Basic Requirement  /  ความต้องการพื้นฐาน
พัฒนาธุรกิจ SME

จำนวนเข้าชม 2055 ครั้ง

Basic Requirement / ความต้องการพื้นฐาน

Sponsored
หลักสูตร เทคนิคการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Material Requirements Planning )

หลักการและเหตุผล     MRP (Material Requirements Planning) คือ แผนหร...

ดูรายละเอียด
การจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้ายุคใหม่ (Modern Inventory & Warehouse Management)

หลักการและเหตุผล     การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) สินค้าคงคลังมีวัตถุประสง...

ดูรายละเอียด


Basic Requirement  /  ความต้องการพื้นฐาน 
มันคือสิ่งจำเป็น ที่เราจะต้องตอบสนองให้ได้

เปรียบได้กับการสร้าง “ รากฐาน”  ของ ทุกสิ่ง ของทุกอย่าง

เพราะทุกสิ่งที่จะถูกสร้างขึ้นบนโลกนี้ เพื่อจะอยู่ให้ได้ คงทน และยาวนาน ต้องมี รากฐาน ที่มั่นคง !

แม้แต่ Pyramid ก็ได้ใช้หลักการนี้ ในการสร้างมันขึ้นมา ทำให้มันอยู่ได้อย่างคงทนยาวนานได้ จนมาถึงทุกวันนี้  

และนี้คือ เรื่องที่ผมจะเขียนเกี่ยวกับ Basic Requirement  ที่ผมเคยเกรินไว้ก่อนหน้านี้มานานแล้ว แต่ไม่ได้เขียนออกสะที ก็ได้เวลาเขียนสะที

เรามาทำความเข้าใจถึง Basic Requirement กันหน่อยครับ ขอยกตัวอย่างสัก 4 Case.

Case 1 : คนเราจะมีสุขภาพแข็งแรงได้ด้วยการออกกำลังกาย แต่ถ้าคุณไม่ได้รับประทานอาหารที่ครบ 5 หมู่ ก็เป็นไปไม่ได้
(จับกังออกแรงมากมายทั้งวัน แต่กลับไม่มีกล้ามให้เราเห็น เหมือนนักเพาะกาย เพราะโภชนาการที่ต่างกัน) 

Case 2 : คุณจะสร้างบ้านโดยไม่ต้องมีเสาเข็ม หรือฐานรากก็ได้ แต่มันก็จะอยู่ได้ไม่นาน 
(ถ้าคิดและทำแบบง่ายๆ ก็เหมือนว่า เรากำลังจะสร้างมันแบบลวกๆ แสดงว่า ไม่ได้ตั้งใจที่จะให้มันอยู่ไปนานๆ)

Case 3 : ภัตตาคารริมทะเลที่มีท่าเรือเป็นของตัวเอง และมีบรรยากาศที่เรียบสงบ เป็นจุดขาย แน่นอนสามารถจะเสนอขายในราคาแพงๆได้ แต่ถ้าละเลยเรื่อง ความสะอาด  ก็ไปต่อไม่ได้เหมือนกันครับ 
(ในธุรกิจร้านอาหาร และภัตตาคาร อยากเสนอขายให้ได้ราคาแพงๆ ถ้าคิดอาหารอร่อย และสถานที่ลงทุนไว้อย่างสวยงาม แล้วจะไปได้ดี นั้นไม่ใช่คำตอบ)

Case 4 : ศูนย์บริการ หรือ อู่ซ่อมต่างๆ ที่มีสถานที่และเครื่องมือพร้อม แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ เพราะลูกค้าไม่พอใจในบริการ เช่น ซ่อมแล้วไม่จบ ต้องกลับมาแก้ไข 

(เจ้าของรถทุกคน รักรถของพวกเขา ในฐานะผู้ให้บริการ คุณต้องรู้ถึงวิธีการในการซ่อมบำรุงเป็นอย่างดี และทำให้ทุกการบริการบรรลุเป้าหมายของลูกค้า ถ้าทำไม่ได้ลูกค้า ก็จะหายไปเรื่อยๆ)


ทั้ง 5 case ที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องที่ทุกคนพอจะเข้าใจได้ว่า  ถ้าเราไม่ทำเรื่องพื้นฐานให้ดีก่อน เราก็ไม่สามารถที่จะทำให้ ความคิด หรือ กระบวนการ หรือ แผนการ อะไรก็แล้วแต่ .ให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างที่ต้องการ
 (อาจจะทำไปได้ แต่ก็ไปแบบไม่เต็มร้อย และจบแบบที่คุณคาดหวัง โดยยอมรับในผลลัพท์นั้น พูดง่ายๆ ว่าสุดท้าย เราก็จะต้องลดมาตรฐานลงมา เพราะไปต่อไม่ได้)

จากตัวอย่างทั้ง 5 case น่าจะทำให้เราเข้าใจแล้วว่า ถ้าจะเริ่มต้น หรือพัฒนาอะไรก็ตาม ขอให้มาพิจารณา พื้นฐาน หรือ รากฐาน ที่จะต้องทำให้ได้ดีก่อน และเมื่อทำได้ดีแล้ว การที่จะพัฒนาต่อไปในขั้นสูงขึ้น มันก็จะง่ายและเป็นไปได้

ที่นี่มาต่อกันว่า ในขั้นสูงขึ้น  มันคืออะไร ?  

(จากการยกตัวอย่างข้างบนนั้น Case ที่ 1 และ 2 เป็นขั้นของการตอบสนองของ Physiological needs ส่วน Case ที่ 3,4 เป็นขั้นการตอบสนองของ Safety need ตามขั้นการตอบสนองใน Maslow's hierarchy of need)

แต่ถ้าจะตอบสนองให้ได้สูงกว่านั้น มันก็ก้าวไปสู่ กระบวนการสร้าง Brand แล้ว


จากเหตุผลนี้ จะทำให้เห็นว่า Basic Requirement นี้ เป็นจุดสำคัญ และเป็นพื้นฐานของ กระบวนการสร้าง Brand  หรือ Branding !   และจากการที่ผมก็เคยได้มีประสบการณ์ในการทำ Brand ร่วมกับ Creative Director  มานาน  ก็ขอแนะนำเลยว่า

ถ้าคุณจะเริ่มต้นทำ Brand  คุณจะละเลย การสร้างและตอบสนองให้กับ Basic Requirement  ไม่ได้อย่างแน่นอน !

จากทั้ง  4 Case ที่กล่าวมาแล้ว ก็น่าจะทำให้คุณรู้แล้วว่า ถ้าไม่เริ่มด้วย พื้นฐานที่ถูกต้อง คุณจะต่อยอดไปในขั้นสูงๆไม่ได้เลย 

แล้ว Brand คือ อะไรล่ะ !

แน่นอน ถ้าคุณอยากจะทำ brand คุณต้องเข้าใจมันก่อนว่า Brand หมายถึงอะไร ?

ถ้ายังเข้าใจไม่ถูกต้อง คุณจะสร้างมันได้อย่างไร !

เอาไว้แค่นี้ก่อนครับ เรื่องเข้าใจความหมายของ  Brand มันไม่ยาก แต่การสร้างนี้สิยากกว่าเยอะเลย  (Branding or Brand building)

หมายเหตุ :  Branding  เดี่ยวนี้ ต้องลงลึกในแต่ละวัตถุประสงค์ โดยมีการทำ แบรนด์สินค้า (Product Branding) / แบรนด์องค์กร (Corporate Branding)  / แบรนด์ผู้นำองค์กร  (CEO Branding)  ทั้งนี้ขึ้นสถานการณ์และความต้องการของแต่ละองค์กร

บทความโดย อ.โอ่ง  (อนันต์ วชิราวุฒิชัย) 

เคล็ดลับโค้ชฝากบอก ดูเคล็ดลับทั้งหมด »

วิทยากรด้าน พัฒนาธุรกิจ SME ดูวิทยากรทั้งหมด »