การบริหารจัดการคลังสินค้าและลดต้นทุนสินค้าคงคลังด้วยหลักการไคเซ็น (Warehouse Management and Inventory Cost Reduction with Kaizen)
รหัสหลักสูตร: 66668
1
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567
เวลา 09:00 - 16:00 น.
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
หากท่านต้องการโบร์ชัวร์หลักสูตรเพื่อนำเสนอ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ทันที Course Outline
หลักสูตรนี้สามารถจัดแบบ In-House Training (สอนเฉพาะองค์กรของคุณ) ได้ทั้งแบบ Onsite และ Online ขอใบเสนอราคา In-house Training
การบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการจัดการในการรับ การตรวจสอบและตรวจนับ การจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในส่วนขาเข้า (inbound) รวมถึง การหยิบสินค้า ตรวจสอบ และจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขายตามคำสั่งซื้อของลูกค้าในส่วนขาออก (Outbound) เป้าหมายหลักในการบริหารและดำเนินการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดระบบที่ดี ลดระยะเวลาการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานตามที่ต้องการ รวมถึงการควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้าได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย การป้องกันและลดการสูญเสียจากการดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำอย่างเหมาะสม เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า รวมถึงการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่คลังสินค้า การจัดการคลังสินค้าจึงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งในโซ่อุปทาน
การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) สินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลในซัพพลายเชน เพื่อให้ระดับสินค้าคงคลังต่ำอย่างเหมาะสม โดยไม่กระทบต่อระดับการให้บริการ โดยปัจจัยนำเข้าของกระบวนการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนและวัสดุต่าง ๆ ที่เรียกรวมกันว่าสินค้าคงคลัง ต้นทุนสินค้าคงคลังเป็นต้นทุนการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนั้นการจัดการสินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ที่สามารถมีสินค้าคงคลังบริการลูกค้าในปริมาณที่เพียงพอ และทันต่อการความต้องการของลูกค้าเสมอ เพื่อสร้างยอดขายและรักษาระดับของส่วนแบ่งตลาดไว้โดยสามารถลดระดับการลงทุนในสินค้าคงคลังให้ต่ำอย่างเหมาะสม ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงอีกด้วย
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) เป็นแนวคิดของผู้บริหารญี่ปุ่น Kaizen เป็นการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคนในองค์กรตั้งแต่ ผู้บริหารสูงสุด บริหารระดับกลาง หัวหน้าแผนก และพนักงาน โดยถือว่าการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่การมีนวัตกรรม (Innovation) ขององค์กรในที่สุด Kaizen จึงเป็นหัวใจของการทำงาน พนักงานทุกคนจะต้องมีจิตสำนึกว่า ต้องทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน” มีการปรับปรุงงานตลอดเวลาทีละเล็กทีละน้อย ไม่หยุดยั้ง ไม่ย่อท้อ อย่างสม่ำเสมอคงที่ และเมื่อมีโอกาสในการปรับปรุงก็ไม่รีรอที่จะทำ
ดังนั้นการจัดการคลังสินค้าและการควบคุมสินค้าคงคลังจึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถป้อนวัตถุดิบให้กับสายการผลิตได้อย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตและส่งมอบสินค้าได้ทันตามเป้าหมายที่กำหนด ในขณะที่คลังสินค้ามีปริมาณสินค้าวัตถุดิบในจำนวนที่เหมาะสม ไม่มากและน้อยจนเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาด้านการผลิตซึ่งจะทำให้ต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังต่ำอย่างเหมาะสม ส่งผลให้ผลดำเนินการทางธุรกิจดีขึ้น พนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีกำไรมากขึ้น สามารถผลิตสินค้าได้รวดเร็วและเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่คลังสินค้าขนาดใหญ่อีกต่อไป รวมถึงปัญหาการดำเนินการต่าง ๆภายในคลังสินค้าลดลงด้วยการนำหลักการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือ Kaizen เข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพภายในคลังสินค้าได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสามารถบริหารจัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถควบคุมและเพิ่มความรวดเร็วในการการทำกิจกรรมต่าง ๆภายในคลังสินค้า
2. เพื่อลดต้นทุนและพื้นที่การจัดการปริมาณสินค้าคงคลังจำนวนมาก
3. เพื่อสามารถจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบได้อย่างเหมาะสมตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
4. เพื่อสามารถทราบข้อมูลสินค้าคงคลังได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และครบถ้วน เพื่อนำไปวิเคราะห์และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
5. เพื่อเพิ่มรอบการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังได้มากขึ้น สามารถจัดเก็บสินค้าได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่คลังสินค้า
6. เพื่อสามารถใช้หลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- การบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดพื้นที่คลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การวางผังของคลังสินค้าและการจัดการการไหล
- การเคลื่อนไหวของสินค้าอย่างรวดเร็ว
- ตรวจนับสินค้าและเทคนิคการดำเนินงาน (Cycle Count Inventory)
- ดัชนีวัดประสิทธิภาพการทำงานของคลังสินค้า
- การวัดผลการปฏิบัติงานของคลังสินค้า
- การเพิ่มอัตรารอบการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover Ratio)
2. การควบคุมสินค้าคงคลังอย่างมืออาชีพ
- การจัดการและบริหารต้นทุนสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
- วิธีการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังให้ลดลงอย่างเหมาะสม
- Economic Order Quantity (EOQ) การสั่งซื้อที่ประหยัด
- การกำหนดค่า Safety Stock และรอบการสั่งซื้อที่เหมาะสม
3. การแบ่งกลุ่มสินค้าคงคลังแบบ ABC
- การแบ่งกลุ่มสินค้าตามหลักการ Pareto
- การตรวจนับสินค้าตามรอบระยะเวลา
- การกำหนดปริมาณสินค้าคงคลัง Type A, B และ C
- การวางแผนการลดปริมาณสินค้าคงคลัง
4. เครื่องมือและเทคโนโลยีการจัดการคลังสินค้า
- การใช้ Barcode & RFID ในการบ่งบอกสินค้า
- การใช้ระบบ WMS (Warehouse Management System)
5. หลักการพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen)
- การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) คืออะไร วัตถุประสงค์ ประโยชน์
- แนวทางและเครื่องมือในการทำ Kaizen
- กรณีศึกษาการทำ Kaizen ภายในคลังสินค้า
วิธีการสัมมนา
- การบรรยาย การให้คำปรึกษา และร่วมอภิปราย
อนันต์ ดีโรจนวงศ์
อบรมสำหรับองค์กร (โลจิสติกส์, ระบบมาตรฐานและคุณภาพ, คลังสินค้า, อบรมจัดซื้อ)
การจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics & Supply Chain Management), Warehouse Management, การจัดการด้านขนส่ง, การบริหารจัดการคลังสินค้าและควบคุมสินค้าคงคลัง
โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ (Rembrandt Hotel Bangkok)
ห้อง null
เขตคลองเตย | กรุงเทพมหานคร