การจัดทำดัชนีชี้วัดผลงานหลักเพื่อการจัดการที่เป็นเลิศ

รหัสหลักสูตร: 64677

จำนวนคนดู 445 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีการเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น องค์การจำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของธุรกิจ อีกทั้งมีวิธีการวัดผลงานที่ถูกต้อง ชัดเจน เป็นธรรม และง่ายต่อการตีความให้เข้าใจได้ตรงกัน แต่ปัญหาที่มักพบในทุกองค์กร คือ การกำหนดดัชนีชี้วัดผลงานหลักที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม รวมถึงการถ่ายทอดดัชนีชี้วัดผลงานจากระดับองค์กร ลงสู่ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคลที่ไม่สะท้อนผลลัพธ์กลับไปยังองค์กรได้อย่างเป็นธรรมว่า หน่วยงานใด หรือผู้ใดที่เป็นผู้สร้างความสำเร็จให้กับองค์กรมากกว่ากัน เพื่อที่ว่าผู้บริหารจะสามารถจัดสรรผลประโยชน์ได้อย่างถูกฝาถูกตัว ก่อให้เกิดแรงจูงใจและขวัญกำลังใจที่จะรังสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้นได้ต่อไป

หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติจนได้ดัชนีชี้วัดผลงานหลักที่ตรงกับลักษณะงานและความรับผิดชอบ ตลอดจนสามารถนำดัชนีชี้วัดหลักที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการบริหารผลงาน ติดตาม รายงาน ตอบแทนความทุ่มเทและความพยายามรายบุคคลได้อยู่เหมาะสม และสอดคล้องกันระหว่างความสำเร็จในระดับองค์กรและระดับบุคคล กล่าวคือ องค์กรประสบความสำเร็จได้ก็เนื่องมาจากผลงานที่แต่ละบุคคลที่รังสรรค์ขึ้นเช่นกัน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวัดผลงานที่ถูกต้อง (Measurement Principle)

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวัดผลงานข้างต้นมาจัดทำตัวชี้วัดผลงานหลักในระดับองค์กร ระดับทีมงาน และระดับพนักงานได้ด้วยตนเอง

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงวิธีการนำดัชนีชี้วัดผลงานหลักไปใช้ประโยชน์ และสามารถป้องกันปัญหาจากการใช้เครื่องมือที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้การใช้ดัชนีชี้วัดผลงานหลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้รับฟังข้อท้วงติง ข้อคิด ข้อควรระวัง เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์และปรับปรุงดัชนีชี้วัดผลงานได้อย่างถูกต้อง


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การจัดฝึกอบรมครั้งนี้จะส่งผลให้แต่ละส่วนได้รับประโยชน์ ดังนี้

1. บริษัทมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน และสามารถสื่อสารเป้าหมายดังกล่าวให้พนักงานรับทราบได้โดยง่าย

2. พนักงานในระดับต่างๆ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และรับทราบว่าการทำงานของตนมีส่วนช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จได้อย่างไร

3. สร้างความเป็นธรรมในการทำงานให้กับพนักงานและมีส่วนช่วยจูงใจให้พนักงานทำงานในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง


ผู้เข้าอบรม

1. ได้รู้ว่าตนเองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำดัชนีชี้วัดผลงานมาก/น้อยเพียงใด อะไรคือจุดที่ยังพิจารณาได้ไม่รอบคอบ (Improvement Area) อะไรคือจุดที่ต้องคงสถานะไว้ เพราะเป็นจุดแข็งหรือจุดเด่นของตนเอง (Strengthen Area)

2. ได้รับโอกาสในการรับฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ และเกิดความเชื่อมั่นต่อการปฏิบัติได้มากขึ้น

3. มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือต่างๆ และเห็นมุมมองที่แตกต่าง เพื่อนำไปต่อยอดสำหรับการปรับปรุงและพัฒนาดัชนีชี้วัดผลงานได้อย่างดีเยี่ยมต่อไป


รูปแบบการเรียนรู้ เป็นการฝึกอบรมแบบเข้มข้น (Intensive Learning Course) ผ่านวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายและเน้นการลงมือปฏิบัติมากกว่าการได้ฟัง ซึ่งได้แก่ การบรรยาย การยกกรณีตัวอย่าง (Example Case) ทั้งที่ล้มเหลวและประสบความสำเร็จ เน้นการลงมือปฏิบัติ (Workshop) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำผลการเรียนรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ จนสุดท้ายสามารถพัฒนาดัชนีชี้วัดผลงาน และสามารถให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำดัชนีชี้วัดผลงานที่ถูกต้องได้เอง  

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการฝึกอบรม

· ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการจัดทำดัชนีชี้วัดผลงาน ได้แก่

- นิยาม ความหมาย ความจำเป็นที่ต้องมีการวัดผลงาน

- วิวัฒนาการของการวัดผลงาน และเครื่องมือที่ใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

- วิธีการตั้งเป้าหมาย และดัชนีชี้วัดผลงานหลักองค์กร

- วิธีการตรวจสอบคุณภาพดัชนีชี้วัด และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างดัชนีชี้วัดด้วยหลักการ SMART

· ทดลองออกแบบดัชนีชี้วัดผลงาน ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ Workflow & Stakeholder Analysis, KPI Alignment

· Analysis from BSC to Department & Individual KPI

· รูปแบบของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี

- เทคนิคการกำหนดปัจจัยและน้ำหนักที่จะใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

- เทคนิคการกำหนดผู้ประเมินและรอบการประเมิน

- เทคนิคการติดตามผลและการสอนงาน

- เทคนิคการแจ้งผลการปฏิบัติงานประจำปี

· การบริหารผลงานเพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมาย

- เทคนิคการติดตามผลและการสอนงาน

- เทคนิคการให้รางวัล และแรงเสริมเพื่อจูงใจให้มีผลงานสูงขึ้น

- เทคนิคการแจ้งผลการปฏิบัติงานประจำปี

· ทดลองฝึกปฏิบัติแจ้งผลการปฏิบัติงานและแนวทางการพัฒนารายบุคคล

· สรุปบทเรียน ทบทวนวิธีการจัดทำ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและถูกต้องสูงสุด

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: knctrainingcenter, การจัดทำดัชนีชี้วัดผลงาน, ดัชนีชี้วัดผลงาน, Measurement Principle