Happy workplace การสร้างองค์กรให้มีความสุข

รหัสหลักสูตร: 63078

จำนวนคนดู 1230 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
หลักการและเหตุผล

บทบาทหนึ่งที่พนักงานทุกคนควรมีนั่นก็คือ การมีส่วนช่วยผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จมาจากการปฎิบัติงานที่มีพลังมีชีวิตชีวา ตั้งใจ ขยันขันแข็ง เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น แต่ถ้าว่าในความเป็นจริงทุกองค์กรยังมีพนักงานบางส่วนที่ปฎิบัติงานอย่างไม่ตั้งใจสร้างผลงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหรือต่ำกว่ามาตราฐานการทำงาน

         บางครั้งช่วงเวลาทำงานยังอาจแสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เฉื่อยชา ไม่สนใจว่าผลงานจะออกมาดีหรือไม่ดีอย่างใด ไม่เคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน อีกสารพัดปัญหาที่ทำ

          ให้พนักงานในองค์กรหมดไฟในการทำงาน ด้วยเหตุที่พฤติกรรมของพนักงานแต่ละคนได้รับอิทธิพลจากแรงจูงใจและสิ่งกระตุ้นจากจิตสำนึกของตัวพนักงานนั้นเองและจากแรงจูงใจภายนอก

        องค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีผลมาจากความสุขของคนภายในองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยแรกที่องค์กรควรต้องคำนึงถึง เพราะฉะนั้น Happy workplace จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้การบริหารงานราบรื่น เมื่อคนในองค์กรมีความสุข สนุกกับสิ่งที่ตัวเองทำ เกิดความภูมิใจ เห็นคุณค่าของงาน

         การมองเห็นคุณค่าของงานและเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนรู้จัก เข้าใจคนรอบข้าง ทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้เกิดการกระตุ้น เสริมพลังการทำงาน และสร้างแรงจูงใจ ในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลงานที่ดี เกิดความคิดสร้างสรรค์ ลดความขัดแย้งในการทำงาน เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่ดี สามารถส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร ทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้า และการพัฒนาที่ยั่งยืน

        การได้รับอิทธิพลจากสภาพการณ์ต่างๆ ขององค์การทั้งทางกายภาพและสังคม หากเราสามารถสร้างปัจจัยเหล่านี้ให้กลายเป็นแรงบันดาลใจ ก่อให้เกิดปัญญาที่งดงาม สร้างประโยชน์ให้กับชีวิตและการงานได้อย่างสูงสุด เป็นรูปธรรม ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตของพนักงานและขององค์กรโดยรวมอย่างมีความสุข

         การจะให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น บุคลากรต้องได้รับการเรียนรู้และเข้าใจในแนวคิดที่ถูกต้องในการทำงาน ปรับทัศนคติให้เป็นเชิงบวก สามารถนำสิ่งที่รู้และเข้าใจมาใช้ในการทำงานได้เต็มศักยภาพของแต่ละคน การจัดอบรมและสัมมนาเรื่อง องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) จะช่วยสร้างจิตสำนึกในความรักและผูกพันของพนักงานให้เกิดมีขึ้นกับองค์กร พนักงานมีความสุขในการทำงาน มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

            จากการอบรมที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นส่วนงานไหน ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทุกองค์กรประสบพบเจอก็คือ พนักงานเข้าอบรมแล้ว ช่วงแรกจะมีไฟในการทำงาน แต่หลังจากนั้นก็จะหมดไฟลงไปเรื่อยๆ แล้วก็รอปีต่อไปที่จะทำการจุดไฟให้ลุกขึ้นอีกครั้ง

         ซึ่งถ้ามาดูกันแล้วจะเห็นได้ว่าน่าจะอยู่แค่ประมาณ 1-2 เดือน ที่ผลงานจะดีขึ้น และหลังจากนั้นจะพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานจะค่อยๆทรงตัวและลดลงไปในที่สุด ส่งผลให้องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ เริ่มไม่เห็นความสำคัญของการฝึกอบรม

          จึงมองแค่อบรมตามกฎหมายหรือตามนโยบายของบริษัท ทั้งๆที่การฝึกอบรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่เพราะขาดความเข้าใจในการที่นำมาปรับใช้ และความต่อเนื่องในการอบรมรวมไป ทั้งการเฝ้าติดตามประเมินผลหลังอบรมไม่มีการติดตามผล (ก่อนอบรม หลังอบรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน)

        และหลังจากการฝึกอบรมแล้วกลับมาในบรรยากาศเดิมๆ มีความขัดแย้ง และปล่อยให้มันกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ขององค์กร บางครั้งก็สายเกินแก้ไขทำให้ สูญเสียโอกาสต่างๆ ในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างน่าเสียดาย

        Happy workplace องค์กรแห่งความสุข (สุนทรียะแห่งองค์กร) จึงเป็นแนวทางที่สำคัญยิ่งที่ผู้บริหารควรตระหนักถึงเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและมีความสุขในการทำงาน ท้ายที่สุดก็จะส่งผลดีแก่ตัวผู้บริหารและองค์กรเอง

วัตถุประสงค์ :

 1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้แนวคิดทัศนคติและหลักการในการสร้างองค์กรแห่งความสุข และนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีก่อให้เกิดความสุข

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ลงมือปฏิบัติจริง และร่วมทำกิจกรรมสร้างประสบการณ์ในการสร้างองค์กรแห่งความสุข รวมทั้งได้กรอบแนวความคิดต่างๆ ในการทำงาน

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานและสร้างองค์กรแห่งความสุขไปด้วยกัน

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ Happy workplace องค์กรแห่งความสุข (สุนทรียะแห่งองค์กร) เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการต่างๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจวิถีแห่ง Happy workplace องค์กรแห่งความสุข (สุนทรียะแห่งองค์กร) และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน

เนื้อหาหลักสูตร:

Module 1 : นิยามความสุขในที่ทำงาน

•ความหมายที่แท้จริงของการสร้างความสุข

มุมมองรอบด้าน เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงชีวิตกับการทำงานอย่างลงตัว ที่ประกอบไปด้วย

Happy Body (สุขภาพดี) มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ

Happy Heart (น้ำใจงาม) มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันและกัน

Happy Family (ครอบครัวดี) มีครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง

Happy Brain (หาความรู้) การศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเองตลอดเวลา

Happy Relax (ผ่อนคลาย) รู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต

Happy Soul (ทางสงบ) มีความศรัทธาในศาสนา และการทำสมาธิ

Happy Society (สังคมดี) มีความรักสามัคคี เอื้อเฟื้อต่อชุมชนที่ตนทำงาน

•ความสุข ความทุกข์ ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร และมีผลอะไรกับชีวิต

•ร่วมกันออกแบบกิจกรรม “ความสุขในที่ทำงานของตัวคุณ”

 Module 2 : อะไรที่ทำให้ไปไม่ถึง ความสุข

งานไม่สร้างสรรค์ หรือ คนไม่สร้างเสริม จึงไม่เกิดการสร้างสุข

องค์กรที่ไม่สร้างสุขเกิดจากสาเหตุอะไร

เทคนิคจัดการกับปัญหา และคนหมดไฟในที่ทำงาน

ร่วมทำกิจกรรม : หาที่มาของเหตุผลของการไม่มีความสุขในที่ทำงาน

 Module 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน

ความพร้อม และความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย

ความพร้อมของจิตใจ

วิถีการทำงาน

สัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อร่วมงาน หัวหน้า และลูกน้อง

สภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน

ร่วมทำกิจกิจกรรม : ผลงานที่ออกมาจากความสุขในการทำงาน

 Module 4 : เพิ่มพลังกายและพลังใจ มุ่งสู่ความสุขในการทำงานด้วยหลักการของ 5Q (IQ EQ OQ AO UQ)

พัฒนาทักษะการทำงาน – ทำงานยากให้เป็นงานง่าย

สร้างแรงบันดาลใจ ในการทำงาน

เสริมสร้างแรงกาย ปลุกพลังใจ ในการทำงาน

กิจกรรม : เติมเต็มความสุขในการทำงาน

พัฒนาทักษะชีวิต – เสริมสร้างมุมมองเพื่อการเปลี่ยนแปลง

วิธีผ่อนคลายความเครียดในที่ทำงาน

ผ่อนคลายสรีระ

ผ่อนคลายอารมณ์

ผ่อนคลายการกระทำ

กิจกรรม : การผ่อนคลายความเครียด

สรุปคำถามและคำตอบ

ประโยชน์ที่จะได้รับ:

 1. ผู้เข้าอบรมได้แนวคิดทัศนคติและหลักการในการสร้างองค์กรแห่งความสุข และนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีก่อให้เกิดความสุข

2. ผู้เข้าอบรมได้ลงมือปฏิบัติจริง และร่วมทำกิจกรรมสร้างประสบการณ์ในการสร้างองค์กรแห่งความสุข รวมทั้งได้กรอบแนวความคิดต่างๆ ในการทำงาน

3. ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานและสร้างองค์กรแห่งความสุขไปด้วยกัน

4. ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ Happy workplace องค์กรแห่งความสุข (สุนทรียะแห่งองค์กร) เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการต่างๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

5. ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจวิถีแห่ง Happy workplace องค์กรแห่งความสุข (สุนทรียะแห่งองค์กร) และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมายและจำนวนผู้เข้าอบรม

 พนักงานทุกระดับที่ต้องการมีความสุขและบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย 30 %

2.Dialogue /แชร์มุมมอง/ กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 70%

ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้ (Outcomes)

         บุคคล

•ได้เรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเอง และผู้อื่นอย่างเข้าใจ

•ได้เข้าใจตนเองและผู้อื่นด้วยแบบทดสอบสัตว์สี่ทิศ

•สามารถใช้หลักของ Happy workplace เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

•ได้เข้าใจวิธีลดความตึงเครียดในการทำงานร่วมกันด้วยหลัก Happy workplace

•สามารถนำความรู้เรื่อง Happy workplace ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข

          ครอบครัว

•ได้ผู้นำครอบครัวและสมาชิกของครอบครัวที่เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเองและคนในครอบครัวด้วยหลักการของ Happy workplace

•ประชาธิปไตยและเสรีภาพบนความรับผิดชอบร่วมกันเริ่มต้นที่ในบ้าน

         องค์กร

•ได้พนักงานที่มีทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน

•พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น

•นโยบายขององค์กรถูกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติได้เร็วขึ้น

•ได้รับการยอมรับในเรื่ององค์กรยุคใหม่ใส่ใจในทุกๆ ด้านของผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด (ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย)

•ผลกำไรที่ยั่งยืน ส่งผลทำให้ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย อยู่กันอย่างเกื้อกูล

•เป็นองค์กรที่มีความสำเร็จและมีความสุข


วิทยากร
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: การสร้างองค์กร, การสร้างองค์กรให้มีความสุข, Happy workplace, องค์กร