การจัดทำระบบการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ (SOC, RoHS, REACH, SVHC, ELV, PFOS, PFOA, DMF)
รหัสหลักสูตร: 65592
สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
เนื่องจากธุรกิจด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมไฟฟ้า ผู้รับจ้างช่วงผลิตในแต่ละลำดับขั้นได้ผลิตสินค้าและส่งมอบตามลำดับขั้นและส่งเข้าไปจนถึงโรงงานประกอบหรือ OEM/REM ซึ่งผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องปราศจากสารปนเปื้อนที่เป็นพิษและส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต นั่นก็คือสารเคมีที่จัดอยู่ในจำพวกสารโลหะหนักนั่นเอง อาทิ เช่น โครเมียม แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว และอื่น ๆ ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างเพียงพอ เพราะนอกจากผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ว่าด้วยเรื่องการควบคุมสารปนเปื้อน คือ SOC / ELV / RoHs 1.0 / RoHs 2.0 / REACH Annex VI / XV / XIV / AVII / SVHC / PFOS / PFOA / DMF / VOC / MDA / SCCPs / POPs / Prop65 / ELV Annex II / ELV Waste Packaging Waste / Lead in Solder / CMR / GADSL / IMDS / IMDS-a2 / IMDS-AI / CAMDS / CDX etc. ข้อกำหนด 3R (Reuse / Recycle / Recovery) Recyclability และ Recoverability ตลอดจนข้อกำหนดสารเคมีชนิดอื่นๆ ที่ทาง OEM และหน่วยงานที่ทำการควบคุมและบังคับใช้กฎหมาย ได้ประกาศฯ ควบคุม หรือห้ามใช้ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ทุกบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตลอดจนต่อไปในอนาคต ดังนั้นทุกโรงงาน / บริษัท ไม่ว่าจะเป็นเทรดดิ้ง จำเป็นต้องดำเนินการจัดทำหรือวางระบบเพื่อใช้ในการดำเนินการควบคุมผู้ส่งมอบ (Suppliers), ดำเนินการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ภายในองค์กรและรองรับการ Audit จากลูกค้าและหน่วยงานอื่น ๆ และ Support ข้อมูลต่าง ๆ ให้กับคู่ค้าของตนได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
ผู้รับช่วงผลิต (Suppliers) จะต้องแนบข้อมูลรายงานต่าง ๆ เหล่านี้แนบในเอกสาร “อนุมัติชิ้นส่วนการผลิต (PPAP)” เพื่อเป็นการรับประคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่าปราศจากสารปนเปื้อนและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งผู้รับช่วงผลิต (Suppliers) ต้องไม่มีโอกาสผิดพลาดแม้แต่ครั้งเดียว เพราะนั่นหมายถึง องค์กรของท่านจะถูกย้ายเข้าไปอยู่ในบริษัทฯกลุ่มเสี่ยงที่อันตรายทันที และทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล
หลักสูตรนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และเขียน Quality Manual, Suppliers Manual, Procedure, Work Instruction etc. ด้านการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ภายในองค์กร, การรองรับการ Audit จากลูกค้า, ขั้นตอนการบริหารจัดการ Suppliers, การ Audit suppliers และสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1. เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดข้อกฎหมายในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการควบคุมสารต้องห้ามหรือสารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ในผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจและเขียน Quality Manual, Suppliers Manual, Procedure, Work Instruction etc. ด้านการควบคุมสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ภายในองค์กร, การรองรับการ Audit จากลูกค้า
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจขั้นตอนการบริหารจัดการ Suppliers, การ Audit suppliers
· หลักการและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในการควบคุมสารปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
- ข้อกำหนดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA)
- ข้อกำหนด Carbon Footprint for Product : CFP
. ข้อกำหนด Carbon Footprint for Organization : CFO
. ข้อกำหนดการจัดการควบคุมข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับ ISO 50001
· การควบคุมสารปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
· End of Life Vehicle (ELV)
. ELV Annex II / ELV Waste packaging waste
. MDA / SCCPs / POPs / Prop65 / CMR
. RoHs 1.0 / 2.0 / WEEE
. REACH (Annex VI / XV / XIV / XVII / SVHC)
- Lead in Soldering
· ข้อกำหนดสารกันความชื้นซิลิกาเจล หรือ DMF
· ข้อกำหนด PFOS / PFOA / 76/769/EC
· ขั้นตอนการจัดทำ Organization SOC เพื่อยื่นขออนุมัติจากลูกค้า
· Job Description ผู้รับผิดชอบด้านการควบคุมสารต้องห้าม
· การเขียน Quality Manual, Suppliers Manual, Procedure, Work Instruction etc.
· การจัดทำ Suppliers Audit Check sheet
· การดำเนินการวางระบบ QMS การควบคุมสารต้องในองค์กร
· การดำเนินการควบคุม SOC กับผู้รับจ้างช่วงผลิต (Suppliers)
· การจัดทำ Flow chart การจัดการความผิดปกติ เกี่ยวกับเรื่อง SOC
· การทบทวนระเบียบปฏิบัติการเรื่องการควบคุมการเปลี่ยนแปลงด้าน SOC ระหว่างลูกค้า และ Suppliers
· บทบาทหน้าที่ การดำเนินการและความสำคัญของแต่ละส่วนงาน
· การดำเนินการควบคุมตรวจและทดสอบ SOC ภายในและภายนอกองค์กร
· การควบคุมผู้ส่งมอบ วิธีการดำเนินการ กรณีที่ผู้ขายไม่ให้เข้าไปตรวจประเมิน
· การดำเนินการ Audit Suppliers ด้าน SOC
· การจัดทำรายงานการควบคุมสารปนเปื้อนตามมาตรฐานสากลเพื่อยื่นอนุมัติ
· Work Shop
- ขั้นตอนการจัดทำ Organization SOC เพื่อยื่นขออนุมัติจากลูกค้า
- Job Description ผู้รับผิดชอบด้านการควบคุมสารต้องห้าม
- การเขียน Quality Manual, Suppliers Manual, Procedure, Work Instruction etc.
- การจัดทำ Suppliers Audit Check sheet
ลักษณะการอบรม :
1. การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง โดยทฤษฎี 30 % ปฏิบัติ 70 %
2. ทำ Workshop กิจกรรมกลุ่ม + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย
Note : สอนจากประสบการณ์ในการทำงานจริง และการฝึกอบรมจากต่างประเทศ
ผู้ควรเข้ารับการอบรม
Ø ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมอื่นๆ
Ø วิศวกรทุกส่วนงาน
Ø หัวหน้างาน QC/QA, R&D, New Model
Ø ช่างเทคนิค
Ø บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน