การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

รหัสหลักสูตร: 65729

จำนวนคนดู 2693 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม
สอนสดออนไลน์
การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)
รอบที่

-

ยังไม่มีรอบจัดในขณะนี้

ท่านสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีรอบใหม่

        การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ผู้ที่เริ่มพูดถึงแนวคิดนี้เป็นคนแรก คือ Bertalanfy นักชีววิทยา ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และพัฒนาไปสู่สาขาอื่น ๆ เช่น ฟิสิกส์ เริ่มมาจากการตั้งข้อสันนิษฐาน (Thesis) แล้วมีข้อขัดแย้งของสันนิษฐานนั้น ๆ เกิดขึ้นแต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด ดังนั้นจึงเกิดการสังเคราะห์ (Synthesis) สิ่งใหม่และสิ่งเหล่านี้ได้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ความรู้ต่าง ๆ จะพัฒนาเป็นแบบนี้ไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ทุกอย่างเคลื่อนไหว ไม่แน่นอน วิธีคิดแบบนี้มีมานานแล้ว ทุกอย่างมีมูลเหตุความรู้เรื่องทฤษฎีระบบเป็นการมองโลกแบบองค์รวม ดังนั้น ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์จากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่ 

        การคิดเชิงระบบหมายถึง วิธีการคิดอย่างมีเหตุผล ทำให้ผลของการคิด หรือผลของการแก้ปัญหาที่ได้นั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว (Seddon) การคิดเชิงระบบ เป็นการคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบย่อยโดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดยตรง และโดยทางอ้อม ทฤษฎีระบบให้แนวคิดว่า ทุกสิ่งล้วนย่อมอยู่ในเอกภพ รวมทั้งสิ่งเล็กหรือใหญ่ ล้วนเป็นระบบมีวงจรการทำงาน ปัจจัยกระบวนการ เกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบแต่ละหน่วยย่อมมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่ละสิ่งในเอกภพมีความเป็นระบบตามมิติต่างๆ กันในเวลาเดียวกัน (Gharajedaghi)

        อีกทั้งเป็นการคิดที่มีความเข้าใจ เชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐาน ในสมองคนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ความสามารถในการทำได้ดีในระดับความเข้มข้นของระบบแตกต่างกัน (Ackoff) การคิดเชิงระบบ เป็นการมุ่งมองสิ่งต่าง ๆ แบบองค์รวม เป็นกรอบการทำงานที่มองแบบแผนและความเกี่ยวพันกัน สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษคือการมองโลกแบบองค์รวมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การคิดเป็นระบบทำให้ความซับซ้อนเป็นสิ่งที่สามารถจัดการได้ (Senge, 1993: 6) การพัฒนาบุคคลากรให้มีระบบการคิดเชิงระบบ จะช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพ การทำงานต่างๆ ในภาพ ใหญ่ขององค์กรสอดคล้อง สัมพันธ์กันด้วยระบบที่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่เชื่อมสัมพันธ์กันรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน การคิดเชิงระบบจะไม่มองเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่จะมองภาพใหญ่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็น ปัญหาระดับองค์กร แล้วแก้ปัญหาทั้งในภาพใหญ่และภาพย่อย เชื่อมโยง สร้างสรรค์และทำงานเป็นทีมอย่างเป็น ระบบแล้วสามารถพัฒนาต่อเป็น“องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)” แล้วต่อยอดเป็นองค์กร นวัตกรรม (Innovation Organization) ได้ โดยการจะสร้างองค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization) นั้น จุดเริ่มต้นเริ่มจากตัวบุคคล ทีมงาน และองค์กร ดังนั้นการส่งเสริมให้บุคคลากรในองค์มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้ง ในความคิดเชิงระบบ ความสามารถที่เป็นเลิศส่วนบุคคล การทำงานเป็นทีม และการมองเห็นภาพวิสัยทัศน์ร่วมกัน ทั้งองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญ

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

     1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงระบบและสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

     2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงระบบ

     4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงระบบ และสามารถนำไปใช้งานได้

     5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงระบบ

     6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

สอนสดออนไลน์ผ่านทาง Zoom

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้อการอบรม

Module 1: ความหมายของการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

   ● การคิดเชิงระบบจะเกิดขึ้นเมื่อใด

   ● เพราะอะไรเราจึงต้องใช้การคิดเชิงระบบ

   ● ความหมายของคำว่าการคิดเชิงระบบ

   ● องค์ประกอบของการคิดเชิงระบบ

   ● การคิดเชิงระบบกับการทำงาน

   ● ความสำคัญของ การคิดเชิงระบบ กับการพัฒนาตนเอง

   ● องค์ประกอบของความคิด ที่มาของความคิด

   ● กระบวนการของความคิด ให้ได้มาซึ่งการคิดเชิงระบบ

Module 2: การแบ่งรูปแบบการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

   ● ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน

   ● การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้

   ● เครื่องมืออย่างง่ายในการวิเคราะห์ปัญหาและสังเคราะห์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่และแนวคิดใหม่กับแนวคิดเชิงระบบ

   ● วิเคราะห์กระบวนการของการคิดเชิงระบบเพื่อนำไปใช้

Module 3: ขั้นตอนของความคิดเชิงระบบ

   ● ยอมรับตนเองและเปลี่ยนใจตนเองให้ได้ว่าตนคือส่วนประกอบที่สำคัญที่เชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ

   ● ฝึกการมองภาพรวมแทนสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยมองย้อยกลับ

   ● เข้าใจธรรมชาติของระบบ และทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นระบบสัมพันธ์กัน

   ● มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อระบบ

   ● มองเห็นวัฏจักรของเหตุปัจจัย (Circles of Causality ) และการส่งผลย้อนกลับ

   ● เปิดอิสระในเรื่องการคิด ไม่ตีกรอบ ครอบงำความคิดคนอื่น

   ● ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนเกิดแรงร่วมในการสร้างความสัมพันธ์

   ● ฝึกการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุแท้ โดยแก้ที่อาการ ที่ทำให้ เกิดปัญหา

   ● ยึดหลักการเรียนรู้ในองค์กรเป็นส่วนประกอบ คือ การเป็นนายตนเอง ลบความเชื่อฝังใจแต่อดีต สร้างความใฝ่ฝันถึงอนาคตร่วมกัน (Shared Vision ) และฝึกการเรียนรู้ของทีม

Module 4: การขยายขอบเขตการคิดเชิงระบบ เป็นการขยายมุมมอง 5 ด้าน

   1.การมององค์รวม ( Holistic view )

   2.มองสหวิทยาการ หลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน

   3.มองอย่างอุปมา อุปนัย เป็นการมองขยายกรอบความคิด

   4.มองประสานขั้วตรงกันข้าม เป็นการมองแนวคิดหนึ่งปฏิเสธแนวคิดหนึ่ง

   5.มองทุกฝ่ายมองทุกฝ่ายชนะ WIN-WIN ครอบคลุมความพอใจทุกฝ่าย

ภาพรวมของการคิดที่ใช้ร่วมกับการคิดเชิงระบบ

   ● กระบวนการคิด (Thinking Process)

   ● ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

   ● ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)

   ● ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)

   ● ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

   ● การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

   ● หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย) 

   ● การดักจับความคิด (Idea spotting)

   ● กระบวนการจัดลำดับความคิด 

   ● เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”

   ● เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”

   ● เทคนิค “ตรงกันข้าม”

   ● เทคนิค “Mind Map”

ประโยชน์ที่ได้รับ

   1. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงระบบและสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

   2. ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   3. ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดของการคิดเชิงระบบ

   4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงระบบ และสามารถนำไปใช้งานได้

   5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงระบบ

   6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

วิทยากร
คุณสมบัติผู้เข้าฟัง/กลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, พนักงานทั่วไป และผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง
ภาษาในการบรรยาย
ไทย
ประกาศนียบัตร

สัมมนานี้ได้รับประกาศนียบัตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อย่าลืมบอกผู้จัดงานว่าเห็นประกาศจากเวป "สัมมนาดีดี" นะคะ
ชื่อหน่วยงาน/บริษัท:SeminarDD Academy
ชื่อผู้ประสานงาน:ผู้จัดงาน
เบอร์โทรศัพท์ :097-474-6644
สอนสดออนไลน์

หากท่านต้องการสมัคร การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)
กรุณากดปุ่ม 'สมัครเข้าฟัง' ด้านล่างนี้


เข้าฟังสัมมนาผ่านแพลตฟอร์ม Zoom

ค่าฝึกอบรมสามารถหักค่าใช้จ่ายทางภาษีนิติบุคคลได้ 200%
ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training

คำค้นประกาศนี้ Tags: อบรมการคิดเชิงระบบ, อบรมSystems Thinking

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด