20 เคล็ดลับลดความกังวลสู่ความสดใส
พัฒนาตนเอง พัฒนาบุคลิกภาพ

จำนวนเข้าชม 2376 ครั้ง

20 เคล็ดลับลดความกังวลสู่ความสดใส

Sponsored
หลักสูตรอบรม ผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร สำหรับอาคารควบคุม+โรงงานควบคุม (Energy Internal Audit for Building and Factory)

                      ตามกฎ...

ดูรายละเอียด
อบรมหลักสูตร Training Roadmap & IDP Based on Competency Class Room

                   วัตถุประสงค์  ...

ดูรายละเอียด

ฮาโหลๆๆ สวัสดีฮ่ะ …..วี๊ดวิ้ว…อิอิ

วันนี้มาพบเจอกับฮะเก๋ากันอีกแย้ว…คิคิ วันนี้ฮะเก๊าเอาเคล็ดลับมาฝากด้วยแหละ

หลายๆ คน ทั้งที่ทำงานแล้วก็ที่บ้าน ต่างก็มีความกังวลในเรื่องต่าง ๆ นับร้อยเรื่อง

ฮะเก๊าเข้าใจเลยแหละ ว่าการกังวลนั้นมันส่งผลกระทบในหลายๆด้าน เช่น

– ด้านการเรียน

– ด้านการทำงาน

– ด้านการกิน

– ด้านการนอน

โอ้โห!!! อีกตั้งมากมายหลายด้าน ฮะเก๊าบอกไม่หมดหรอก คิคิ เอาเป็นว่าฮะเก๊า

มีวิธีมาช่วยแก้แล้วกันนะ วิธีนี้ก็คือ…..”20 เคล็ดลับลดความกังวลสู่ความสดใส

 

ไม่อยากมีความกังวลมาอ่านเลยนะ….ฮะเก๊ารออยู่  อิอิ

#สัมมนาดีดี  #เคล็ดลับลดความกังวลสู่ความสดใส

#แชร์วนไป  #เคล็ดลับลดความกังวล

 

1.ทุกปัญหามีทางแก้

ในเมื่อมีเรื่องยุ่งยากมากมายที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นได้ทุกวี่ทุกวัน  หลายๆ คนทั่วไปมักจะชอบวิตกกังวลส่งผลให้การแก้ไขปัญหาไร้ประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นอย่าเอาแต่กังวล นั่งจมกองความทุกข์ แล้วลองระลึกอยู่สมองเสอมว่า เมื่อมีปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไข และควรคิดหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิด สุดท้ายมันจะเจอทางออกได้เอง

 

2.ยิ้ม

เราควรฝึกยิ้มหน้ากระจกวันละหลายๆ รอบ ดูหนังตลก รายการตลก หัวเราะเยอะๆ ทุกวัน เฉลี่ยได้ทุกสองชั่วโมงจะดีมากๆ  แล้วอย่าลืมทำให้เป็นนิสัยเพราะจิตใต้สำนึกมันจะเริ่มตั้งโปรแกรมใหม่ให้เรามีจิตใจที่เบิกบาน

 

3.บอกเล่าอาการให้กับที่ไว้ใจ

ถ้าเรามีเพื่อนที่สนิทมากๆๆ ถึงมากที่สุด เราควรเล่าเรื่องหรือระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้เค้าฟัง เผื่อเค้าจะช่วยเราคิดหาวิธีแก้ไข แล้วเค้าอาจจะช่วยเรียงลำดับเรื่องราวที่เกิดและลำดับการแก้ไขปัญหาที่เกิดอีกก็ได้นะ แล้วสุดท้ายอะไรที่มันอยู่ในหัวสมองอยู่ในใจแล้วมันอึดอัดก็โล่งทันตาเห็น

 

4.ถอยตัวเองไปทำอย่างอื่นก่อน

นั่นก็คือในเมื่อเราทำสิ่งนี้แล้วมันทุกข์มาก แก้ปัญหาสิ่งนี้ไม่ได้เลย เราก็ควรพักสิ่งนี้ไว้ก่อน ไปทำสิ่งที่มันสบายใจ เช่น ทำอาหาร ,ทำขนม ,เย็บปักถักร้อย เป็นต้น พอเราคิดออกแล้วว่าจะแก้ไขปัญหาตรงนั้นยังไงค่อยกลับมาทำ

 

5.แยกปัญหาที่เกิด

ข้อนี้ก็สำคัญเลยเชียวนะ เราควรแยกแต่ละเรื่องออกจากกัน งานเราอาจผิดพลาดแต่เมื่อจบงานแล้วก็ควรวางไว้ตรงนั้นเป็นเรื่องของงานไม่ใช่เรื่องของเรา งานล้มเหลวไม่ได้หมายความว่า ครอบครัวชีวิตส่วนตัวจะแย่ตาม พาลเอาไม่มีความสุขกับทุกเรื่องไปด้วย

 

6.คิดอย่างเป็นระบบ

เราควรเรียงลำดับก่อนหลังให้ถูกต้องเสมอ ที่สำคัญพักเรื่องที่ยังมาไม่ถึงหรือเรื่องที่ไม่จำเป็นไว้ก่อน เพื่อให้สมองเราได้พักผ่อน แล้วไม่ควรทำอะไรในเวลาเดียวกัน  มันจะทำให้เราสับสนจนทำให้เรากังวลมากขึ้นกว่าเดิม

 

7.ยอมรับความไม่เที่ยง

หนึ่งในหลักธรรมทางพุทธศาสนา คือ อนิจจัง หมายถึงความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาบุคคลจึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และเรียนรู้ที่จะอยู่และอดทนกับความไม่แน่นอน เพราะการยอมรับในสิ่งไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นในชีวิต จะช่วยให้ไม่ทุกข์จนเกินไป และความวิตกกังวลก็น้อยลง ส่งผลให้มีความสุขมากขึ้น

 

8.หยุดพักความคิด

ถ้าเรารู้สึกว่า เราชักจะจมอยู่กับความผิดหวังความท้อแท้ ดิ่งลึกลงไปทุกทีแล้วล่ะก็ ควรจะหยุดพักความคิดสัก 10 นาที หรือ 1 ชั่วโมง แล้วหันไปทำอย่างอื่นเพื่อดึงตัวเองให้หลุดออกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เราเกิดทัศนคติทางลบ เมื่อเราถอยออกมาจากเหตุการณ์นั้น ถอยออกมาเพื่อมองย้อนกลับเข้าไปใหม่ เราอาจเห็นทางออกของปัญหาที่รุมเร้าก็เป็นได้

 

9.ใช้เวลากับสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์

การยึดติดกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องที่เปล่าประโยชน์มาก ๆ ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเราตามไปแก้ไขอะไรไม่ได้อีก เปลี่ยนความหม่นหมองเป็นพลังผลักดันในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดประโยชน์จะดีกว่า ไม่เพียงแต่เราจะสามารถลดความวิตกกังวลได้แล้ว ยังช่วยให้เรารู้สึกดีกับความสำเร็จในครั้งใหม่อีกด้วย

 

10.อยู่กับปัจจุบัน

เราใช้เวลาหมกมุ่น เฝ้าความกังวลกับที่ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เหลือเวลาน้อยลงกับความสุขที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ดังนั้น อย่าจดจ่ออยู่กับเรื่องที่เป็นกังวล ขอให้โฟกัสในสิ่งที่กำลังทำอยู่ในเวลานั้น เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ ทำสวน ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ลืมความวิตกกังวลไปได้บ้าง

 

11.แบ่งเวลาจัดการเรื่องที่กังวล

ในเมื่อมีสิ่งที่ยังต้องครุ่นคิดเป็นกังวล ควรหาทางรับมือกับมันอย่างชาญฉลาด ด้วยการแบ่งเวลาให้กับเรื่องนั้นๆโดยเฉพาะ เช่น อาจให้เวลา 1 ชม. หลังเลิกงาน เพื่อจัดการกับปัญหา ส่วนจะแก้ไขสำเร็จหรือไม่นั้น เมื่อครบเวลาที่กำหนดไว้ ก็ควรหยุด และพาตัวเองออกจากสถานการณ์นั้น แล้วกลับบ้าน อาบน้ำพักผ่อนให้คลายเครียด วันรุ่งขึ้นค่อยหาหนทางใหม่แก้ไขกันต่อไป

 

12.จินตนาการเรื่องดีดี

การจินตนาการว่าเหตุการณ์จะต้องออกมาดีแน่นอน ต้องทำอย่างเป็นประจำข้อนี้อาจจะยากไปสักหน่อย แต่ว่ามันดีจริงๆ นะ โลกมันจะเป็นบวกหรือลบขึ้นอยู่กับมุมมองของเราเอง

 

13.เข้าสังคมบ่อย ๆ

ข้อนี้ก็เป็นทางเลือกที่ดีเหมือนกันนะ แต่เราก็ต้องเลือกคบกับคนดีๆ ไม่ใช่ไปรวมกลุ่มกับคนลบๆ แบบนั้นมันจะทำให้เรายิ่งกังวลเข้าไปอีกนะ ถ้าเราคบกับคนที่ดี ๆ รับรองความรู้สึกนั้นจะดีขึ้นมาทันที เพราะคนที่เพื่อฝูงคอยซัพพอร์ทสนับสนุนเยอะจะมีความกังวลน้อยลง

 

14.จดความคิดกังวลลงในกระดาษ

นี่แหละก็สามารถระบายออกได้อีกหนึ่งช่องทาง คือการจดความกังวลของตัวเองว่ามีอะไรบ้าง แล้วลองมาอ่านดูสิว่าแต่ละข้อนั้น มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน?? ควรพิจารณาซ้ำๆกัน พออันไหนมันไม่สัคัญก็ทิ้งมันไป

 

15.อย่าอยู่กับอารมณ์ด้านลบ

อารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้น อาทิ ความกระวนกระวาย ความเศร้าโศก ความโกรธ ความรู้สึกผิด ความละอายใจ หรือแม้แต่อาการที่เกิดขึ้นทางร่างกาย เช่น ความเหนื่อยล้า ความเจ็บปวด เหล่านี้ล้วนเป็นตัวเร่งให้ความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น

 

16.อย่าหลอกตัวเอง

ถ้าเป็นคนขี้กังวล มีแนวโน้มจะหลอกตัวเองว่า ที่กังวลใจเพราะกำลังคิดหาวิธีจัดการปัญหา ซึ่งในความเป็นจริงในทางตรงกันข้าม กลับส่งผลร้ายให้มากกว่า เพราะทุกครั้งที่คุณเกิดความกังวล ความเครียดก็ตามมาติดๆ และเจ้าความเครียดนี่เองที่เป็นบ่อเกิดของสารพัดโรคร้าย

 

17.ทำใจให้เป็นสุข

เราจะสุขหรือทุกข์นั้นอยู่ที่ความคิดของเราเป็นตัวกำหนด ถ้าเราตื่นเช้าขึ้นมาและบอกกับตัวเองในทุก ๆ เช้าว่า วันนี้เป็นวันดี ๆ อีกวันหนึ่ง ขอบคุณที่เรายังหายใจ ขอบคุณที่เรายังเดินได้ และยังมีแรงทำงาน ลุกจากที่นอนแล้วบอกตัวเราในกระจกว่า วันนี้จะเป็นวันที่ดี วันที่สดใสของเรา บอกกับ ตัวเองอย่างนี้ทั้งวัน จนเราเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้นจริง และให้มันเป็นไปโดยอัตโนมัติ ความสุขจะเกิดขึ้นที่ใจของเราเอง ซึ่งทำให้เราทำงานด้วยความสุขตลอด ทั้งวัน แม้ว่าจะเจออุปสรรคปัญหานานาประการ

 

18.การนั่งสมาธิ

การนั่งสมาธิเป็นประจำช่วยได้ แต่นั้นหมายถึงต้องสามารถปล่อยใจว่างตลอดในขณะนั่งสมาธิด้วย แค่ทำท่านั่งสมาธิอย่างเดียวมันไม่ช่วยอะไรหรอกนะ ถ้าหากใจไม่หยุดฝุ้งซ่านมันก็เหมือนไม่ได้นั่ง นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์เรียบร้อยแล้วว่าการนั่งสมาธิส่งผลต่อสมองโดยตรง ทำให้เครียดยาก กังวลยาก กลุ่มคนที่เล่นโนคะเป็นประจำเช่นกัน

 

19.อย่าเก็บกดความวิตกกังวล

เมื่อเริ่มรู้สึกวิตกกังวลในบางเรื่อง อย่าพยายามต่อสู้หรือฝืนที่จะไม่เก็บมันมาคิด เพราะเมื่อพยายามกดไว้ ที่สุดแล้วมันจะกระเด้งกลับเข้ามาแรงยิ่งกว่าเดิม วิธีที่ควรทำคือเผชิญหน้ากับมัน ด้วยการเฝ้ามองและรับรู้ แต่ไม่เอาใจเข้าไปผูกพัน หรือเอาจิตเข้าไปปรุงแต่ง และก็ข้ามผ่านไปทำกิจกรรมอื่นๆที่เป็นประโยชน์ และช่วยให้ใจเบิกบาน เช่น รดน้ำต้นไม้ ให้อาหารสัตว์ ฯลฯ

 

20.ในระยะยาวเราต้องวางแผนชีวิต

บริหารเวลาบริหารชีวิต ช่วยให้รู้สึกมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและอนาคตของเราได้ การที่เราไม่มีความพร้อมไม่มีวินัยทางการเงินและเวลา ก็ทำให้ชีวิตแต่ละวันของเราสับสนอลหม่านทำอะไรก็ติดขัดไม่ราบรื่นได้

เคล็ดลับโค้ชฝากบอก ดูเคล็ดลับทั้งหมด »