ความดีงามของครูผู้ให้
การพัฒนาตนเอง

จำนวนเข้าชม 1781 ครั้ง

ความดีงามของครูผู้ให้

Sponsored
อบรม หลักสูตร เอกสารนำเข้า ส่งออก สำหรับ Customer Service และ Document Control

หลักการและเหตุผล     ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งออก-นำเข...

ดูรายละเอียด
หลักสูตร การตรวจประเมินผู้ขายอย่างมืออาชีพ (Supplier Audit as Professional)

การตรวจประเมินผู้ขายอย่างมืออาชีพ (Supplier Audit as Professional) ค...

ดูรายละเอียด

 "ความดีงามของการเป็นครูผู้สอนหรือผู้ให้"

-----------------------------------------

สถานะของการเป็นผู้ให้ หรือให้ความรู้
ในทางพุทธศาสตร์ ท่านให้ความหมาย
และคุณค่าเป็นอย่างมาก เพราะการให้นั้น
มีหลักใหญ่อยู่ 4 ทาง

1.ให้วัตถุทาน
คือให้ ทรัพย์สิน เงินทอง อาหาร ที่อยู่
ยารักษาโรคและที่เป็นวัตถุต่างๆ

2.ให้วิทยาทาน
คือการให้วิชาความรู้ ทักษะเพื่อนำไปใช้
นำไปต่อยอด เพื่อประกอบอาชีพ สร้างรายได้

3.ให้อภัยทาน
คือ การให้อภัยต่อบุคคลที่ได้ล่วงเกินหรือ
ทำกรรมไม่ดีกับเรา หรือกับคนที่เรารัก
หรือสิ่งของที่เรารัก การให้นี้ถือเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่มาก

4.ให้ธรรมทาน
คือ การให้ธรรมะ ให้กำลังใจ
ให้แนวทางการใช้ชีวิต ให้ความรู้เรื่องสัจจะ
ความจริงของโลก ให้ปัญญาความรู้เรื่อง
อริยสัจ 4 ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ การดับทุกข์
และหนทางแห่งการพ้นทุกข์ เหล่านี้เป็นต้น

------------------------------------------------

สถานะความเป็นผู้ให้ นั้นยิ่งใหญ่มาก
ครุ / อุปัชฌายะ / อาจารย์
3 สถานะนี้ เมื่อเป็นแล้ว ต้องเป็นตลอดชีวิต

เพราะให้คุณและโทษกับมนุษย์ผู้เป็นศิษย์
สามารถชี้นำและเปลี่ยนแปลงชีวิตคนให้ดีขึ้น
หรือเลวลงได้ในชั่วเวลาข้ามคืน

ฉะนั้นแล้วการเป็นครู ต้องเป็นด้วยจิตวิญญาณ
ที่บริสุทธิ์ ไม่แอบแฝงผลประโยชน์ของตนเอง
ไม่กล่าวโทษให้ร้ายศิษย์...
ต้องช่วยประคับประคองให้ชีวิตเขาไปถึงฝั่ง

จะเห็นว่าหน้าที่ของครู
เป็นแล้วต้องเป็นแบบอย่างที่ดี

ฝรั่งเค้าใช้คำว่า "You do what I do"
Do not you do what I say

--------------------------------------------

เพราะว่าการที่ครู ใช้ชีวิตแบบที่ครูสอน
แล้วนำมาสอนลูกศิษย์ ก็จะทำให้ศิษย์เกิด
ความรักและศรัทธาในตัวครู

แต่ในทางกลับกัน ถ้าครูสอนให้ทำอย่างนั้น
อย่างนี้ แต่ครูก็ไม่สามารถปฏิบัติตัวให้ได้
ตามแบบที่ครูสอน สิ่งที่สอนก็จะ "ไร้ค่า"

และการเป็นครูที่ดี ก็ไม่ควรติดความดี
เพราะครูไม่เท่ากับ "ความถูกต้อง"
เพราะวันหนึ่ง สอนลูกศิษย์คนหนึ่ง
อนาคตตัวครู อาจต้องไปเรียนกับลูกศิษย์คนนั้น
ครูที่ดี ไม่ควรยึดติด คำว่า "มาก่อน"

เปรียบเสมือน "ฆ้อง"ที่อยู่ในวัด
การที่ฆ้องจะดังได้ ต้องมีผู้ศรัทธาไปตีมัน
มันไม่สามารถดังขึ้นได้เองโดยลำพัง

ดังนั้น ตัวครู ต้องเปิดใจกว้างรับคำวิจารณ์
ของศิษย์ด้วยใจเป็นธรรม เป็นกุศล
จึงจะเกิดประโยชน์กับทั้งตัวครูและศิษย์

----------------------------------------------

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่มีเจตนาอกุศลใดๆ
เพียงอยากให้ การศึกษาที่เกิดจากผู้ให้
เป็นการให้ที่เกิดประโยชน์ เป็นกุศล
และเจริญก้าวหน้า ทั้งทางโลกและธรรม

ทั้งนี้เขียนด้วยใจที่บริสุทธิ์ปราศจากอคติใดๆ

ด้วยรัก และหวังดีไม่เสื่อมคลาย

# AR.Toni จิตพาดี
# TheArtcher Connection

เคล็ดลับโค้ชฝากบอก ดูเคล็ดลับทั้งหมด »

วิทยากรด้าน การพัฒนาตนเอง ดูวิทยากรทั้งหมด »