สรุปประเด็นการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับเบ็ดเสร็จ

รหัสหลักสูตร: 58861

จำนวนคนดู 5421 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 1) มีผลบังคับใช้มากว่า 20 ปีแล้ว และมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วหลายครั้ง อาทิ ออก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560) ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน 2541 กว่า 10 ประเด็น และล่าสุด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ก็ประกาศใช้แล้วโดยจะมีผลใช้บังคับ 5 พฤษภาคม 2562 นี้ ซึ่งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในอีกหลายประเด็น ที่มีผลต่อสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ปัจจุบันยังมีองค์กร หรือผู้กระทำการแทนนายจ้างหลายราย ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน อันเนื่องมาจากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาหลายฉบับ หรือมีการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ จึงขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาและความเสียหายในภายหลัง หลักสูตรนี้จึงจัดขึ้นมาเพื่อสรุปรวบรวมประเด็นสำคัญตั้งแต่ฉบับแรก จนถึงฉบับที่จะประกาศใช้ล่าสุด เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่องในทุกฉบับอยู่ในหลักสูตรเดียว

วัตถุประสงค์

1. ผู้เข้าอบรมได้รู้และเข้าใจใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานทุกฉบับ 

2. ผู้เข้าอบรมได้รู้และเข้าใจประเด็นที่เปลี่ยนแปลงและที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง 

3. ผู้เข้าอบรมเข้าใจเจตนารมณ์ และการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 

4. สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้บริหารและหัวหน้างาน ในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมาย

หัวข้ออบรมสัมมนา
เนื้อหาหลักสูตร

1. แนวทางการบริหารงานบุคคลยุคใหม่ให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร 

2. สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของนายจ้าง ลูกจ้าง หัวหน้างาน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 

3. สาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 4 ที่ประกาศใช้มานานแล้ว 

4. สาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 5 พ.ศ.2560 อาทิ 

· การใช้แรงงานเด็กและเพิ่มเติมบทลงโทษนายจ้าง 

5. สาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 6 พ.ศ.2560 อาทิ 

· บทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภท เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงาน 

· ปรับปรุงบทบัญญัติเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน 

· บทบัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ 

· เพิ่มบทกำหนดโทษกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ 

· การเตรียมการเรื่อง การเกษียณอายุพนักงาน เพื่อรองรับกฎหมายใหม่ 

6. สาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ (7) พ.ศ.2562 จะมีผลใช้บังคับ 5 พฤษภาคม 2562 มีประเด็นหลัก ๆ เช่น 

· การตีความตาม พ.ร.บ.แรงงานใหม่ปี 2562 : ลากิจธุระอันจำเป็น, การกำหนดเงื่อนไขการลากิจ, การย้ายสถานประกอบกิจการ, ค่าชดเชย และอัตราค่าชดเชยใหม่, การแก้ไขข้อบังคับการทำงาน และอื่น ๆ 

· กำหนดให้การเปลี่ยนตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามมาตรา 13 

· กำหนดวันลาและการจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ตามมาตรา 34 มาตรา 57/1   

· เพิ่มอัตราค่าชดเชยกรณีลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ตามมาตรา 118 

· การเปลี่ยนแปลงวันลาเพื่อคลอดบุตร ตามมาตรา 41 และมาตรา 59 

· กำหนดจ่ายค่าจ้างต่างๆ ให้แก่ลูกจ้างชาย-หญิง ในลักษณะ คุณภาพ ปริมาณเดียวกัน เท่าเทียมกันตามมาตรา 53 

· แก้ไขเปลี่ยนแปลงกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ค่าชดเชย พิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยพิเศษ ตามมาตรา 120, 120/1, 120/2  

· และสาระสำคัญอื่น ๆ อีกหลายประเด็น 

7. ขั้นตอนและกระบวนการที่องค์กรต้องตรวจสอบและการปรับปรุงกฎข้อบังคับและเงื่อนไขต่างๆ เพื่อรองรับกฎหมายใหม่ 

8. ทักษะและเทคนิคการบริหารวินัยพนักงานเชิงสร้างสรรค์ 

9. หลักการลงโทษทางวินัย การเลิกจ้างที่เป็นธรรม และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 

workshop : ฝึกปฏิบัติการทดลองทำหน้าที่ตัดสินวินัยพนักงาน กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง 

การวิเคราะห์ปัญหาวินัยพนักงานเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ 


คุณสมบัติผู้เข้าอบรมสัมมนา เจ้าหน้าที่บุคคล, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, ผู้บริหาร และผู้ที่สนใจ 

วิธีการฝึกอบรม

o บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 

o แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 

o ฝึกปฏิบัติ 

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: Knctrainingcenter, พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน, คุ้มครองแรงงาน