การประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดชิ้นงานให้เหมาะสมกับเกณฑ์การกำหนดค่าพิกัด ความคลาดเคลื่อนของรูปร่าง GD&T

รหัสหลักสูตร: 62002

จำนวนคนดู 2003 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
รายละเอียดหลักสูตร Course Outline

ปัจจุบันกระบวนการผลิตชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบเครื่องจักรกล ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิตแล้ว จะต้องนำชิ้นส่วนหลายๆ ชิ้นมาประกอบกันให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งชิ้นงานแต่ละชิ้นผลิตมาจากแหล่งผลิตที่แตกต่างกัน ผลที่ได้จากการประกอบของชิ้นงาน จะได้ตามมาตรฐานในพิกัดความเผื่อ โดยรวมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรูปร่างและขนาดรวมไปถึงค่าพิกัดความเผื่อของชิ้นงานแต่ละชิ้น 

ดังนั้น เพื่อลดความผิดพลาดจากการวัดชิ้นงานตามแบบแล้วนำไปสู่การผลิตชิ้นงาน ผู้ผลิตต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในการกำหนดเครื่องมือวัด (Measuring Tools) เพื่อให้ได้ผลการวัดที่ถูกต้องแม่นยำตามมาตรฐานที่กำหนดในแบบงาน (Drawing) และสัญลักษณ์ทีX ใช้ในการควบคุมมาตรฐานชิ้นงาน (GD&T) ได้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม มีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดเครื่องมือวัด (Measuring Tools) และเลือกใช้เครื่องมือนั้นให้เหมาะสม ตามแบบงาน (Drawing) รวมทั้งรู้จักประยุกต์ และวิธีการวัด ให้สอดคล้องกับระบบพิกัดความคลาดเคลื่อนของรูปร่าง Geometry Dimensional and Tolerance (GD&T) อย่างถูกต้อง

หัวข้ออบรมสัมมนา
เนื้อหาหลักสูตร

1. ภาพรวมของ GD&T 

· กรอบควบคุม Feature 

· แบบร่างและสัญลักษณ์ของ GD&T 

2. เครื่องมือวัดและหลักการของ GD&T 

3. การประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดละเอียด (Measuring Tools) และวิธีการวัดชิ้นงานอ้างอิงตามสัญลักษณ์ของ GD&T 

· การวัดความราบ (Flatness) 

· การวัดความตรง (Straightness) 

· การวัดความกลม (Roundness) 

· การวัดความเป็นทรงกระบอก (Cylindricity) 

· การวัดความขนาน (Parallelism) 

· การวัดความตั้งฉาก (Perpendicular) 

· การวัดความเป็นมุม (Angularity) 

· การวัดตำแหน่ง (Position) 

· การวัดความร่วมศูนย์ (Concentricity) 

· การวัดความสมมาตร (Symmetry) 

· การวัด Circular Run out 

· การวัด Total Run out 

· ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของเส้น (Profile of line) 

· ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของระนาบ (Profile of surface) 

4. เทคนิค GD&T 

· ข้อกำหนดของ Envelope 

· ดาตัม (Datum) 

· ส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือมากที่สุด (MMC) 

· ส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือน้อยที่สุด (LMC) 

· GD&T ของชิ้นส่วนยืดหยุ่น 

รูปแบบการอบรม

1. การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง โดยทฤษฎี 40 % ปฏิบัติ 60 % 

2. ทำ Workshop กิจกรรมกลุ่ม 


ผู้ควรเข้ารับการอบรม 

วิศวกร 

พนักงาน / หัวหน้างาน QC/QA 

พนักงาน / หัวหน้างานฝ่ายผลิต 

ช่างเทคนิค 

บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป 

แนะนำเพิ่มเติม ผู้เข้าอบรมต้องมีความเข้าใจและสามารถอ่าน Drawing และ แปลสัญลักษณ์ GD&T เบื้องต้นได้ 

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: Knctrainingcenter, GD&T, เครื่องมือวัดชิ้นงาน, เกณฑ์การกำหนดค่าพิกัด