หลักสูตร นโยบายสินเชื่อและการเจรจาติดตามหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ (Credit Policy and Effective Debt Collection Negotiations)

รหัสหลักสูตร: 60110

จำนวนคนดู 1400 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
หลักการและเหตุผล

 “นโยบายสินเชื่อ” เป็นแนวทางที่บริษัทฯเป็นผู้กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการพิจารณาให้สินเชื่อ และดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุนในบัญชีลูกหนี้ต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงในการให้เครดิตแก่ลูกค้า และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า หากบัญชีลูกหนี้มีจำนวนมากก็จะทำให้เงินจมในบัญชีลูกหนี้มาก หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา อาจจะส่งผลถึงเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจไม่เพียงพอหรือธุรกิจอาจจะขาดสภาพคล่องได้ นโยบายสินเชื่อจึงมีผลต่อยอดขาย, กำไร และทรัพย์สินของธุรกิจ นโยบายสินเชื่อที่ดีย่อมส่งผลให้กำไรของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นในระยะยาว ส่วนระยะสั้นจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น สามารถเก็บเงินได้ ตามกำหนด และช่วยลดค่าใช้จ่าย ในการติดตามหนี้

ดังนั้นต้องมีความเข้าใจและสามารถนำระเบียบเงื่อนไขของการซื้อขาย, การค้ำประกันมาใช้เพื่อให้เกิดการควบคุมสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพด้วย ส่วนการติดตามหนี้ต้องใช้ทั้งทักษะและประสบการณ์ สิ่งที่พบอยู่เสมอ คือ ลูกค้าชอบหาเหตุมาอ้างและไม่ยอมชำระหนี้หรือพบตัวลูกค้ายาก(ชอบหลบหน้า)ในบางกรณีอาจจะใช้โทรศัพท์ติดต่อลูกค้า ปัญหาที่พบบ่อยคือ ลูกค้าไม่ยอมรับโทรศัพท์หรือโชคดีอาจจะติดต่อลูกค้าได้แต่จะลูกค้าบ่ายเบี่ยงการชำระหนี้ เมื่อพบปัญหาเหล่าต้องหาวิธีรับมือและแก้ไขปัญหา“ทำอย่างไรให้ลูกหนี้ยอมเจรจาและยอมชำระหนี้” การใช้คำพูดและน้ำเสียงเพื่อจูงใจ หรือ โน้มน้าวให้ลูกค้ายอมชำระหนี้ตามเงื่อนไข โดยยังมีความสัมพันธ์ อันดีต่อกัน เรียกว่า”ได้ทั้งเงิน และได้ทั้งใจ ลูกค้า”อีกด้วย

หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบทราบแนวทางในการบริหารสินเชื่อและวิธีการวางตัวหรือการใช้คำพูดกับลูกค้าในแต่ละสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจริง และทราบวิธีรับมือลูกค้าต้องทำอย่างไร โดยนำทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation Skills) มาประยุกต์และใช้กับลูกค้าในแต่ละสไตล์ หลักเกณฑ์ต่างๆที่นำมาใช้ในการสัมมนาครั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะสามารถนำจุดแข็งไปใช้ได้และขจัดข้อโต้แย้งจากลูกค้าได้โดยการนำทักษะในการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ไขสถาการณ์และไม่เปิดช่องว่างหรือจุดอ่อนให้ลูกค้านำมาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อบ่ายเบี่ยงการชำระหนี้ในภายหลัง และเรื่องกกมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.การตามหนี้ที่เป็นธรรรมซึ่งประกาศในราชกฤษจานุเบกษา แล้วเมื่อ6มี.ค.15มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2558 เป็นต้นมา หากธุรกิจไม่ตั้งรับหรือฝึกอบรมพนักงานในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ทราบ พ.ร.บ.การตามหนี้ที่เป็นธรรรม อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในภายหลังได้ ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงมีความสำคัญ โดยผลลัพธ์สุดท้ายของการฝึกอบรม ธุรกิจจะต้องมีผลมีกำไร และมีสภาพคล่อง หนี้เสียลดลง ปัญหาหนี้สูญไม่เกิดขึ้น



วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้การบริหารสินเชื่อและการจัดการบัญชีลูกหนี้ได้ถูกวิธีและมีผลงานการจัดเก็บบัญชีลูกหนี้ได้มากขึ้น

2.เพื่อพัฒนาบุคคลากร ให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำทักษะจากการฝึกอบรมมาใช้ให้เกิดประโยขน์สูงสุด

3.เพื่อลดเวลาและลดต้นทุนในการติดตามหนี้ให้น้อยลง



ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทราบกำหนดแนวทางในการให้สินเชื่อ เพื่อลดความเสี่ยงและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานของธุรกิจ

2.ทราบขั้นตอนในการติดตามหนี้และทราบทักษะการเจรจาเพื่อนำมาใช้ในการเจรจากับลูกค้า

3.สามารถนำทักษะจากการฝึกอบรมมาใช้ควบคุมดูแลงานด้านสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น


หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อสัมมนา

1.กฏหมายที่ต้องรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้

  หนี้ที่บังคับได้ และหนี้ที่บังคับไม่ได้

  ความผิด”โกงเจ้าหนี้”มาตรา 350

  โครงสร้างการติดตามหนี้ฯ

  พ.ร.บ.การติดตามหนี้ที่เป็นธรรม

2.นโยบายสินเชื่อและเครดิตมีความสำคัญกับธุรกิจอย่างไร?

(Why Credit Policy is so Crucial for us?)

วงจรธุรกิจ Business Cycle

การบริหารบัญชีลูกหนี้ (Management of Accounts Receivable)

A.มาตรฐานสินเชื่อ (Credit Standard)

 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเครดิตลูกค้า (5’C)

 - การจัดระดับของลูกค้าและวงเงินสินเชื่อ

 - การผู้มีอำนาจอนุมัติวงเงินสินเชื่อ

 - การใช้ประโยชน์ข้อมูลของลูกค้ามาพิจารณาสินเชื่อ

 - การขอเปิดวงเงินสินเชื่อ

B. การกำหนดเงื่อนไขในการชำระเงิน (Term of payment)

C. การบริหารการเก็บเงิน (Collection Management )

   ขบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บหนี้

 ตัวอย่าง จดหมายทวงหนี้-ฉบับที่ 1, ฉบับที่2 และ ฉบับที่3

3.วิเคราะห์หาสาเหตุของการจ่ายเงินล่าช้าของลูกหนี้ และ แนวทางแก้ไข

4.พฤติกรรมของลูกหนี้ที่จ่ายเงินล่าช้า 5 ประเภท และแนวทางแก้ไข :-

  ขอเลื่อนนัดการจ่ายเงิน ผลัดผ่อนการชำระหนี้

          ชอบหลบหน้า  หนีปัญหา

           ชอบมีข้ออ้าง บ่ายเบี่ยงการชำระหนี้

           ชอบยื้อ (เบี้ยวไม่จ่าย) ท้าให้ฟ้อง

           เช็คคืน สม่ำเสมอ

  ( หลักเกณฑ์ความผิด “ เช็คคืน” > เช็คเด้งอาจติดคุกได้ )

5.การควบคุมสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Credit Control)

6.BLACK-LIST คืออะไร?

7.CHECKLIST REMINDING AND COLLECTION

8. กลยุทธ์การเจรจาเพื่อติดตามหนี้

   * อำนาจในการต่อรอง (อยู่ที่ไหน? อยู่ที่ใคร?)

         * เวทีการเจรจาต่อรอง

         * การเตรียมพร้อมก่อนเจรจาหนี้

   * ทักษะในการเจรจาหนี้ 8 ขั้นตอน ( Negotiations Skill )

9. สรุปคำถามและคำตอบ


ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: เร่งรัดหนี้สิน, ติดตามหนี้, ทวงหนี้, เจรจาหนี้สิน, พนักงานสินเชื่อ, Policy