หลักสูตร ROOT CAUSE ANALYSIS (RCA) การวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา

รหัสหลักสูตร: 60124

จำนวนคนดู 3435 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
หลักการและเหตุผล (About the Event)

จุดอ่อนของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องก็คือไม่สามารถวิเคราะห์ Root Cause หรือรากเหง้าของปัญหาได้

ส่วนมากจะวิเคราะห์กันเพียงระดับอาการ (Symptom) ของปัญหา ถ้าหากเราไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ ก็จะส่งผลให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข และปัญหาเดิมๆจะกลับมาเกิดครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจปัญหาที่รากเหง้า ดังนั้นการคิดการสร้างมาตรการป้องกันแก้ไขจึงไม่เกิดขึ้น การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงล้มเหลว วงจร PDCA (Plan-Do-Check-Analysis) จึงหมุนไม่ได้เพราะไปชะงักตรง Analysis ดังนั้น Plan หรือการวางแผนสร้างมาตรการปับปรุงแก้ไขจึงทำไม่ได้

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คือการที่ผู้บริหารระดับสูง มีความคิดริเริ่มในการนำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องPDCA มาใช้ เพื่อให้ประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้าหรือบริการได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแปลงนโยบายไปให้ผู้บริหารระดับกลางทำแผนปฏิบัติ และพนักงานระดับปฏิบัติการทำตามแผน แต่ถ้าหากผู้บริหารระดับกลาง และผู้ปฏิบัติไม่มีขีดความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึก จึงแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนไม่ได้

Root cause analysis training course เป็นการศึกษาและทำ workshop ภาคปฏิบัติในการเพิ่มขีดความสามารถผู้บริหารระดับกลาง และผู้ปฏิบัติให้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การสัมมนาในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้เรียนทั้งหลักทฤษฏีและภาคปฏิบัติ จนสามารถนำ Root Cause Analysis ไปใช้แก้ปัญหาได้ทันทีหลังจากการฝึกอบรมเสร็จ

วัตถุประสงค์

•เพื่อให้องค์กรผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เรียนรู้กระบวนการสร้างทีม Kaizen พัฒนาความสามารถพนักงานระดับปฏิบัติมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหาทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมีความยั่งยืน

•เป็นการสร้างวิธีแปลงนโยบายจากผู้บริหารองค์กร หรือผู้บริหารระดับกลางไปสู่ผู้ปฏิบัติอย่างมีระบบ โดยพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน วิศวกร หัวหน้างาน ให้สามารถแก้ปัญหาเองได้

•เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนารู้ว่าจะเริ่มต้นทำการวิเคราะห์ Root cause analysis เมื่อไร ที่จุดไหน ทำอย่างไร

•เพื่อเป็นการกระจายความสามารถจากผู้บริหารระดับสูงไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง และสู่ผู้ปฏิบัติ

•ลดอัตราของเสีย ลดอัตราเครื่องเสีย เพิ่มคุณภาพงาน

•เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

•องค์กรเพิ่มระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

•องค์กรสามารถขยายธุรกิจเพิ่มผลกำไร




สิ่งที่ท่านจะได้เรียนรู้

•ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับปรัชญาการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแบบ P-D-C-A ของ ดร. Edward Deming และ Kaizen ของ Masaaki Imai และ เครื่องมือ Root cause analysis หัวใจของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

•จะเริ่มต้น สร้างทีม RCA อย่างไร ใครควรจะเป็นสมาชิก

•ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root cause analysis

•ได้เรียนรู้เรื่อง เครื่องมือในการเก็บข้อมูล Defects โดย Pareto diagram, Top 3 defects, Gemba

•ได้เรียนรู้เรื่อง เครื่องมือ RCA เช่น Brainstorming method, Fishbone diagram, Fault tree analysis, why-why analysis, How-How analysis, Action Plan และ follow up template

•ได้เรียนรู้เรื่อง การปรับเปลี่ยน Mindset ในการแก้ปัญหาแบบ Kaizen

•การสร้างวัฒนธรรมการปรับปรุงงานด้วย Kaizen, Gemba

•การสร้าง Kaizen steering committee, RCA cross functional team



หัวข้ออบรมสัมมนา
ตารางการอบรม Agenda

09:00 น. เปิดตัวการสัมมนา Root Cause Analysis (RCA)

oการแนะนำตัวและประวัติวิทยากร

oRoot cause analysis คืออะไร

oชนิดของ Root cause analysis

oสิ่งที่องค์กรจะได้รับจาก Root cause analysis

o8 ขั้นตอนในการทำ RCA

oA3 thinking report กับ Root cause analysis

       1.การคัดเลือกปัญหา

oบริบทของปัญหา

oหลักการพิจารณาเลือกปัญหาจาก 5W

oหลักการ Scoring method

oการอธิบายปัญหาด้วย Input—Process—Output

2. การสร้างทีม RCA

oWho? ใครควรจะร่วมทีม

oIdea หลักๆของทีมที่สำเร็จ

     3.การปรับเปลี่ยน Mindset

oการเปลี่ยนวิธีคิด(Mindset) เกี่ยวกับการปรับปรุงงาน

oข้อคิดของ Taiichi Ohno, father of TPS-Lean

oComfort Zone พนักงงานอยู่ในมุมที่ปลอดภัยไว้ก่อน...ทำไม?

oโยนความผิด ปกปิดปัญหา

oประเพณีอะไรขององค์กร ที่พนักงานหลบเข้า Comfort zone

oนิสัยพนักงานขององค์กรแบบ Top-down เปรียบเทียบกับองค์กร Kaizen

oบัญญัติ 10 ประการของ Taiichi Ohno ในการทำ Root cause analysis

     4.การเก็บข้อมมูลของปัญหา

oรายงานสถิติจากกร้าฟ

oGemba เปลี่ยนนิสัย จากเชื่อตัวเลขอย่างเดียว ลงไปดูของจริง

oIceberg of ignorance ภูเขาน้ำแข็งของความไม่รู้จริง ในองค์กร

oลำดับความสำคัญของข้อมูลด้วย Pareto Diagram

oTop 3 problems

oWorkshop Pareto chart

     5. Root Cause Analysis

oRCA tools

oBrainstorming method

o5W + 2 H บ่งชื้ปัญหาให้ชัดเจน

oGemba method

1.What is Gemba

2.What is not Gemba

3.P-D-C-A with Gemba

4.Objective of Gemba

5.Gemba framework

oCause & Effect diagram (ผังก้างปลา)

oประเด็นสภาพแวดล้อมที่ต้องพิจารณา

oWhy-Why Analysis หลักการ และวิธีการ

oPerception of presenting problem

oตัวอย่างจริง of why-why analysis

oGroup workshop 30 minutes

         6. Design countermeasure ออกแบบวิธีการปรับปรุงแก้ไข

oOhno Circle with 5-Why, 5-Why not? 5-Who?

oRACI;Responsible person, Accountable person, consulting person, Informing person

oMan checklist

oMachine checklist

oMaterial & Method checklist

o5W-1H checklist

oECRS (Eliminate-Combine-Rearrange-Simplify)

oHow-How Analysis diagram

oGroup workshop 30 minutes

         7. Action planning

         8. Follow up

oTemplate

oReport

oControl chart

oStandardization

   16:30 น. ช่วงตอบคำถาม แจกประกาศนียบัตร ถ่ายภาพ

วิธีการสร้างทักษะอย่างรวดเร็ว; (1)นำตัวอย่างปัญหาจริงของผู้เข้าร่วมมาแก้ (2) สอนวิธีคิดวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนให้เป็น (3) Group workshop จำลองการแก้ปัญหาจริงๆ


ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: kaizen, การวิเคราะห์ปัญหา, RCA, Mindset, Problem Solving, สร้างทีม