เจาะลึก ..การบริหารจัดการข้อพิพาทแรงงานที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารควรทราบ รวมข้อพิพาทแรงงานที่สำคัญครบจบ 1 วัน

รหัสหลักสูตร: 55550

จำนวนคนดู 1046 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
ห้ามพลาด!! อบรมการบริหารจัดการข้อพิพาทแรงงานที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารควรทราบ รวมข้อพิพาทแรงงานที่สำคัญครบจบ 1 วัน
หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้ออบรม

1.ข้อบังคับในการทำงานของนายจ้าง – ลูกจ้าง ต้องปฏิบัติตามอย่างไร?

2.นายจ้างจะแก้ไข – เปลี่ยนแปลง – ตัก – เพิ่ม ข้อบังคับในการทำงานต้องดำเนินการอย่างไร?

3.กฎหมายคุ้มครองแรงงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างอย่างไร?

4.กฎหมายแรงงานสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สิทธินายจ้าง – ลูกจ้าง อย่างไร?

5.การเขียนประกาศ – ระเบียบปฏิบัติ หรือคำสั่งที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย และไม่ขัดต่อข้อบังคับในการทำงานต้องเขียนอย่างไร?

6.มาทำงานสายเป็นอาจิน จะกล่าวโทษหรือเลิกจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร?

7.ลาป่วยเป็นอาจิน หรือเป็นเบอร์ 1 ของแผนกทุกปี ผจ.บุคคลจะแก้ปัญหาอย่างไร?

8.อนุมัติการลาที่ไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ ผจ.บุคคลต้องดำเนินการอย่างไร?

9.ตำแหน่งงานใด ที่จะเรียกรับเงินประกันเข้าทำงาน

10.การอนุมัติปรับค่าจ้างประจำปี พิจารณาจากอะไร?

11.ไม่ได้รับการปรับค่าจ้างประจำปีเหมือนพนักงานอื่น จึงเข้าร้องทุกข์ ต่อ ผจ.บุคคล เพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้ยุติลง ต้องดำเนินการอย่างไร?

12.คำว่าภายใน 1 ปี ไม่ปฏิบัติตนผิดช้ำคำเตือน จะนับตั้งแต่วันเกิดเหตุ หรือวันกล่าวโทษ

13.ทำสัญญาจ้างรับพนักงานใหม่เข้าทำงาน เมื่อถึงวันทำงาน นายจ้างบอกยกเลิกสัญญา ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน นายจ้างจะรับผิดอย่างไร?

14.ตามใบสมัครงานมีข้อความว่า ในระหว่างทำงานอยู่ หรือออกจากงานไปแล้วภายใน 2 ปี ข้าฯ ยินยอมที่จะไม่ทำงาน เพื่อหรือทำประโยชน์ให้กับงานที่มีลักษณะเดียวกันกับนายจ้าง เมื่อลูกจ้างผิดสัญญา นายจ้างฟ้องศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย อดีตลูกจ้างจะรับผิดอย่างไร?

15.เมื่อเกิดปัญหาที่ข้อพิพาทแรงงงงานเกิดขึ้น ระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา จะมีวิธีหรือใช้เทคนิคอย่างไร ให้ปัญหายุติลงได้

16.องค์กรประสบกับปัญหาการจ่ายโบนัสประจำปี มีพนักงานชุมนุมในเวลาทำงาน เพื่อกดดันปัญหาที่เกิด ผจ.บุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไร ที่จะเข้าไปไกล่เกลี่ยปัญหาให้ยุติลง

17.ลูกจ้างทำผิดอาญาต่อนายจ้าง จึงถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ ผจ.บุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไรให้ปัญหายุติลง โดยลูกจ้างถอนฟ้อง และจากกันด้วยดี

18.ก่อนเลิกจ้าง 10 ค่า ที่จะตรวจสอบให้ลูกจ้างมีอะไรบ้าง?

19.บอกเลิกจ้างให้ลูกกฎหมาย ต่อลูกจ้างที่รับค่าจ้าง เป็นวันต่อวัน - รับเป็น 15 วัน – รับค่าจ้างเป็นเดือน ต้องบอกกล่าวอย่างไร?

20.เลิกจ้างไม่ออกใบผ่านงาน ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน นายจ้างจะรับผิดอย่างไร?

21.เลิกจ้างไม่คืนเงินประกันการทำงานให้ ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน และเรียกดอกเบี้ยของเงินที่ฟ้องด้วย นายจ้างจะรับผิดอย่างไร?

22.ลูกจ้างยื่นใบลาออก โดยให้มีผลในวันสินเดือน วันต่อมาไม่มาทำงานหายไปเลย นายจ้างได้รับความเสียหาย ลูกจ้างจะรับผิดอย่างไร?

23.ทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ที่จะต้องกล่าวโทษเป็นหนังสือเตือน มีลักษณะของการกระทำอย่างไร?

24.ทำผิดวินัยร้ายแรง ที่จะต้องถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย มีลักษณะของการกระทำอย่างไร?

25.การกระทำอันไม่เป็นธรรม คือการปฏิบัติอย่างไร?

26.การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือการเลิกจ้างอย่างไร?

27.เลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีความผิด ไม่แจ้งเหตุผลใดๆ โดยจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า – ค่าชดเชยตามกฎหมาย – จ่ายเงินประกันการทำงานให้ – จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบให้ ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย จากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม นายจ้างจะรับผิดอย่างไร?

28.ลูกจ้างร้องต่อ ผู้ตรวจแรงงาน ด้วยเหตุถูกเลิกจ้าง เมื่อสอบข้อเท็จจริงแล้ว มีคำสั่งให้ นายจ้างจ่ายเงินตามผู้ร้องเรียก นายจ้างไม่จ่ายตามคำสั่งของผู้ตรวจแรงงานสั่ง นายจ้างต้องฟ้องศาลแรงงานอย่างไร?

29.ลูกจ้างออกจากงานไปแล้ว ไปฟ้องศาลแรงงาน นายจ้างไม่ประสงค์จ้างทนายความ มีนโยบาย และมอบหมายให้ ผจ.บุคคล เข้าดำเนินการให้ถึงที่สุด ผจ.บุคคลต้องดำเนินการอย่างไร?

30.ขณะดำเนินการต่อสู้คดีในศาล จะปฏิบัติตนให้อยู่ในวินัยที่ดี ของศาลได้อย่างไร?

31.การเสนอข้อมูลในชั้นไกล่เกลี่ยของผู้ประนอมคดี จะเปิดช่องอย่างไร ที่จะทำให้การไกล่เกลี่ยตกลงกันได้

32.การต่อสู้คดีในศาลจะต้องศึกษาหาข้อมูล – จัดเตรียมเอกสาร – พยานต่างๆ เข้าแถลงต่อศาล เพื่อให้ศาลได้พิจารณา และตัดสินให้ชนะคดีอย่างไร?

33.การอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล จะต้องศึกษาหาข้อมูล – จัดทำคำอุทธรณ์ที่ดี เพื่อเสนอต่อศาลให้ศาลพิจารณารับคำอุทธรณ์ เพื่อเสนอต่อศาลฎีกาอย่างไร?

34.เมื่อศาลฎีกาตัดสินคดีไปแล้ว คู่ความไม่ปฏิบัติตาม ต้องดำเนินการอย่างไร?

35.คำพิพากษาฎีกา 80 คดี ที่ตัดสินคดีแรงงานที่ผู้บริหารงานบุคคลควรรู้มีอะไรบ้าง?


วิทยากร
วันพุธที่ 15 สิงหาคม 2561 เวลา 9.00-16.00น
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: ข้อพิพาทแรงงาน, อบรมหลักสูตรข้อพิพาทแรงงาน, หลักสูตรข้อพิพาทแรงงาน, ศึกษาข้อพิพาทแรงงาน, คดีแรงงาน, อบรม HR