เเนะนำคอร์สอบรม 26 มิถุนายน 2561...เจาะลึก ประเด็นการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายภายใต้ MOU

รหัสหลักสูตร: 54943

จำนวนคนดู 553 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางตำแหน่งงานที่คนไทยไม่ทำ รัฐบาลจึงได้แก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการได้มีแรงงานเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ทำข้อตกลงสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือเรียกว่า MOU กับประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย อาจจะมีเหตุผลเพื่อการสื่อภาษาได้ง่าย – การนับถือศาสนา – สะดวกในการเดินทางเข้า – ออก อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวมีรายได้ มีงานทำ และได้มีโอกาสพัฒนาประสิทธิภาพแรงงานได้อีก

วัตถุประสงค์

      1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความเข้าใจ ถึงวิธีการ หรือขั้นตอนการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับองค์กรได้ถูกต้อง ตามกฎหมายแรงงานไทย

      2. เพื่อให้การบริหารการจัดการแรงงานต่างด้าว ได้รับสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงานไทย และได้รับทราบการกล่าวโทษทางวินัย ของนายจ้าง – ลูกจ้าง ที่ทำผิดจะได้รับโทษอย่างไร?

      3. เพื่อให้นำองค์ความรู้จากการอบรม ไปปฏิบัติจริงต่อการบริหารแรงงานต่างด้าว และแรงงานไทยให้อยู่ร่วมกันในองค์กร อย่างมีความสามัคคีกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้ออบรม

   1. ข้อตกลงสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาล ภายใต้ MOU มีวัตถุประสงค์อะไร?

   2. รัฐบาลไทยได้ออกข้อกำหนด การบริหารจัดการ การจ้างแรงงานต่างด้าว มีขึ้นเพื่ออะไร?

   3. นายจ้างขาดแคลนแรงงาน ตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ ปัญหามาจากอะไร?

   4. การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน จะเกิดผลดี ต่อองค์กรอย่างไร?

   5. การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน จะเกิดปัญหาต่อการบริหาร – การจัดการ อย่างไร?

   6. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ และบทบาทหน้าที่ – ความรับผิดชอบ มีอะไรบ้าง?

   7. นายจ้างมีสิทธิจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานภายใต้ MOU มีงานประเภทไรบ้าง?

   8. การแจ้งความประสงค์ที่จะนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในองค์กร ต้องเตรียมเอกสาร และดำเนินการอย่างไร?

   9. ขั้นตอนการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน อย่างถูกกฎหมายภายใต้ MOU ที่นายจ้างนำเข้าเอง หรือผ่านบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว เข้ามาทำงานในประเทศ ต้องดำเนินการอย่างไร?

   10. แรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานเป็นผู้บริหารในองค์กร จ้างให้ถูกกฎหมาย ต้องดำเนินการอย่างไร?

   11. แรงงานต่างด้าวแจ้งความประสงค์สมัครงานที่หน้าบริษัทฯ นายจ้างต้องตรวจสอบเอกสารอะไร? และนายจ้างมีสิทธิรับเข้าทำงานได้หรือไม่?

   12. ค่าใช้จ่ายในการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในองค์กร มีจำนวนเท่าใด?

   13. กรณีลูกจ้างต่างด้าวไม่ผ่านการทดลองงาน นายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร?

   14. กำหนดสภาพการจ้างแรงงานต่างด้าว ให้ต่างกับแรงงานไทย ทำได้หรือไม่

   15. กำหนดอัตราค่าจ้าง – ค่าตอบแทน – ค่าสวัสดิการ ให้กับแรงงานต่างด้าวต่างกัน ทำได้หรือไม่?

   16. กำหนดวันลาให้กับแรงงานต่างด้าว เพื่อลากลับภูมิลำเนาเดิม ทำได้หรือไม่?

   17. แรงงานต่างด้าวต้องมีเอกสารติดตัวตลอดเวลา เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานภาครัฐมีอะไรบ้าง?

   18. ต่างด้าวมีหนังสือเดินทางเข้าเมืองมาในนามนักท่องเที่ยว นายจ้างจะรับเข้าทำงานเป็นแม่บ้าน และจะขอจดทะเบียน เพื่อทำใบอนุญาตทำงาน ทำได้หรือไม่?

   19. แรงงานต่างด้าวลาป่วยเป็นอาจิณ นายจ้างจะลงโทษ หรือเลิกจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร?

   20. กฎหมายประกันสังคม ลูกจ้างต่างด้าว ได้รับสิทธิ 7 ประการ มีอะไรบ้าง

   21. ลูกจ้างทำงานครบสัญญาจ้างจึงกลับไปประเทศต้นทาง เมื่อกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง สิทธิทางประกันสังคม จะนับอายุต่อเนื่องกันหรือไม่?

   22. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับแก้ไขใหม่ กำลังจะประกาศใช้ เพิ่มสิทธิต่างๆ แก่ลูกจ้าง มีกรณีอะไรบ้าง?

   23. ลูกจ้างต่างด้าวเป็นกรรมการสวัสดิการ – กรรมการลูกจ้าง ได้หรือไม่?

   24. ลูกจ้างต่างด้าวเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ได้หรือไม่?

   25. เมื่อเกิดปัญหาการสื่อภาษาแรงงานต่างด้าวกับผู้บังคับบัญชา ผจ.บุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไร?

   26. บริษัทฯ ประสบปัญหาการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้กับพนักงาน ผจ.บุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไร ที่จะเข้าไปชี้แจงให้กับพนักงานเข้าใจ และยุติปัญหาได้

   27. ลูกจ้างต่างด้าวทำงานดี เมื่อครบสัญญาจ้าง บริษัทฯ มีเจตนาจะจ้างให้ทำงานต่อ จะต้องดำเนินการอย่างไร?

   28. ลูกจ้างต่างด้าวมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด นายจ้างจะเลิกจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร?

   29. ในวันหยุดของลูกจ้างต่างด้าว หัวหน้างานจ้างให้ไปต่อเติมบ้านพักของตน โดยจ่ายค่าจ้างเอง จะมีความผิดหรือไม่?

   30. นายจ้างรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้าง – ลูกจ้าง จะได้รับโทษทางแพ่ง และทางอาญา อย่างไร?

   31. แรงงานต่างด้าวมีความผิดร้ายแรง ตามข้อบังคับในการทำงานของนายจ้าง ที่จะต้องถูกเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชย มีกรณีอะไรบ้าง?

   32. เลิกจ้างลูกจ้างต่างด้าวอย่างไร ไม่ให้เกิดปัญหามาฟ้องนายจ้างภายหลังได้

   33. เมื่อลูกจ้างต่างด้าวถูกเลิกจ้าง ไปร้องทุกข์ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ ทำได้หรือไม่?

   34. เมื่อลูกจ้างต่างด้าวถูกเลิกจ้าง ไม่ได้รับความเป็นธรรม ไปฟ้องศาลแรงงานได้หรือไม่?

   35. คำพิพากษาฎีกา 70 คดี ที่ตัดสินคดีแรงงาน ผู้จัดการฝ่ายบุคคลควรรู้ มีคดีอะไรบ้าง?

    ถาม – ตอบ – แนะนำ

โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ. 26
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd