Update กฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับใช้ล่าสุดปี 2562

รหัสหลักสูตร: 61243

จำนวนคนดู 2399 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
เพื่อเตรียมพร้อมรับมือปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานใหม่ และ กฎหมายประกันสังคมได้อย่างถูกต้อง
หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อในการอบรม

หมวด 1: การได้รับสิทธิตามกฎหมายใหม่ของผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ

1.ลูกจ้างจะได้รับสิทธิตามกฎหมายใหม่ 7 ประการ มีข้อเปรียบเทียบระหว่างสิทธิเดิมและสิทธิตามกฎหมายใหม่

สิทธิที่ได้รับตามกฎหมายเดิม - ตามกฎหมายฉบับใหม่

•การลากิจตามกฎหมาย - การลากิจได้รับค่าจ้าง

•ลาคลอดบุตรได้รับค่าจ้าง - ลาฝากครรภ์ - ลาคลอดบุตรได้รับค่าจ้าง

•การเปลี่ยนนายจ้างใหม่ - การเปลี่ยนนายจ้าง - เปลี่ยนนิติบุคคล

•การย้ายสถานประกอบการ - การย้ายสถานประกอบการไปยังที่แห่งใหม่

•การจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน - การจ่ายค่าจ้าง - ค่าล่วงเวลา .- ดอกเบี้ย

•การได้รับสิทธิของลูกจ้างชายและหญิง - การได้รับสิทธิเท่าเทียมกันของลูกจ้างชาย - หญิง

•การจ่ายค่าชดเชย 5 อัตรา - ค่าชดเชยในอัตราใหม่ 6 อัตรา

หมวด 2: การนำสิทธิของลูกจ้างจากกฎหมายใหม่ ไปประยุคใช้กับสภาพการจ้างเดิม

2.ลากิจธุระอันจำเป็นตามกฎหมายหนึ่งปีลูกจ้างมีสิทธิลาได้กี่วัน..?

•มีคำอธิบายจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน – ข้อบังคับฯ – ประกาศหรือคำสั่งต่างๆของนายจ้าง

3.ลากิจได้ค่าจ้างตามกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้กับใครบ้าง..?

•พิจารณาถึงลูกจ้าง 6 กลุ่ม พร้อมคำแนะนำ - คำอธิบาย

4.กฎหมายใหม่กำหนดให้ลูกจ้างลากิจได้รับค่าจ้าง 3 วันต่อหนึ่งปี เดิมพนักงานรายวันลากิจไม่ได้รับค่าจ้าง - รายเดือนลากิจได้รับค่าจ้าง 6 วันต่อหนึ่งปีอยู่แล้ว กรณีกฎหมายใหม่กำหนดอย่างนี้นายจ้างต้องปฏิบัติอย่างไร..?

•มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย พร้อมคำอธิบาย

5.ลากิจในวันทำงานครั้งละ 30 นาที - 1ชั่วโมง - 4ชั่วโมง ลูกจ้างมีสิทธิลาและมีกฎหมายรองรับหรือไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือไม่ อย่างไร..?

•พิจารณาถึงหลักกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พร้อมคำอธิบาย

6.การลากิจย้อนหลังหรือลางานทุกประเภทไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ เช่น โทรลางาน -ไลน์ลางาน - ลางานทางอีเมลล์ - ฝากเพื่อนลา - ฝากเมียหัวหน้าลา - หรือลางานตามโต๊ะทำงานของหัวหน้างาน - นายจ้าง - ผู้บริหาร-HR.จะทำอย่างไร ให้ปัญหาหมดไปหรือจะกล่าวโทษ - เลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร..?

•มีตัวอย่างคำแนะนำการแก้ปัญหาและวิธีที่กำจัดที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย พร้อมคำอธิบาย

7.กรณีนายจ้างให้ลูกจ้างใช้สิทธิลาตรวจครรภ์หรือลาคลอดบุตรไม่ครบหรือลูกจ้างใช้สิทธิไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดจะมีผลกระทบอย่างไร..?

•จะมีผลกระทบต่อนายจ้าง - ต่อลูกจ้าง อย่างน้อย 8 ประการ

8.การรับค่าจ้างตามกฎหมายใหม่ของการลาตรวจครรภ์หรือลาหลังคลอดบุตร

รวม 98 วันจะได้รับค่าจ้างอย่างไร..?

•มีคำแนะนำจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานพร้อมคำอธิบาย

9.การเปลี่ยนนายจ้างใหม่เปลี่ยนนิติบุคคลสิทธิต่างๆของลูกจ้างจะได้รับในสภาพเดิมหรือเป็นไปตามเงื่อนไขของนายจ้างใหม่ หรือถ้านายจ้างจะตั้งกฎขึ้นมาใหม่ต้องทำอย่างไร..?

•มีคำแนะนำจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานพร้อมคำอธิบาย

10.การย้ายที่ทำงานไปยังสถานประกอบกิจการของนายจ้างไปที่แห่งใหม่ กรณีไปในบริษัทเดียวกัน -ไปตามสาขาหรือในเครือของบริษัท ลูกจ้างจะได้รับสิทธิเดิมหรือเงื่อนไขใหม่ของนายจ้างอย่างไร..?

•มีคำแนะนำจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานพร้อมคำอธิบาย

11.ในกรณีนายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างหญิง ไม่เท่าเทียมกับลูกจ้างชายจะเกิดผลกระทบในองค์กร -ในสังคมแรงงานระดับประเทศ-ระดับโลก อย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีลักษณะนี้และมีตัวอย่างพร้อมคำอธิบาย

12.การเรียกร้องค่าตอบแทนจากการทำงาน - ที่มีอายุความและสิทธิที่ได้รับค่าดอกเบี้ย ตามกฎหมายกำหนดอย่างไร..?

•มีตัวอย่างของค่าจ้าง - ค่าล่วงเวลา และค่าที่เรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี - ร้อยละ 15 ต่อปี

หมวด 3 : การจ่ายค่าตอบแทน (กรณีเลิกจ้าง)

13.มีคดีลูกจ้างฟ้องต่อศาลมากมาย นายจ้างจ่ายเป็นหมื่น - เป็นแสน เนื่องจากเลิกจ้าง บอกกล่าวไม่ถูกต้อง -วิธีที่ถูกต้องบอกกล่าวอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง การแจ้งพนักงานทดลองงาน - พนักงานประจำ - พนักงานตามสัญญาจ้าง - พนักงานต่างด้าว - การเปลี่ยนนายจ้าง-การย้ายกิจการ-การปิดกิจการหรือออกตามเกษียรงาน พร้อมคำอธิบาย

14.ยื่นใบลาออกจากงานแล้วอยู่ไม่ถึงวันจะออก (ออกก่อนกำหนด) ต้องจ่ายค่าจ้างหรือค่าอื่นๆอย่างไร.? หรือจะเรียกร้องค่าเสียหายนายจ้างทำได้หรือไม่ หรือต้องทำอย่างไร..?

•ยกตัวอย่าง ตำแหน่งงานระดับบริหาร-หัวหน้างาน-เซลขายสินค้าหรือพนักงานระดับปฏิบัติการ

15.มีปัญหาเรื่องสุขภาพทำงานไม่เต็ม 100% ผู้บริหาร-HR.จะย้ายหน่วยงานหรือเลิกจ้าง ต้องยึดหลักของความเป็นธรรมอย่างไร..?

•ยกตัวอย่างพิจารณาถึงความมีเมตตาธรรมโดยเอาความถูกต้องไว้เหนือความถูกใจ

16.ครบกำหนดเกษียรแล้วนายจ้างไม่ให้ออกให้ทำงานต่อเนื่อง เมื่อลูกจ้างลาออกจากงานเองจะได้รับสิทธิ ค่าชดเชยหรือค่าสวัสดิการ อื่นๆหรือไม่.? เพราะอะไร..?

•มีคำแนะนำจากหลักกฎหมาย คุ้มครองแรงงาน พร้อมคำอธิบาย

17.กรณีเลิกจ้างเพราะเกษียรงานนายจ้างเลิกจ้างอย่างไร.?ให้ออกโดยยึดหลักเกณฑ์อะไรได้บ้าง.?

•มีคำแนะนำการเลิกจ้างเพราะเกษียรงาน 4วิธี พร้อมคำอธิบาย

18.พนักงานที่เกษียรงานแล้วนายจ้างต้องการจ้างให้ทำงานอีก ต้องทำสัญญาจ้าง - กำหนดค่าจ้าง- ค่าสวัสดิการอย่างไร..?

•มีตัวอย่างการเขียนสัญญาจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา “ฟรี” พร้อมคำอธิบาย

19.กรณีกฎหมายใหม่ประกาศใช้และมีผลบังคับใช้ นายจ้างจะแก้ไข - เปลี่ยนแปลง - เพิ่มเติม ข้อบังคับในการทำงาน ต้องดำเนินการอย่างไร..?

•มีแนวทางการปฏิบัติ ตามประกาศของกฎหมายใหม่ พร้อมคำแนะนำ-คำอธิบาย

หมวด 4: (คำพิพากษาฎีกา) ที่ตัดสินคดีแรงงานที่นายจ้าง - ผู้บริการ-HR.ควรรู้

20.ผ่านการสัมภาษณ์งานแล้วถึงวันทำงานนายจ้างบอกไม่รับเข้าทำงานหรือลูกจ้างไม่มาทำงาน สองประเด็นนี้มีคดีฟ้องกันที่ศาลแรงงาน ผู้เสียหายจากการกระทำ จะได้รับค่าเสียหายอย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

21.ผู้ค้ำประกันการทำงานจะรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามกฎหมายใหม่ในอัตราเท่าใด.?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

22.นายจ้างนำหน่วยงานภาครัฐเข้าตรวจฉี่พนักงานเพื่อหาสารเสพติด พบพนักงานฉี่สีม่วงหลายคนต้องทำอย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

23.ลูกจ้างมีความสัมพันธ์กันทางชู้สาวในโรงงานมีพยานเห็นหลายคน-เป็นความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับในการทำงาน จึงถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ ทำไม..? นายจ้างถึงแพ้คดี มีจุดอ่อนอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

24.ลูกจ้างมีปัญหากันในโรงงาน-ในเวลางาน-ได้ด่าทอกัน-เมื่อเลิกงานแล้วก็ไปดักทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานนอกที่ทำงานจนได้รับบาดเจ็บอีก ทำไม...? นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเป็นกรณีร้ายแรงได้ทั้งที่เกิดเหตุนอกโรงงาน

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

25.ทำไม...? ค่าอาหารที่จ่ายให้ลูกจ้างทุกเดือนจึงเป็นค่าจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างจึงเอาไปรวมเป็นฐานของเงินเดือนได้-นายจ้างไม่อยากให้เป็นค่าจ้าง ต้องทำอย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

26.ทำไม...? นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ลูกจ้างได้ทำขึ้นไม่ได้ เพราะอะไร..? วิธีที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายต้องทำอย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำแนะนำ-คำอธิบาย

27.มีนโยบายเลิกจ้าง กรณีพนักงานมาทำงานสาย - ลาป่วย-ลากิจ มากเกิดปกติมีขั้นตอนการลงโทษก่อนเลิกจ้างอย่างไร.? ถึงจะไม่จ่ายค่าใดๆ

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

28.ลูกจ้างมีพฤติกรรม – ชอบโต้เถียง – ตบโต๊ะใส่ผู้บังคับบัญชา – ดูหนังสือพระ – ชอบส่องพระ – ชอบทานอาหาร – ชอบใส่รองเท้าแตะ - ชอบฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการ คปอ. ในการทำงานเป็นอาจิณ ลงโทษอะไรได้บ้าง..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

29.ลูกจ้างได้รับการประเมินผลการทำงานต่ำกว่า ความเป็นจริงมากจึงโต้แย้งให้นายจ้างประเมินการปฏิบัติงานใหม่เป็นการเรียกร้องสิทธิ และสภาพการจ้าง มีสิทธิฟ้องศาลแรงงานหรือไม่..? เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

30.ลูกจ้างประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไปหัวหน้างานจึงรับผิดชอบเองจึงทำสัญญา เพื่อชดใช้ไว้และผ่อนจ่ายเองเมื่อออกงานนายจ้างมีสิทธิหักเงินค่าจ้าง – หรือเงินกองทุนเพื่อชดใช้หนี้หรือไม่..? เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

31.นายจ้าง รวมเวลาค่าล่วงเวลาเหมาจ่าย ไปกับค่าจ้างทั้งมีลักษณะเป็นการผูกผันให้ลูกจ้างต้องยอมทำงานล่วงเวลาตลอดไป ทำได้หรือไม่..? เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

32.ลูกจ้างส่งภาพของหญิงซึ่งโป๊ - เปลือยให้กับผู้อื่นในคอมพิวเตอร์ของนายจ้าง -ในเวลาที่เข้ามาทำงานเป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่..? เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

33.ลูกจ้างตำแหน่งจัดซื้อแจ้งให้ บริษัทผู้รับจ้างปรับราคา สินค้าขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้รับจ้างจะมีความผิดอย่างไร..?เป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่..? เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

34.ชุมนุมประท้วงเรื่องโบนัสที่หน้าโรงงานของนายจ้าง ชูป้ายด่าทอนายจ้างต่างๆนาๆ นายจ้างลงโทษอะไรได้บ้าง..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

35.ลูกจ้างคิดค่าอาหารและเครื่องดื่มอันเป็นเท็จเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างจะลงโทษอะไรได้บ้าง..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

36.ใช้อินเตอร์เน็ตทำเรื่องส่วนตัวเกินสมควรในเวลาทำงานเป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่..? เพราะอะไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

37.นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องความปลอดภัยในการทำงานไม่จัดอุปกรณ์การทำงานให้ได้มาตรฐานทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายเป็น (โรคปอดอักเสบ) นายจ้างจะมีความผิดอย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

38.เอกสารเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ไม่สอดคล้องกับอุปกรณ์ติดตามตำแหน่งทางดาวเทียม GPS. และใบบันทึกเวลาทำงานเป็นการเบิกค่าน้ำมันรถอันเป็นเท็จ ลูกจ้างจะมีความผิดอย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

39.การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พรบ. จัดตั้งศาล พ.ศ. 2522 พิจารณาถึงสาเหตุของการเลิกจ้างอย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

40.เมื่อถูกเลิกจ้าง - ค่าจ้าง - เงินประกันการทำงาน -วันหยุดพักผ่อน - สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า - ค่าชดเชย –ค่าเสียหาย - ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเมื่อใด..? กรณีนายจ้างผิดนัดจะนับจากเวลาใด..? ต้องเสียดอกเบี้ยอย่างไร..?

•มีคำพิพากษาฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

หมวด 5 : Update กฎหมายประกันสังคมที่เพิ่มสิทธิให้ลูกจ้าง

ในกองทุนเงินทดแทนปี 2562

•กรณีเจ็บป่วยจนไม่สามารถทำงานได้

•กรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วน

•กรณีทุพพลภาพ

•กรณีเสียชีวิตหรือสูญหาย

•การคำนวณค่าตอบแทน

•การใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทน

•ผู้มีสิทธิที่จะได้รับ

•ถาม - ตอบ- แนะนำ

•ให้คำแนะนำ - ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา“ ฟรี ” ตลอดกาล (ไม่มีค่าใช้จ่าย)


วิทยากร
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: กฎหมายแรงงาน, กฎหมายแรงงานใหม่, กฎหมายประกันสังคม, การจ่ายค่าชดเชย, สัญญาจ้าง, อบรม HR