ทางเลือกในการบริหารจัดการภาษีการซื้อ ขาย ให้ ให้เช่าที่ดิน รุ่นที่ 2

รหัสหลักสูตร: 55973

จำนวนคนดู 2199 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

ท่านที่จะซื้อ ที่ดินไว้เกงกำไร

-ท่านที่กำลังจะขายที่ดินมูลค่าสูง

-ท่านที่ต้องการโอนที่ดินให้บุตรหลาย

-ให้ที่ดินมรดกหรือให้เป็นหุ้นของบริษัทที่ถือครองที่ดินดีกว่า

-ท่านที่กำลังจะขายที่ดินมรดก

-ท่านที่กำลังจะให้เช่าที่ดินระยะยาว เงินกินเปล่า ให้เช่าในนามบริษัทหรือบุคคลธรรมดาเสียภาษีมากกว่ากัน 

-ท่านที่มีรายได้ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ค่าเช่ามากเท่าไรจึงควรตั้งบริษัท 

-การบริหารภาษีการขายที่ดินระหว่างสมรส 

-ท่านที่ปรึกษากฏหมาย ที่ปรึกษาการเงินด้านปรับโครงสร้าง

หัวข้ออบรมสัมมนา

1. ร่างกฎหมายใหม่ที่มีผลต่อภาษีเกี่ยวกับที่ดิน

1.1. ร่างพ.ร.บ.แก้ไขประมวลรัษฎากรฯ แก้ไขฐานภาษีเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์จากราคาประเมินเป็นราคาซื้อขายจริงหรือราคาประเมินที่สูงกว่า

1.2. ร่างพ.ร.บ.แก้ไขประมวลรัษฎากรฯ ให้สถาบันการเงินส่งรายงานข้อมูลธุรกรรมลักษณะพิเศษแก่สรรพากร

1.3. ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฯ

1.4. ร่าง พ.ร.บ.การประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐฯ (รอบการประเมินราคาที่ดินจากรอบละ 4 ปี เป็น 2 ปี เป้าหมายประเมินทุก 3 เดือน)

1.5. ร่างพ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐฯ(ภาษีลาภลอย)

1.6. ข้อควรทราบกฎหมายภาษีสรรพากรใหม่ เลี่ยง/ฉ้อโกงภาษีที่เข้าความผิดมูลฐานฟอกเงิน

2. ภาษีอากรค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการขายที่ดิน

2.1. บุคคลธรรมดาขายที่ดิน

2.2. ห้างหุ้นส่วนขายที่ดิน

2.3. นิติบุคคลขายที่ดิน

2.4. การเสียภาษีของคณะบุคคลและห้างหุ้นส่วนสามัญ

3. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกรมที่ดิน ราคาขาย : ราคาประเมิน : ต้นทุนซื้อ : ระยะเวลาการถือครอง : จำนวนเจ้าของกรรมสิทธิ์

4. เจาะลึกภาษีอากร ค่าธรรมเนียมการขายที่ดินที่ได้มาจากการซื้อ

4.1 เจ้าของกรรมสิทธิ์คนเดียว

4.2 เจ้าของมากกว่าหนึ่งคน กรณีแนวปฏิบัติของสรรพากรถือว่าบุคคลธรรมดาหลายคนขาย

4.3 เจ้าของมากกว่าหนึ่งคน กรณีแนวปฏิบัติของสรรพากรถือว่าขายในนามห้างหุ้นส่วนสามัญ ต้องเสียภาษีสองครั้งในนามห้างฯ และบุคคลธรรมดา

5. เจาะลึกภาษีการรับ/โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์

5.1 พ่อโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้ลูก

5.2 แม่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้ลูก

5.3 ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอาโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้หลาน

5.4 คู่สมรสโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้อีกฝ่าย

6. ภาษีการให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ

7. ได้ที่ดินจากการให้หรือมรดกระหว่างสมรส

7.1 เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว

7.2 การใส่ชื่อ/โอนอสังหาริมทรัพย์ให้คู่สมรสต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร

7.3 ใส่ชื่อคู่สมรสในที่ดินสินสมรส แล้วขาย ยื่นแบบ/ ยื่นแบบเสียภาษีอย่างไร ประหยัดสุด

8. ภาษีอากรการแบ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ภายหลังการหย่า

9. ทางเลือกในการบริหารจัดการภาษีการขายที่ดินที่ได้มาจากการซื้อ

9.1 การทำนิติกรรมสัญญาตอนซื้อ

9.2 การแยกฐานภาษีภายหลังการซื้อ และค่าใช้จ่าย

9.3 ต้นทุนเพิ่มในการซื้อที่ดินตามราคาจริง

10. ภาษีการขายที่ดินที่ได้จากการให้

11. ขายที่ดินที่ได้รับมรดก

11.1 ขายในนามกองมรดก

11.2 ขายในนามทายาท ต้องเสียภาษีเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

11.3 การนับระยะเวลาถือครองที่ดินมรดกกับผลทางภาษี

12. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกรมที่ดิน กับ

12.1 เจาะลึก ! สิทธิในการเลือกภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นภาษีสุดท้าย

12.2 ควรเลือกภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้าย หรือยื่นแบบภาษีประจำปี กรณีใดได้คืนภาษี (แถม excel วิเคราะห์)

13. การบริหารจัดการภาษีอากรซื้อที่ดิน ต้นทุนเพิ่มในการซื้อที่ดินตามราคาจริง ภาษีอากรการให้เช่าที่ดินระยะยาว เงินกินเปล่าสูง

14. เจ้าของคนเดียวให้เช่า

15. กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน เจ้าของมากกว่าหนึ่งคนให้เช่า

15.1 กรณีที่ผู้ให้เช่ามีสถานะเป็นคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ

15.2 กรณีเป็นต่างคนต่างให้เช่า ต้องดำเนินการอย่างไร

16. วิเคราะห์เปรียบเทียบภาษี การให้เช่าที่ดินระยะยาว เงินกินเปล่าสูง ในนามบุคคลกับนิติบุคคล

17. ต้นทุนในการโอนที่ดินเข้าบริษัท

18. ภาระภาษีตามสัญญาเช่าแบบ Build Transfer Operate (BTO) Build Operate Transfer (BOT)

19. สิทธิเก็บกิน ประเด็นน่าสนใจ/กรณีศึกษา • โอนที่ดินให้วันละ 1 ส่วน 30 วันต่อเนื่อง เพื่อลดภาษี ผลเป็นอย่างไร • ผู้ซื้อออกค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นเงินได้ของผู้ขายหรือไม่ หนังสือตอบข้อหารือ VS คำพิพากษาศาลฎีกา • จดทะเบียนการเช่าแล้วจดสิทธิการเช่าภายหลัง เงินได้เป็นของผู้ให้เช่า หรือผู้รับสิทธิ

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: ขายที่ดิน, โอนที่ดิน, มรดก, ให้, อสังหา, ภาษี