เรียนรู้กฎหมายแรงงานต่างด้าว

รหัสหลักสูตร: 60564

จำนวนคนดู 1363 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน ให้กับองค์กรได้อย่างถูกกฎหมาย หรือกรณีมีลูกจ้างมาสมัครงานเอง ก็จะสามารถเข้าตรวจสอบเอกสาร หรือนำแรงงานไปจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้

2. เพื่อให้ทราบถึงการดำรงรักษาแรงงานที่ดี ให้อยู่กับองค์กรได้อย่างถูกกฎหมายได้นาน ๆ หรือนำกฎหมายแรงงานไปใช้บังคับกับพนักงานได้อย่างถูกต้อง และเป็นธรรม

3. เพื่อให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปบริหารจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งในองค์กรและนอกองค์กรให้ปัญหานั้นยุติลงได้


หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้ออบรม

   1. ปัญหาที่ทำให้นายจ้าง ต้องจ้างแรงงานต่างด้าวมาจากอะไร..?

•มีคำอธิบายจากปัญหาที่เกิด 9 ประการ

2. มีการเตรียมเอกสาร – ข้อมูลสถานประกอบกิจการของนายจ้าง เพื่อนำเข้าแรงงานต่างด้าวต้องเตรียมอะไรบ้าง...?

•กรณีเป็นนิติบุคคล เอกสารของนายจ้าง-ของผู้รับมอบอำนาจ-ข้อมูลขององค์กร

3. การนำแรงงานต่างด้าว ที่ผ่านระบบ MOU เข้ามาทำงานโดยนายจ้างนำเข้ามาเอง หรือ นำเข้าผ่านบริษัทฯ นำเข้าแรงงานต่างด้าว เข้ามาทำงานในประเทศ มีขั้นตอนของการนำเข้าอย่างไร ... ?

•มีขั้นตอนและรายละเอียดของการนำเข้า เข่น การติดต่อจัดหางานเขตพื้นที – การติดต่อบริษัทนำเจ้า-การทำสัญญาจ้าง-การจ่ายค่าจ้าง-ขั้นตอนการนำเข้า-การติดต่อไปยังประเทศต้นทาง-เงื่อนไขการจ้าง-การกำหนดค่าจ้าง-ค่าสวัสดิการ-การอบรมที่ศูนย์รับแรกเข้า-การออกวีซ่า-การออกใบอนุญาตทำงาน-การจัดที่พักให้-การตรวจร่างกาย-การแจ้งนำเข้า-การรายงงานตัว-การต่อสัญญาจ้าง

4. การจ้างแรงงานต่างด้าว ที่ผ่านการตรวจพิสูจน์สัญชาติ เข้ามาทำงานในองค์กรจ้างให้ถูกกฎหมายต้องดำเนินการอย่างไร.. ?

•มีขั้นตอนและรายละเอียดขอการตรวจสอบเพื่อการนำเข้า เช่น การตรวจสอบเอกสาร - บัตรประจำตัว-วีซ่า-หนังสือใบอนุญาตทำงาน-การแจ้งออก-เหตุผลที่เปลี่ยนงาน -การทำสัญญาจ้าง – การกำหนดค่าจ้าง-กำหนดค่าสวัสดิการ-การแจ้งเข้าเพื่อเปลี่ยนชื่อนายจ้าง -ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ – การตรวจร่างกาย-การรายงานตัว-การต่อสัญญาจ้าง

5. บทลงโทษ – นายจ้าง-ลูกจ้าง-บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว กรณีทำผิดกฎหมาย พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าว จะมีความผิดได้รับโทษ ทางแพ่ง ทางอาญา อย่างไร?

•นายจ้าง ไม่แจ้งเข้า-ไม่แจ้งออก -ไม่ทำทะเบียนให้ตรวจ-ให้ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต-ให้ทำงานไม่ตรงตามใบอนุญาตให้ทำงานใบอนุญาตเป็นชื่อของผู้อื่น

•ลูกจ้าง ไม่เคยมีใบอนุญาตทำงาน-ขณะทำงานไม่มีใบอนุญาตทำงานอยู่กับตน -ทำงานไม่ครงใบอนุญาต

•บริษัทนำเข้า นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต -ไม่ส่งมอบงานต่อผู้ว่าจ้าง -ไม่ส่งต่างด้าวกลับประเทศต้นทาง

6. ผู้ที่หลอกลวง-แอบอ้าง ผู้อื่นว่าสามารถนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างในประเทศได้หรือหาแรงงานต่างด้าวให้กับนายจ้างได้จะมีความผิดได้รับโทษ ทางแพ่ง ทางอาญา อย่างไร..?

7. ผู้ที่สนับสนุนการทำผิดกรณีหลอกลวง -แอบอ้างการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างจะมีความผิดได้รับโทษ ทางแพ่ง ทางอาญา อย่างไร ?

8. ค่าใช้จ่าย ในการจ้างบริษัทนำเข้า -จ่ายให้หน่วยงานภาครัฐของกานนำเข้าระบบ MOU และระบบพิสูจน์สัญชาติ

9. จ้างแรงงานต่างด้าวที่ผ่านบริษัทรับเหมา Outsource โดยมาจากระบบ MOU. หรือผ่านระบบพิสูจน์สัญชาตินายจ้างทำได้หรือไม่ ...?

10. ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำแรงงาน ไทย พม่า ลาว และกัมพูชา มีอัตราและแตกต่างกันอย่างไร ..?

11. ต่างด้าว 3 สัญชาติที่ผ่านระบบ MOU และผ่านการพิสูจน์สัญชาติ มีสิทธิ์ทำงานประเภทอะไรบ้าง...?

12. ต่างด้าว 3 สัญชาติ ขณะทำงานในราชอานาจักร มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงาน ตาม พ.ร.ก. อย่างไร...?

13. ต่างด้าวที่ผ่านระบบ MOU ต้องการเปลี่ยนนายจ้างใหม่ จะต้องมีองค์ประกอบตามกฎหมายอย่างไร...?

14. หน้าที่ของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างต่างด้าว ขณะปฏิบัติงานและอยู่ในเวลาสัญญาจ้างต้องปฏิบัติอย่างไร..?

15. การนำแรงงานต่างด้าว ระดับฝีมือชำนาญการ เข้ามาทำงานกับนายจ้างอย่างถูกกฎหมาย ต้องดำเนินการอย่างไร.?

16. บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว มีความมั่นคง และมีบทบาทหน้าที่ต่อผู้ว่าจ้างอย่างไร.. ?

17. แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่เข้ามาทำงานกับนายจ้าง (ในภาพรวม) แรงงานชาติใด..? ทำงานถูกใจนายจ้างมากที่สุด..

18. แรงงานไทย กับแรงงานต่างด้าวปฏิบัติงานหรือปฏิบัติตน แตกต่างกันอย่างไร ..ง?

19. กรณีต่างด้าวไปทำงานนอกพื้นที่ -ไปทำงานตามสาขา - ไปตามไซด์งานที่เป็นธุรกิจนายจ้างทำได้หรือไม่ และเมื่อพบ หน่วยงานภาครัฐเข้าตรวจสอบ ต้องดำเนินงานอย่างไร...?

20. การแจ้งแรงงานต่างด้าวขณะปฏิบัติงาน ปัญหาที่พบมากที่สุด มีอะไร...?

21. นายจ้างจัดที่พักให้ต่างด้าว กรณีต่างด้าวแอบเอาญาตหรือผู้ที่หลบหนีเข้าเมืองมาอยู่ด้วย นายจ้าง-ต่างด้าว-ผู้อาศัย-จะมีความผิดอย่างไร ..?

22. จ้างแรงงานต่างด้าวให้ -ค่าจ้าง-สวัสดิการ แตกต่างไปจากแรงงานไทย ต้องปฏิบัติอย่างไร...?

23. แรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวชกต่อยกัน (เป็นกรณีร้ายแรง) นายจ้างเลิกจ้างคนเดียวทำได้หรือไม่..เพราะอะไร...?

24. นายจ้างนำหน่วยงานภาครัฐเข้าตรวจฉี่พนักงาน เพื่อหาสารเสพติด พบลูกจ้างต่างด้าวมีสารเสพติดในร่างกาย ต้องการจัด อย่างไร..?

25. ต่างด้าวชุมชนในเวลางาน เพื่อกดดันนายจ้างให้จ่ายโบนัสประจำปี - ผู้บริหาร -หัวหน้างาน จะใช้เทคนิคอย่างไร...? ให้ปัญหายุติลง

26. การออกหนังสือเตือน การทำผิด-หนังสือเลิกจ้าง ให้พี่ไทยหรือต่างด้าว เขียนให้ดี ให้มีผลต่อการผิดซ้ำคำเตือน หี้ผลต่อการถูกเลิกจ้าง และยกขึ้นต่อสู้คดีในชั้นศาลได้

27. ลูกจ้างไทย -ต่างด้าว ทำผิดวินัยในการทำงาน ไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือเตือน ผู้บริหาร-หัวหน้างาน ต้องดำเนินการอย่างไร.. ?

28. ในวันหยุดนายจ้างหรือหัวหน้างานให้ต่างด้าวไปทำงานที่บ้านตนเอง เพื่อต่อเติมบ้านพักโดยจ่ายค่าจ้างให้ทำได้หรือไม่เพราะอะไร.. ?

29. การแต่งตั้งแรงงานต่างด้าว เพื่อการสื่อสาร หรือเพื่อให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับองค์กร

30. กรณีต่างด้าว ลางานกลับภูมิลำเนา หลายวันหรือไปเยี่ยมญาตินอกพื้นที่ทำงาน ต้องแจ้ง ตม. หรือดำเนินการอย่างไร...?

31. การส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมและสิทธิต่าง ๆ ที่ได้รับตามกฎหมายแรงงานต่างด้าว มีสิทธิอะไรบ้าง..?

32. การกระทำอันไม่เป็นธรรมระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว มีลักษณะของการกระทำอย่างไร.. ?

33. การสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของแรงงานต่างด้าว มีกรณีใดบ้าง และนายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร... ?

34. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับแก้ไขใหม่ที่ประกาศใช้ปี 2562 ที่เพิ่มสิทธิ -สวัสดิการ – ให้กับลูกจ้างทั่วประเทศมีอะไรบ้าง.. ?

35. นายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างต่างด้าวที่ขัดต่อกฎหมาย (เป็นโมฆะ) มีกรณีใดบ้าง... ?

36. สวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เมื่อลูกจ้างออกงาน มักจะเอาไปรวมกับค่าจ้าง เพื่อเป็นฐานของค่าจ้าง -ต่อวัน -ต่อเดือน-มีสวัสดิการอะไรบ้าง..?

37. ในกรณีลูกจ้างไทยฟ้องนายจ้าง- แรงงานต่างด้าวฟ้องนายจ้าง - นายจ้างฟ้องลูกจ้าง (กรณีละเมิด) คดีเกิดขึ้นในศาลแรงงาน ผู้บริหารต้องบริหารจัดการและ ต้องเตรียมดหมัดเด็ดอย่างไร...? ถึงจะทำให้ชนะคดี

38. คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีแรงงาน ที่ผู้บริหาร -หัวหน้างานควรรู้ มีคดีอะไรบ้าง...?

•ถาม-ตอบ-แนะนำ

•ให้คำแนะนำ-ให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมสัมมนาหลังจากสัมมนา “ฟรี” ตลอดกาลไม่มีค่าใช้จ่าย


ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: กฎหมายต่างด้าว, กฎหมายแรงงานต่างด้าว, เจาะประเด็น...การจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย, เจาะประเด็นกฎหมายแรงงานต่างด้าว, mou, กฎหมายmou