กฎหมายแรงงานสำหรับบริหารงานบุคคล ว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน

รหัสหลักสูตร: 23940

จำนวนคนดู 5124 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง  และลูกจ้าง องค์การของนายจ้างและองค์การของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนดให้นายจ้าง ลูกจ้าง และองค์การดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและต่อรัฐ  โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง  การใช้แรงงาน  และการจัดสวัสดิการ ที่จำเป็นในการทำงาน  หากผู้บริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลขาดความรู้อย่างแท้จริงในเรื่องกฎหมายแรงงาน  จะทำให้มีปัญหาในการบริหารงาน  และรอวันที่จะปรากฏออกมา ซึ่งจะยากแก่การแก้ไขในวันข้างหน้า

      แม้กฎหมายแรงงานจะเป็นเรื่องที่คนทำงานทั่วไปและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลจะได้รู้อยู่แล้วก็ตาม  แต่ก็ปรากฏว่าหลายครั้งมีความเข้าใจผิดในบางส่วนบางประเด็น  ซึ่งถ้าเป็นการพลาดของฝ่ายบุคคลแล้วกิจการอาจถูกฟ้องร้องเอาได้  หรือสำหรับตัวผู้ใช้แรงงานก็ควรจะรู้และเข้าใจทั้งในหลักการใหญ่และเกร็ดต่างๆ เพื่อที่จะป้องกันสิทธิของตน

        หลักสูตรนี้อาจเป็นเรื่องที่หลายท่านคิดว่าเป็นเรื่องทั่วไป  แต่จะเน้นการบรรยายในลักษณะที่สรุปหลักการต่างๆ ของกฎหมายประกอบประเด็นที่เกิดขึ้นจากคำพิพากษาของศาลฎีกา


วัตถุประสงค์
   1. เพื่อพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายแรงงานของผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และธุรการบุคคล
   2. เพื่อเจาะลึกประเด็นกฎหมายแรงงานและคำพิพากษาศาลฎีกาใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
   3. เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และเป็นกรอบในการทำงาน
   4. เพื่อเปิดมุมมองในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรที่มีประสบการณ์


กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนา
   เจ้าของกิจการ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล  ธุรการบุคคล และผู้ที่สนใจทั่วไป


รูปแบบการอบรมสัมมนา
     1. บรรยายโดยสรุปสาระสำคัญของกฎหมายแรงงานประกอบหลักฎีกา     2. ถาม – ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง     3. แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน

หัวข้ออบรมสัมมนา

หัวข้อสัมมนา
           1. การทำสัญญาจ้างแรงงานให้ครอบคลุม  เพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

     1.1  ความสำคัญและลักษณะเฉพาะในสัญญาจ้างแรงงาน

     1.2  การทำสัญญาจ้างแรงงาน

     1.3  ประเภทของสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมาย

2. เงื่อนไขการทำงาน

     2.1  เงื่อนไขทั่วไป (เงื่อนไขขั้นต่ำตามกฎหมาย)
           -  วัน เวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุด วันลาต่างๆ
           -  การจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน (ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด) และเงินอื่น
           -  สวัสดิการที่กฎหมายกำหนด

     2.2  เงื่อนไขเฉพาะตามแต่ลักษณะและสภาพของงานหรือกิจการ (สภาพการจ้าง) : การจัดทำและแก้ไขเปลี่ยนแปลง

     2.3  ข้อควรระวังในการกำหนดเงื่อนไขในการทำงาน

3. วินัยและโทษ

     3.1  วินัยและการลงโทษตามกฎหมาย

     3.2  การพักงาน  (เพื่อสอบสวนความผิด  และเพื่อลงโทษ)

4. การเลิกสัญญาจ้างแรงงาน

     4.1  ขั้นตอนและวิธีการเลิกสัญญาจ้างแรงาน

     4.2  หน้าที่ของนายจ้างอันเกิดแก่การเลิกสัญญาจ้าง และค่าชดเชย
     4.3  เหตุยกเว้นหน้าที่ที่ต้องจ่ายค่าชดเชยและข้อควรระวัง

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด