Key Performance Indicators for Excellence Management(ภาคปฎิบัติ)

รหัสหลักสูตร: 58897

จำนวนคนดู 644 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีการเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น องค์การจำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของธุรกิจ อีกทั้งมีวิธีการวัดผลงานที่ถูกต้อง ชัดเจน เป็นธรรม และง่ายต่อการตีความให้เข้าใจได้ตรงกัน แต่ปัญหาที่มักพบในทุกองค์กร คือ การถ่ายทอดดัชนีชี้วัดผลงานจากระดับองค์กร (ซึ่งมักออกแบบการวัดผลไว้อย่างดีเยี่ยมแล้ว) ลงสู่ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคล ไม่สามารถทำให้เกิดความชัดเจน และสะท้อนผลลัพธ์กลับไปยังองค์กรได้อย่างเป็นธรรมว่า หน่วยงานใด หรือผู้ใดที่เป็นผู้สร้างความสำเร็จให้กับองค์กรมากกว่ากัน เพื่อที่ว่าผู้บริหารจะสามารถจัดสรรผลประโยชน์ได้อย่างถูกฝาถูกตัว ก่อให้เกิดแรงจูงใจและขวัญกำลังใจที่จะรังสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้นได้ต่อไป

  

วัตถุประสงค์ :

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวัดผลงานที่ถูกต้อง

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวัดผลงานข้างต้นมาจัดทำตัวชี้วัดผลงานหลักในระดับหน่วยงาน ระดับทีมงาน และระดับพนักงานได้ด้วยตนเอง

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงวิธีการนำดัชนีชี้วัดผลงานหลักไปใช้ประโยชน์ และสามารถป้องกันปัญหาจากการใช้เครื่องมือที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้การใช้ดัชนีชี้วัดผลงานหลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้รับฟังข้อท้วงติง ข้อคิด ข้อควรระวัง เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์และปรับปรุงดัชนีชี้วัดผลงานได้อย่างถูกต้อง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

1. หน่วยงานมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน และสามารถสื่อสารเป้าหมายดังกล่าวให้พนักงานรับทราบได้โดยง่าย

2. พนักงานในระดับต่างๆ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และรับทราบว่าการทำงานของตนมีส่วนช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จได้อย่างไร

3. สร้างความเป็นธรรมในการทำงานให้กับพนักงานและมีส่วนช่วยจูงใจให้พนักงานทำงานในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

หัวข้ออบรมสัมมนา
1. ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการจัดทำดัชนีชี้วัดผลงาน

2. นิยาม ความหมาย ความจำเป็นที่ต้องมีการวัดผลงาน

3. วิวัฒนาการของการวัดผลงาน และเครื่องมือที่ใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

4. วิธีการตั้งเป้าหมาย และดัชนีชี้วัดผลงาน

5. ข้อดีของการมีดัชนีชี้วัดผลงาน

6. วิธีการตรวจสอบคุณภาพดัชนีชี้วัดผลงาน และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างดัชนีชี้วัดด้วยหลักการ SMART

7. Workshop ออกแบบดัชนีชี้วัดผลงาน ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ KPI Alignment Analysis จากเป้าหมายองค์กรสู่เป้าหมายหน่วยงาน Workflow Analysis or Work Analysis เพื่อจัดทำตัวชี้วัดรายตำแหน่ง/รายบุคคล

8. สรุปบทเรียน ทบทวนวิธีการจัดทำและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและถูกต้องสูงสุด

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: KPI