เรือยักษ์กลายเป็น ไอ้เข้ขวางคลอง ขวางแบบสะเทือนโลกเลย !
การตลาด/การขาย

จำนวนเข้าชม 2954 ครั้ง

เรือยักษ์กลายเป็น ไอ้เข้ขวางคลอง ขวางแบบสะเทือนโลกเลย !

Sponsored
หลักสูตร ขั้นตอน เทคนิค กระบวนการนำเข้า-ส่งออก และพิธีการศุลกากร สำหรับผู้ประกอบการมืออาชีพ ( Important Rules of Export, Import and Customs Formality )

หลักการและเหตุผล         ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าหรือส่งออกสินค้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง...

ดูรายละเอียด
หลักสูตร นักจัดซื้อมืออาชีพ (Professional Purchasing Officer)

        นักจัดซื้อมืออาชีพ สำหรับปี 2024 นี้ ผมได้มีการปรับปรุงเนื้...

ดูรายละเอียด

เรือยักษ์กลายเป็น ไอ้เข้ขวางคลอง ขวางแบบสะเทือนโลกเลย !
สะเทือนโลกอย่างไรกัน ! ก็เพราะมันไปขวางในคลองสุเอซน่ะสิ  

คลองสุเอซเป็นคลองที่อยู่ส่วนเหนือของทวีปแอฟริกา คลองนี้ถูกขุดขึ้นมาเพื่อช่วยในการเดินเรือ ทำให้เรือสามารถแล่นผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังทะเลแดงได้ เพื่อออกไปสู่มหาสมุทรอินเดียได้ ถ้าไม่มีคลองนี้ เรือที่จะเดินทางจากทวีปเอเซียจะไปยุโรป  หรือเรือจากยุโรปจะไปเอเซีย ก็ต้องไปอ้อมทวีปแอฟริกา ตรงจุดที่เรียกว่า แหลมกู๊ดโฮป (ซึ่งอยู่ส่วนใต้สุดของทวีปแอฟาริกา) จะเห็นว่าจะมันช่วยร่นระยะทางได้อย่างมาก ถือว่าคลองนี้มีประโยชน์มากต่อการขนส่งทางเรือ

แต่เมื่อวันที่ 23 มีนาคนนี้  เกิดเหตุการณ์เรือบรรทุกตู้คอนเทรนเนอร์ ขนาดยักษ์ไปเกยตื้นในคลองสุเอช มันเกยตื้นในลักษณะที่ลำตัวของเรือวางขวางกับลำคลอง ทำให้เรือที่จะแล่นผ่านเข้าออกในบริเวณนั้น ไม่สามารถผ่านได้ ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก เรือบรรทุกสินค้าจะติดค้างอยู่ในคลองนั้น และบริเวณใกล้เคียงด้วย (คลองสุเอชมีความยาวประมาณ 160 km ลองนึกดูว่าจะทำให้เรือติดค้างได้กี่ลำ !!)

เรื่องเรือเกยตื้น มันก็เป็นแค่ข่าวชาวบ้านครับ แต่ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า สิครับพวกเขากำลังมึนตึบกันอยู่ สิครับ !

จนถึงตอนนี้ ยังไม่ข้อมูลว่าจะกู้เรือให้กลับมาวิ่งได้เมื่อไหร่ เวลาก็ผ่านไป 2 วันแล้ว และเรือทุกลำที่ติดค้างอยู่ในบริเวณนั้น จะมีความล้าช้าในการไปถึงเป้าหมาย ที่เราเรียกว่า ETA (Estimated time of arrival)

สิ่งนี้จะเป็นปัญหาระหว่าง ผู้ขาย (Exporter) ผู้ซื้อ (Import) ถ้ามีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความล้าช้านั้น ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ !

(ลูกศิษย์ที่มาลงเรียนในหัวข้อ  12 หัวข้อต้องรู้..ที่มากกว่าการนำเข้า/ส่งออก ก็กำลังประสบปัญหานี้อยู่ เพราะบริษัทของเขา ขายชิ้นส่วนให้กับ Car maker ในยุโรป  ซึ่งแผนการผลิต/ประกอบรถยนต์ ได้ถูกวางไว้แล้ว แต่ถ้าชิ้นส่วนไม่สามารถส่งมอบได้ตามแผน จะเกิดความเสียหายขึ้น เช่น ต้องหยุดสายงานการผลิต ก็เลยมีประเด็นว่า ความล้าช้าที่เกิดขึ้น ใครจะต้องรับผิดชอบ)

ผมก็แนะนำได้เคร่าๆดังนี้
1.ไปดูเงื่อนไข การทำ Insurance ว่าครอบคลุมอะไร บ้าง !
2.ไปดูว่า Term of Delivery เป็นอย่างไร (ข้อตกลงที่เกี่ยวกับการส่งมอบ ได้ระบุเงื่อนไว้อย่างไร เช่น CIF / CIP หรืออื่นๆ)

ก็หวังว่าผู้ส่งออก และผู้นำเข้าจะได้นำประเด็นปัญหานี้ จะพิจารณาปรับปรุงข้อตกลงทางการค้า ให้เหมาะสม เพราะถ้ามันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาได้ โอกาสที่จะเกิดขึ้นมาอีกก็ย่อมเป็นไปได้

หมายเหตุ : ณ.ตอนนี้ การค้าระหว่างประเทศได้มีการปรับเงื่อนไขในหารทำข้อตกลง ที่เราเรียกกันว่า Incoerms 2020 แล้ว โดยมีแบ่งประเภทของการขนส่งออกเป็น 2 หมวด และมี Term การค้าที่มีการแตกรายละเอียดออกไปมากกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ทำกัน 

จากข่าวนี้ ลมกรรโชกสุดโหดพัด “เรือคาร์โกเดินสมุทร” ขนาดกว่า 200,000 ตันปลิวเกยตื้นในคลองสุเอซ        https://mgronline.com/around/detail/9640000028258

ขอบคุณภาพจาก True ID

Cr: Anant Vachiravuthichai


เคล็ดลับโค้ชฝากบอก ดูเคล็ดลับทั้งหมด »

วิทยากรด้าน การตลาด/การขาย ดูวิทยากรทั้งหมด »