เทคนิคการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
รหัสหลักสูตร: 56591
สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
การทำธุรกิจระหว่างประเทศ มีการใช้เงินสกุลต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องผ่านการชำระเงินค่าซื้อสินค้า โดยผู้ประกอบการต้องนำเงินบาทไปซื้อเงินตราต่างประเทศ ซึ่งในสถานการณ์โลกปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนมีการขึ้นลงผันผวนอยู่ตลอดเวลา นับเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ ในทางกลับกัน ผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าเป็นเงินสกุลต่างประเทศจะได้เงินบาทมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ วิธีการหนึ่งที่ผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการดำเนินการซื้อหรือขายเงินสกุลต่างประเทศกับธนาคาร โดยตกลงอัตราแลกเปลี่ยนกับธนาคารไว้ล่วงหน้า
ผู้ซื้อและผู้ขายจึงจำเป็นต้องมีหลักการในการพิจารณาเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมสำหรับลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งแต่ละวิธีการจะสามารถใช้สำเร็จได้ด้วยดีขึ้นอยู่กับบุคลากรของผู้ประกอบการที่ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน (ค่าเงินบาทอ่อน – แข็ง) เพื่อสามารถใช้ในการตัดสินใจที่จะซื้อ/ขาย เงินตราต่างประเทศ
หลักสูตรนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการเพิ่มทักษะความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีความผันผวนได้เป็นอย่างดี
1. ภาพรวมการบริหารการเงิน
2. ทำความเข้าใจกับเงินสกุลสำคัญ เช่น เงินสกุลยูโร เหตุผลของที่มาและอิทธิพลของเงินสกุลสำคัญ
3. การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ทำไมเป็น premium และ discount
4. การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันของธนาคาร
5. ที่มาของอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง (Reference Rate)
6. เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนในระบบ Basket of Currency กับ Managed Float
7. เครื่องมือที่ใช้เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
7.1 ทำสัญญาซื้อ/ขายเงินสกุลต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร (Forward Contract)
7.2 Future Contract
7.3 Option การใช้สิทธิซื้อ/ขาย
7.4 Swaps
7.5 ข้อพึงปฏิบัติตามสัญญา
7.6 เปิดบัญชีสกุลเงินต่างประเทศ (FCD = Foreign Currency Deposit)
8. การเลือกสกุลเงินในการซื้อ/ขายเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
9. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยน
การสัมมนานี้เหมาะสำหรับ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ/เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี ฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายนำเข้า-ส่งออก และผู้สนใจทั่วไป
วิธีการสัมมนา การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการตอบข้อซักถาม