เทคนิคการบริหารงาน HR ที่กล่าวโทษ / เลิกจ้าง / ต่อสู้ให้ชนะคดีในศาล

รหัสหลักสูตร: 57100

จำนวนคนดู 1128 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
การประกอบธุรกิจของบริษัทเอกชนนายจ้างตระหนักอยู่เสมอว่า จะทำทุกวิธีทางที่จะผลิตสินค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงกับลูกค้า การผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า ต้องใช้การลงทุน การจ้างแรงงานจำนวนมาก การอยู่ร่วมกันของพนักงานในจำนวนมากๆ ก็มักจะหนีไม่พ้นในเรื่องทำผิดวินัยในการทำงาน ซึ่งจะต้องมีการกล่าวโทษทางวินัย หรือการเกิดข้อพิพาทแรงงาน บางกรณีความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับในการทำงานก็จะมีความผิดถึงกับถูกเลิกจ้าง

      ดังนั้นผู้บริหารในองค์กรสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ในข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติต่อการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจในหลักการไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นให้ยุติลงภายในองค์กร และการเรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการบริหารงาน

    2. เพื่อให้ทราบวิธีหรือหลักที่ถูกต้องในการกล่าวโทษทางวินัยของพนักงานและทำให้ไม่เกิดปัญหาขึ้นอีก

    3. เพื่อเรียนรู้และทราบขั้นตอนวิธีการทำงานของผู้ประนอมคดีให้ปัญหานั้นยุติลง โดยไม่ต้องต่อสู้คดีกันในชั้นการต่อสู้คดี กระบวนการที่จะทำให้ชนะคดี หรือแพ้คดีก็จะได้ทราบและเพิ่มประสบการณ์

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้ออบรม

1. ประมวลจริยธรรม และการดำรงตน ให้อยู่ในวิชาชีพของผู้บริหารงาน HR ที่ดีต้องปฏิบัติอย่างไร?

· ยกตัวอย่างการปฏิบัติตน 10 ประการ 

2. การทำสัญญาจ้างแรงงานทดลองงาน /สัญญาจ้างแรงงานปลายปิด / สัญญาจ้างแรงงานปลายเปิดที่ดี เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อองค์กรภายหลังต้องเขียนอย่างไร? 

· ยกตัวอย่างประกอบการทำสัญญาจ้างต่างๆ 

3. การเขียนระเบียบปฏิบัติผู้บริหารหรือ HR เขียนให้ดี เขียนให้ควบคุม ให้สอดคล้องกับข้อบังคับในการทำงาน และข้อกฎหมาย 

· การลางาน / การอนุมัติการลา / การจ่ายสวัสดิการต่างๆ / ระเบียบการจ่ายโบนัส / การเปลี่ยนแปลงวันหยุด 

4. การเขียนสัญญา เพื่อให้ผู้ทำผิดชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำ 

· ความเสียหายจากการทำงาน / ยักยอกทรัพย์ / ทำผิดสัญญาจ้าง / กรณีออกจากงานจะไม่เรียกร้องสิทธิ์ใดๆ 

5. การเขียนคำกล่าวโทษ หรือออกหนังสือเลิกจ้าง เขียนให้ควบคุมความผิดต้องเขียนอย่างไร เพราะมีผลต่อการผิดซ้ำคำเตือน หรือการต่อสู้คดีในศาล 

· ยกตัวอย่างความผิดกรณีต่างๆ 

6. ตำแหน่งงานใดที่เรียกรับเงินประกันการทำงาน / กรณีคืนเงินประกัน/การรับผิดของผู้ค้ำประกัน 

7. การเขียนระเบียบเกษียณก่อนอายุตามข้อบังคับฯ / การจ้างผู้เกษียณแล้วจ้างต่อ ต้องเขียนอย่างไร 

8. ปัญหาที่ทำให้ลูกจ้างทำผิดข้อบังคับบ่อยๆ มาจากอะไร? 

9. สัญญาที่นายจ้างทำขึ้นขัดต่อกฎหมาย เป็นโมฆะ 

      l ยกตัวอย่าง 5 กรณี 

10. เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นในองค์กร กรณีเป็นรายบุคคล หรือชุมนุมในภาพรวมเพื่อกดดันนายจ้าง ผู้บริหารหรือ HR จะใช้เทคนิคอย่างไร ที่จะทำให้ปัญหายุติลง 

· ยกตัวอย่างประกอบ 10 กรณี 

11. การพิจารณาย้ายตำแหน่งงาน พนักงานที่ประพฤติตนดื่น หรือสร้างปัญหาเป็นอาจิณ (ย้ายไปอยู่ที่ที่ควรจะอยู่) 

· ประเด็นที่จะต้องพิจารณากรณีต่างๆ ยกตัวอย่างประกอบ 

12. ลักษณะทำผิดข้อบังคับในการทำงาน / ผิดวินัยในการทำงาน กรณีต่างๆ ที่เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และเลิกจ้างไม่ได้ โดยต้องออกเป็นหนังสือเตือน 

· ยกตัวอย่าง 10 กรณี 

13. ทำไม...? นายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่ายเป็น หมื่น เป็น แสน หรือจ่ายตามที่ลูกจ้างฟ้อง (ทั้งที่ลูกจ้างทำผิด) 

· ยกตัวอย่างการเลิกจ้าง 9 กรณี 

14. เลิกจ้างอย่างไร...? ไม่ให้เกิดปัญหาลูกจ้างฟ้องศาลภายหลัง 

· สิ่งที่จะต้องพิจารณาก่อนเลิกจ้าง 10 ประการ 

15. นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหาย ทำไม...? ลูกจ้างต้องจ่าย ทั้งที่ (ศักยภาพคือลูกจ้าง) 

· ยกตัวอย่างการรับผิดของลูกจ้าง 9 กรณี 

· ยกตัวอย่างการพิจารณาจ่ายค่าเสียหาย ตามแนวปฏิบัติของศาล 

16. ผู้ฟ้องมีสิทธิ์เรียกเงินดอกเบี้ย และอายุความการฟ้อง 

· ร้อยละ 7.5 ต่อปี และร้อยละ 15 ต่อปี 

· อายุความ 2 ปี และอายุความ 10 ปี 

17. สวัสดิการที่เป็นค่าจ้างและไม่เป็นค่าจ้าง มีอะไรบ้าง? 

· ยกตัวอย่างประกอบ 

18. กรณีลูกจ้างร้องทุกข์ต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้บริหารหรือ HR จะใช้เทคนิคอย่างไร ให้ปัญหายุติลง 

· การให้เหตุผลต่อปัญหาที่เกิด / การให้ข้อมูลเพื่อการไกล่เกลี่ยปัญหา / การเสนอเงื่อนไขเพื่อให้คู่กรณีพิจารณา / การฟ้องศาลเพื่อเพิกถอดคำสั่งผู้ตรวจแรงงาน 

19. กรณีมีลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน นายจ้าง – ผู้บริหาร – HR จะต่อสู้ให้ชนะคดี ต้องเตรียมหมัดเด็ด อย่างไร? 

· กระบวนการต่อสู้คดีในศาล ต้องมีความพร้อม 14 ประการ 

20. คำพิพากษาฎีกา 70 คดี ที่ผู้บริหารงาน HR ควรรู้ มีคดีอะไรบ้าง 

· ถาม – ตอบ – แนะนำ 

· ให้คำแนะนำ – ให้คำปรึกษา ผู้เข้าร่วมสัมมนา หลังการสัมมนาได้ทุกวัน ตลอดกาล (ไม่มีค่าใช่จ่าย)

วิทยากร
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: Knctrainingcenter, HR, เลิกจ้าง