักษณะใด.?

•ยกตัวอย่าง : การกระทำในกรณีต่างๆ

10. การปิดงานหรือชุมนุมนัดหยุดงาน - นายจ้าง - ลูกจ้าง จะมีผลกระทบอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ นายจ้าง - ลูกจ้าง

11. การชุมนุมนัดหยุดงาน ที่ผิดกฎหมายของสหภาพฯ เป็นการชุมนุมลักษณะใด.?

•ยกตัวอย่าง : การชุมนุมในกรณีต่างๆ

12. ผู้นำแรงงานชักนำองค์กรสหภาพฯ ไปในทางที่ผิด จะเกิดผลกระทบต่อนายจ้างหรือต่อลูกจ้างอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การเกิดผลกระทบต่อนายจ้าง - ผลกระทบต่อลูกจ้าง

13. กรณีนายจ้างต้องการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงที่นายจ้างกับสหภาพแรงงานได้ทำขึ้นต้องดำเนินการอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : เป็นการตกลงกันภายใน จะถือปฏิบัติทำได้หรือไม่..? (ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ )

14. การปฏิบัติตนที่ดีของ - สมาชิกสหภาพแรงงาน - กรรมการสหภาพแรงงาน - กรรมการลูกจ้างต้องปฏิบัติอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การปฏิบัติตนที่มีจิตสำนึกของการเป็นลูกจ้าง

15. กฎหมายแรงงานจะคุ้มครองหรือไม่คุ้มครองสมาชิกสหภาพแรงงาน - กรรมการสหภาพแรงงาน หรือกรรมการลูกจ้าง ในกรณีใดบ้าง..?

•ยกตัวอย่าง : การคุ้มครองกรณีต่างๆและไม่คุ้มครองกรณีทำผิดวินัย

16. การ ลงโทษกรรมการลูกจ้าง ต้องขออำนาจศาลตาม (ม.52) และนายจ้างจะต้องจัดเตรียมเอกสาร - ข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อศาลอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : ลูกจ้างทำผิดวินัยกรณีเป็นผู้นำแรงงาน ( เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน )

17. นายจ้าง อนุญาตให้ สมาชิกของสหภาพ - กรรมการสหภาพฯ - กรรมการลูกจ้างไปอบรม - ไปสัมมนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ลูกจ้างเข้าประชุมไม่เต็มเวลานายจ้างจะตรวจสอบและกล่าวโทษอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : วิธีตรวจสอบ และการลงโทษที่มีผลทางกฎหมาย

18. ในกรณีที่ประธานสหภาพฯ หรือกรรมการลูกจ้าง มีพฤติกรรมดื้อ - ก่อกวน - ชอบสร้างปัญหา - เป็นนักบุกระดม เพื่อให้เกิดปัญหาในองค์กรบ่อยๆ ผู้บริหารหรือ HR. จะทำให้หยุดพฤติกรรมได้อย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การใช้เทคนิคและ วิธีที่จะทำให้ปัญหาหมดไป

19. ในระหว่างเจรจาข้อเรียกร้องสหภาพแรงงาน ในเวลาทำงานมีพนักงานจับกลุ่มกัน - ออกนอกหน่วยงาน หรือชุมนุมเพื่อกดดันนายจ้าง - ผู้บริหารหรือ HR.จะกล่าวโทษต้องดำเนินการอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การเก็บข้อมูล - การกำหนดความเสียหายที่เกิดขึ้น - การพิจารณาลงโทษทางวินัย

20. ในระหว่างเจรจาข้อเรียกร้อง ในเวลาพักหรือในเวลาเลิกงาน มีพนักงานร่วมกันชุมนุมที่หน้าโรงงานใช้เครื่องเสียงประกาศ - ด่าทอ - ชูป้ายมีเขียนข้อความด่านายจ้าง เพื่อกดดันการเจรจาข้อเรียกร้องจะมีความผิดอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : ความผิดการใช้เครื่องเสียง - การชูป้ายด่าทอ - การทิ้งงานไปชุมนุม - การชุมนุมแล้วไม่เข้าทำงาน

21. ในระหว่างเจรจาข้อเรียกร้อง พนักงานไม่ทำ OT. ในวันทำงานปกติหรือในวันหยุด เพราะมีผู้นำแรงงานแนะนำ ผู้บริหาร - HR.จะกล่าวโทษต้องดำเนินการอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การตรวจสอบข้อมูล - การกำหนดความเสียหายที่เกิดขึ้น - การพิจารณาลงโทษทางวินัย

22. กรณีสหภาพแรงงานชุมนุมกันหน้าโรงงานและ ปิดถนน ไม่ให้ รถเข้า - ออก นายจ้างส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้จะเอาผิดสหภาพต้องดำเนินการอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การตรวจสอบความเสียหาย - การพิจารณาเพื่อกำหนดลงโทษ

23. กรณีสหภาพแรงงานเข้าร้องทุกข์ต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด หรือเขตพื้นที่เนื่องจากเกิดข้อพิพาทแรงงานเรื่องสภาพการจ้าง ผู้บริหาร - HR. จ้องดำเดินการอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การจัดเตรียมเอกสาร - การหาข้อมูลเพื่อนำเสนอในการไกล่เกลี่ยปัญหา

24. เมื่อเกิดปัญหาสมาชิกสหภาพแรงงาน - กรรมการสหภาพฯ เข้าร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์

  (ครส.) ที่กระทรวงแรงงาน นายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง : การจัดเตรียมเอกสาร - การหาข้อมูลเพื่อนำเสนอในการต่อสู้คดี

25. ในกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ (ครส.) ต้องดำเนินการอย่างไร.?

•ยกตัวอย่าง : ขั้นตอนที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

หมวด 2: คำพิพากษาฎีกา ที่ตัดสินคดี - กรรมการสหภาพฯ - กรรมการลูกจ้าง

26. ประธานสหภาพแรงงานซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง ลางาน 3วันเพื่อไปแก้ปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้างของบริษัทฯ มีจุอ่อนตรงไหน....? ทำไม....? นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

27. ประธานฯ - กรรมการสหภาพฯ มีสิทธิลางาน เพื่อทำกิจกรรมของสหภาพแรงงาน ตาม พรบ. 18 ม.120 มีกรณีใดบ้าง และ บางกิจกรรมลูกจ้างชอบลาโดยไม่มีสิทธิลา มีกรณีใดบ้า’..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

28. ศาลจะอนุญาตให้ นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตาม มาตรา 52ได้ พิจารณาจากอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

29. สมาชิกของสหภาพแรงงานฯ เมื่อเกิดปัญหาทำไม.. ? มีสิทธิ มอบอำนาจให้สหภาพแรงงานดำเดินการแทนได้..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

30 . ข้อตกลงอันเกิดจาก การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ที่นายจ้างให้ กรณีนายจ้าง หรือลูกจ้างร้องขอ

     ให้มีการเปลี่ยนแปลง ต้องทำอย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

31. นายจ้างมีคำสั่งย้ายกรรมการสหภาพฯ ต่อมาได้มีความยื่นข้อเรียกร้อง ของสหภาพฯเพื่อขอเปลี่ยนแปลง สภาพการจ้าง ลูกจ้างไม่ไปตามสำสั่งย้ายนายจ้างออกใบเตือน ระหว่างยื่นข้อเรียกร้องทำได้หรือไม่เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

32. พนักงาน 190 คน พละงาน ประท้วงโดยไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ – ไม่มีการลงชื่อ – ไม่มีการลงรายมือชื่อของลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ตาม พรบ.18 มาตรา.13 ลูกจ้างจะมีความผิดอะไรบ้างฯ

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

33. ลูกจ้างที่เป็นหัวหน้างาน เป็นสมาชิกของ สหภาพแรงงานไม่ได้เพราะอะไร..? มีองค์ประกอบทางกฎหมายย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

34 .กรรมการผู้มีอำนาจ และ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ทำไม..? เป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้...? เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

35.นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องแจ้งคณะกรรมหารสหภาพฯ หรือไม่ ..? เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

36. เลิกจ้างกรรมการสหภาพฯ ต้องขออำนาจศาลหรือไม่...? เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

37. นายจ้างย้ายกรรมการลูกจ้าง ต้องขออำนาจศาลหรือไม่..? เพราะอะไร

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

38. นายจ้างขออำนาจศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตาม มาตรา 52 เมื่อศาลอนุญาตแล้ว นายจ้างออกหนังสือ

เลิกจ้างได้เลยหรือไม่ เพราะคดียังไม่สิ้นสุด เพราะอะไร

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบา1ย

39. มีมติของลูกข้างในบริษัทฯ เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ปลดกรรมการลูกจ้าง ออกจากตำแหน่ง นายจ้างมีโรงงาน และ สาขา มีพนักงานอยู่สองแห่ง ต้องนับจำนวนของพนักงานอย่างไร..? ถึงจะทำได้ตามกฎหมาย

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

40 .สิทธิในการ นัดชุมนุม - นัดหยุดงาน ของลูกจ้าง ในการยื่นข้อเรียกร้องจะเกิดขึ้นเมือใด ..?

•มีคำพิพากษาฎีกา ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

•ถาม - ตอบ - แนะนำ

•ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - ผู้บริหาร - ผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องสหภาพแรงงาน

•ให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมสัมมนา หลังการสัมมนา “ ฟรี ” ตลอดกาลไม่มีค่าใช้จ่าย


วิทยากร
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: การเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน, สหภาพแรงงาน, ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน, การเจรจาต่อรองของสหภาพแรงงาน