เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานและการ Feedback เชิงสร้างสรรค์

รหัสหลักสูตร: 59454

จำนวนคนดู 1564 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Appraisal : PA) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จได้ การประเมินนี้เป็นวิธีการวัดผลทางการปฎิบัติงานของพนักงานทั้งในเรื่องความสามารถในการทำงานไปจนถึงศักยภาพที่ช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น แล้วการประเมินผลการปฎิบัติงานนี้ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของ การพัฒนาทางอาชีพ (Career Development) ที่สำคัญขององค์กรด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้และตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กรกับการทำงานของหัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้บริหารในฐานะผู้ประเมิน

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงเทคนิค และกลยุทธ์ต่างๆในการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ได้ผล และประทับใจผู้บริหารและพนักงานภายใต้ข้อจำกัดในงบประมาณค่าจ้างหรือโบนัส

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงกฎ ระเบียบ ขั้นตอน และเอกสารแบบฟอร์มที่จำเป็นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงปัญหาต่างๆของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มักจะเกิดขึ้น และวิธีการแก้ไขและป้องกันปัญหา หรือปรับเปลี่ยนจากสถานการณ์เชิงลบมาเป็นเชิงบวก

5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรม และรับฟังข้อแนะนำจากวิทยากร

6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้งานได้จริง เพื่อเกิดประโยชน์แก่องค์กร ผู้บังคับบัญชาทุกระดับที่เป็นผู้ประเมิน และผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นผู้ถูกประเมิน

หัวข้ออบรมสัมมนา
1. ข้อจำกัดของการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเก่าที่ใช้ไม่ได้ผล

2. หลักการและความสำคัญการประเมินผลการปฏิบัติงานต่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กร

3. แนวทางการนำระบบประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่มาปรับใช้ (PES : Performance Evaluation System)

4.วิธีการและเครื่องมือในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

5. ความสำคัญและรายละเอียดของ KPIs (Key Performance Indicators) ในการนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

6. ความสำคัญของ KPIs ในการนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลยุคปัจจุบัน

7. แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดผลงาน KPIs และความสามารถขององค์กรและพนักงาน ครอบคลุมถึง ตัวชี้วัดระดับนโยบาย (Policy/Corporate KPIs) ตัวชี้วัดระดับบุคคล (JD : Job Description /JA : Job Assisignment KPIs) ตัวชี้วัดระดับความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน (CFM : Cross Functional Management KPIs)

8. ขั้นตอนการนำ KPIs มาใช้ในการประเมินผลกับการวิเคราะห์หา KPIs ของหน่วยงานและตำแหน่งงานเพื่อนำไปสู่การบริหารทรัพยากรในอนาคต

9. การควบคุมผลการประเมินของผู้บังคับบัญชาตามสายงานให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรม

10. การนำคะแนนด้านวินัย พฤติกรรมบริการ ความประพฤติมาประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

11. ปัญหา/อุปสรรคที่มักพบในการกำหนดตัวชี้วัดผลงานและการประเมินผลงาน

12. ปัญหาการจัดทำแผนงานไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนด

13. ปัญหาจากการไม่มีเครื่องมือ ในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ชัดเจน และแม่นยำ

14. ปัญหาแบบฟอร์มที่ใช้ในการประเมินไม่สอดคล้องกับแนวคิดของการประเมินผลการปฎิบัติงาน

15. การใช้ความรู้สึกในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (หลักถูกใจ แต่ไม่ถูกต้อง)

16. การเชื่อมโยงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสู่ระบบการบริหารจัดการงานทรัพยากรมนุษย์ เช่น การปรับค่าจ้าง โบนัส ฯลฯ เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐานขององค์กร

17. เทคนิคการนำเครื่องมือมาใช้กับระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานเพื่อความสะดวกและไม่ยุ่งยากต่อการ Implement ระบบ

18. ขั้นตอนการนำเครื่องมือไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

19. การแจ้งผลการประเมินผลการปฏิบัติงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถูกประเมิน

20. ข้อควรระวังและสิ่งจำเป็นต้องมี ก่อนที่จะนำระบบประเมินผลงานมาใช้จริงในองค์กร

21. ปัจจัยที่ช่วยให้ระบบการประเมินผลงานประสบความสำเร็จในการนำไปใช้ในองค์กร

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานและการ Feedback เชิ