การจัดทำระบบการควบคุมสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า - อิเล็กทรอนิกส์

รหัสหลักสูตร: 64579

จำนวนคนดู 1094 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม
การจัดทำระบบการควบคุมสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า - อิเล็กทรอนิกส์
รอบที่

-

ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้

ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่

หลักการและเหตุผลของหลักสูตร

          เนื่องจากธุรกิจด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมไฟฟ้า ผู้รับจ้างช่วงผลิตในแต่ละลำดับขั้นได้ผลิตสินค้าและส่งมอบตามลำดับขั้นและส่งเข้าไปจนถึงโรงงานประกอบหรือ OEM/REM ซึ่งผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องปราศจากสารปนเปื้อนที่เป็นพิษและส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต นั่นก็คือสารเคมีที่จัดอยู่ในจำพวกสารโลหะหนักนั่นเอง อาทิ เช่น โครเมียม แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว และอื่น ๆ ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างเพียงพอ เพราะนอกจากผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ว่าด้วยเรื่องการควบคุมสารปนเปื้อน คือ SOC / ELV / RoHs 1.0 / RoHs 2.0 / REACH Annex VI / XV / XIV / AVII / SVHC / PFOS / PFOA / DMF / VOC / MDA / SCCPs / POPs / Prop65 / ELV Annex II / ELV Waste Packaging Waste / Lead in Solder / CMR / GADSL / IMDS / IMDS-a2 / IMDS-AI / CAMDS / CDX etc. ข้อกำหนด 3R (Reuse / Recycle / Recovery) Recyclability และ Recoverability ตลอดจนข้อกำหนดสารเคมีชนิดอื่นๆ ที่ทาง OEM และหน่วยงานที่ทำการควบคุมและบังคับใช้กฎหมาย ได้ประกาศฯ ควบคุม หรือ ห้ามใช้ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ทุกบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตลอดจนต่อไปในอนาคต ดังนั้นทุกโรงงาน / บริษัท ไม่ว่าจะเป็นเทรดดิ้ง จำเป็นต้องดำเนินการจัดทำหรือวางระบบเพื่อใช้ในการดำเนินการควบคุมผู้ส่งมอบ (Suppliers), ดำเนินการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ภายในองค์กรและรองรับการ Audit จากลูกค้าและหน่วยงานอื่น ๆ และ Support ข้อมูลต่าง ๆให้กับคู่ค้าของตนได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง  

          ผู้รับช่วงผลิต (Suppliers) จะต้องแนบข้อมูลรายงานต่างๆ เหล่านี้แนบในเอกสาร “อนุมัติชิ้นส่วนการผลิต (PPAP)” เพื่อเป็นการรับประคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่าปราศจากสารปนเปื้อนและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งผู้รับช่วงผลิต (Suppliers) ต้องไม่มีโอกาสผิดพลาดแม้แต่ครั้งเดียว เพราะนั่นหมายถึง องค์กรของท่านจะถูกย้ายเข้าไปอยู่ในบริษัทฯกลุ่มเสี่ยงที่อันตรายทันที และทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล

          หลักสูตรนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และเขียน Quality Manual, Suppliers Manual, Procedure, Work Instruction etc. ด้านการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ภายในองค์กร, การรองรับการ Audit จากลูกค้า, ขั้นตอนการบริหารจัดการ Suppliers, การ Audit suppliers และสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

      1. เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดข้อกฎหมายในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

      2. เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการควบคุมสารต้องห้ามหรือสารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ในผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

      3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจและเขียน Quality Manual, Suppliers Manual, Procedure, Work Instruction etc. ด้านการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ภายในองค์กร, การรองรับการ Audit จากลูกค้า

      4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจขั้นตอนการบริหารจัดการ Suppliers, การ Audit suppliers

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการสัมมนา

   1. หลักการและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในการควบคุมสารปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ 

          - ข้อกำหนดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) 

          - ข้อกำหนด Carbon Footprint for Product : CFP 

          - ข้อกำหนด Carbon Footprint for Organization : CFO 

          - ข้อกำหนดการจัดการควบคุมข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับ ISO 50001 

   2. การควบคุมสารปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ 

   3. End of Life Vehicle (ELV) 

          - ELV Annex II / ELV Waste packaging waste 

          - MDA / SCCPs / POPs / Prop65 / CMR 

          - RoHs 1.0 / 2.0 / WEEE 

          - REACH (Annex VI / XV / XIV / XVII / SVHC) 

          - Lead in Soldering 

   4. ข้อกำหนดสารกันความชื้นซิลิกาเจลหรือ DMF 

   5. ข้อกำหนด PFOS / PFOA / 76/769/EC 

   6. ขั้นตอนการจัดทำ Organization SOC เพื่อยื่นขออนุมัติจากลูกค้า 

   7. Job Description ผู้รับผิดชอบด้านการควบคุมสารต้องห้าม 

   8. การเขียน Quality Manual, Suppliers Manual, Procedure, Work Instruction etc. 

   9. การจัดทำ Suppliers Audit Check sheet 

   10. การดำเนินการวางระบบ QMS การควบคุมสารต้องในองค์กร 

   11. การดำเนินการควบคุม SOC กับผู้รับจ้างช่วงผลิต (Suppliers) 

   12. การจัดทำ Flow chart การจัดการความผิดปกติ เกี่ยวกับเรื่อง SOC 

   13. การทบทวนระเบียบปฏิบัติการเรื่องการควบคุมการเปลี่ยนแปลงด้าน SOC ระหว่างลูกค้า และ Suppliers 

   14. บทบาทหน้าที่ การดำเนินการและความสำคัญของแต่ละส่วนงาน 

   15. การดำเนินการควบคุมตรวจและทดสอบ SOC ภายในและภายนอกองค์กร 

   16. การควบคุมผู้ส่งมอบ วิธีการดำเนินการ กรณีที่ผู้ขายไม่ให้เข้าไปตรวจประเมิน 

   17. การดำเนินการ Audit Suppliers ด้าน SOC 

   18. การจัดทำรายงานการควบคุมสารปนเปื้อนตามมาตรฐานสากลเพื่อยื่นอนุมัติ 

   19. WorkShop 

           - ขั้นตอนการจัดทำ Organization SOC เพื่อยื่นขออนุมัติจากลูกค้า

           - Job Description ผู้รับผิดชอบด้านการควบคุมสารต้องห้าม

           - การเขียน Quality Manual, Suppliers Manual, Procedure, Work Instruction etc.

           - การจัดทำ Suppliers Audit Check sheet

ลักษณะการอบรม :

      1. การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง โดยทฤษฎี 30 % ปฏิบัติ 70 %

      2. ทำ Workshop กิจกรรมกลุ่ม + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย

      Note : สอนจากประสบการณ์ในการทำงานจริง และการฝึกอบรมจากต่างประเทศ


วิทยากร
คุณสมบัติผู้เข้าฟัง/กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ควรเข้ารับการอบรม
   - ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมอื่นๆ
   - วิศวกรทุกส่วนงาน
   - หัวหน้างาน QC/QA, R&D, New Model
   - ช่างเทคนิค
   - บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน
ภาษาในการบรรยาย
ไทย
ประกาศนียบัตร

สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อย่าลืมบอกผู้จัดงานว่าเห็นประกาศจากเวป "สัมมนาดีดี" นะคะ
เบอร์โทรศัพท์ :0623155283,021579083

หากท่านต้องการสมัคร การจัดทำระบบการควบคุมสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า - อิเล็กทรอนิกส์
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้


ค่าฝึกอบรมสามารถหักค่าใช้จ่ายทางภาษีนิติบุคคลได้ 200%
ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training

คำค้นประกาศนี้ Tags: การจัดทำระบบการควบคุมสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์, ระบบการควบคุมสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิต, สารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, ผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้