หลักสูตร "โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program)"

รหัสหลักสูตร: 65296

จำนวนคนดู 1830 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม
สอนสดออนไลน์

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักการและเหตุผล:

         โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 กำหนดให้นายจ้างจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการในกรณีที่สภาวะการทำงาน ในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

(1) นโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน

(2) การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)

(3) การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)

(4) หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียง การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการแล้วแจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ

ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยินโดยให้ดำเนินการ ดังนี้

  • ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric sting) แก่ลูกจ้างที่สัมผัสเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้นไป และให้ทดสอบสมรรถภาพ การได้ยินของลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้ลูกจ้างทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่นายจ้าง ทราบผลการทดสอบ
  • ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายจ้าง ทราบผลการทดสอบ กรณีพบว่าลูกจ้างมีสมรรถภาพการได้ยินเป็นไปตามข้อ 6

ข้อ 5 หากผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน พบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่ 15 dB(A) ขึ้นไป ที่ความถี่ใดความถี่หนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด

ข้อ 6 ให้นายจ้างจัดทำและติดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ในแต่ละพื้นที่ เกี่ยวกับผลการตรวจวัดระดับเสียง ติดป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดัง

ข้อ 7 ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยินความสำคัญ ของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุม ป้องกัน และการใช้อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลแก่ลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลา การทำงาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้นไป

ข้อ 8 ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง

ข้อ 9 ให้นายจ้างบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามข้อ 3 ถึงข้อ 10 เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้


ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะอบรมให้ความรู้แก่พนักงานในสถานประกอบการได้ทราบถึง ตลอดจนแนวทางในการป้องกันอันตรายจากเสียงดัง (Noise) และการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบการให้สอดคล้องตามกฎหมายกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงานของเรา


วัตถุประสงค์:

1.เพื่อให้พนักงานทราบหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ

2.เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้พนักงานเกิดการสูญเสียการได้ยินจากการปฏิบัติงาน

3.เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสูญเสียการได้ยิน

4.เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากการสูญเสียการได้ยินที่นำไปสู่การปฏิบัติตนให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากเสียงดังอยู่เสมอ

5.เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากเสียงดังในสถานประกอบการและนำไปสู่การปกป้องตนเองจากเสียงดังได้ตลอดเวลาทำงาน

6.เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกต้อง

สอนสดออนไลน์ผ่านทาง Facebook

หัวข้ออบรมสัมมนา
เนื้อหา/กำหนดการ:

•ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

•ทบทวนข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น

•นโยบายมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน / หน้าที่รับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง

•ความอันตรายของเสียงดัง

•ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียการได้ยิน

•การสำรวจระดับเสียงในพื้นที่ทำงานและการเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)

•การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)

•การตรวจประเมินสมรรถภาพการได้ยิน

•การใช้งานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการป้องกัน

•มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

•แนวทางควบคุมและป้องกันอันตรายจากเสียงดัง (Noise)


ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: Hearing, อนุรักษ์การได้ยิน, Hearing Conservation Program, ได้ยิน, เสียง, ความปลอดภัย