การสร้างแรงงานสัมพันธ์เพื่อการบริหารงานในองค์กร

รหัสหลักสูตร: 63384

จำนวนคนดู 1069 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
หลักการและเหตุผล

พนักงานทุกระดับ คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการที่จะให้พนักงานขององค์การช่วยกันทำงานให้ได้ตามเป้าหมายนั้น จะต้องพร้อมใจกันที่จะทำงาน เสียสละ ทุ่มเท เพื่อองค์การอย่างเพียงพอ

การที่จะทำให้พนักงานขององค์การเห็นความสำคัญของตนเองที่มีต่อความอยู่รอดขององค์กร จำเป็นจะต้องสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรเหล่านั้นรักองค์กร และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องช่วยกันเสริมสร้างให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นในองค์กร


วัตถุประสงค์

   1. เพื่อให้พนักงานทุกระดับได้ตระหนักอยู่เสมอว่า องค์กรเป็นสถานที่ที่คนหมู่มากอยู่รวมกัน ทุกคนต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน สร้างรอยยิ้มให้กัน และสร้างแรงงานสัมพันธ์อันดีงามให้กับองค์กรเสมอ

   2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนานำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้จริงและนำการใช้เทคนิค โดยการนำหลักการสร้างแรงงานสัมพันธ์ไปใช้ในการไกล่เกลี่ยปัญหา – การสื่อสารเพื่อลดการขัดแย้ง หรือลดปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในองค์กร หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรให้หมดไป

   3. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้พนักงานรักองค์กร และอยู่กับองค์กรได้นานๆ - เข้าใจการมีแรงงานสัมพันธ์ - รู้สึก - รู้ถึงคุณค่า และคุณประโยชน์ของการมีแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรที่ดีมีประโยชน์ต่อ - ลูกจ้าง - นายจ้าง และชื่อเสียงของนายจ้างอย่างไร

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้ออบรม

หมวด 1 แนวทางการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรและข้อควรปฏิบัติ

1. มีแนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ

2. ข้อควรปฏิบัติเพื่อการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี

3. บทบาทของนายจ้างและผู้บริหาร 9 ประการ

4. บทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการที่พึงปฏิบัติ 9 ประการ

5. ข้อควรละเว้นเพื่อการสร้างแรงงานสัมพันธ์ให้เกิดผลสำเร็จ 9 ประการ

หมวด 2 องค์ประกอบในการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี

1. การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

2. การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

3. การปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ ที่ลูกจ้างได้รับสิทธิ

4. การให้สวัสดิการต่างๆ ตามข้อบังคับฯหรือตามที่นายจ้างกำหนด

5. การให้สวัสดิการต่างๆ ตามที่นายจ้าง-ลูกจ้างได้ตกลงกัน

6. การให้ความร่วมมือของนายจ้างและผู้บริหารระดับจัดการ

7. การให้ความร่วมของพนักงานระดับปฏิบัติการ

8. การไว้วางใจและการสร้างความเชื่อมั่น

หมวด 3 การจัดตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และการกำหนดอำนาจ - หน้าที่

1. ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง-ผู้บริหารระดับจัดการ

2. ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง-พนักงานระดับปฏิบัติการ

3. การประชุมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์

4. การมอบหมายงานกรรมการเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

5. การมอบหมายงานเพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานในภาพรวมที่เกิดขึ้นในองค์กร

6. การมอบหมายงานเพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้น(กรณีพนักงานทำผิดวินัยในการทำงาน)

7. การมอบหมายงานเพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์กับพนักงานในองค์กร

หมวด 4 การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ดี

1. กรณีร่วมกันทำกิจกรรมภายในองค์กร

     - งานพิธีสงฆ์เพื่อทำบุญองค์กร-กีฬาสีภายใน-กิจกรรมต่างๆ

2. กรณีร่วมกันทำกิจกรรมภายนอกองค์กร

     - งานกีฬาต่างๆ-ด้านสาธารณประโยชน์-ด้านการศาสนา หรือหน่วยงานภาครัฐ

3. กรณีร่วมกันดำเนินงานในงานสังสรรค์ต่างๆ ตามที่องค์กรกำหนดหรือจัดขึ้น

     - งานเลี้ยงประจำแผนก-การจัดงานเลี้ยงปีใหม่-การนำเที่ยวประจำปี

หมวด 5 การนำชื่อเสียงด้านแรงงานสัมพันธ์ที่ดีขององค์กรส่งไปสู่หน่วยงานภาครัฐ

1. การจัดเตรียมและตรวจสอบเอกสารต่างๆ

2. การนำส่งเข้าประกวดองค์กรที่มีแรงงานสัมพันธ์ดีเด่นระดับจังหวัด

3. การนำส่งเข้าประกวดองค์กรที่มีแรงงานสัมพันธ์ดีเด่นระดับประเทศ(ที่กระทรวงแรงงาน)

4. สิ่งที่ได้รับจากการส่งเข้าประกวด-ระดับจังหวัด-ระดับประเทศ

5. ความภาคภูมิใจต่อเจ้าของกิจการ-ผู้บริหารระดับจัดการ

6. ระดับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์

7. พนักงานระดับปฏิบัติการ

หมวด 6 ผลที่จะได้รับจากการสร้างองค์กรให้เป็นสถานประกอบกิจการที่มีแรงงานสัมพันธ์ดีเด่น

1. สิ่งที่นายจ้างจะได้รับ (ในภาพรวม)

2. พนักงานระดับบริหาร-ระดับจัดการจะได้รับ

3. พนักงานระดับปฏิบัติการจะได้รับ

4. ผลที่จะได้รับจากกระบวนการผลิตสินค้าในองค์กร

5. ผลที่จะได้รับต่อเพื่อนร่วมธุรกิจทางการค้าของนายจ้าง

6. มุมมองระหว่างคู่แข่งทางการค้าของนายจ้าง

7. มุมมองของหน่วยงานภาครัฐกับองค์กรของนายจ้าง

8. มุมมองของบุคคลภายนอกที่มีความคาดหวังที่จะเข้ามาทำงานในองค์กร

· ถาม - ตอบ - แนะนำ

· ผู้เข้าร่วมสัมมนา - เจ้าของกิจการ - ผู้บริหาร- ผู้แทนลูกจ้าง


ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแรงงาน “ ฟรี ” ตลอดกาล ไม่มีค่าใช้จ่าย


วิธีการฝึกอบรม

เน้นการบรรยาย การถาม-ตอบ ยกตัวอย่างกรณีศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และสามารถนำกลับไปปฏิบัติหรือปรับปรุงต่อยอดได้เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วิทยากร
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: Knctrainingcenter