เราได้เรียนรู้อะไรบ้างในวิกฤต Covid 19
พัฒนาธุรกิจ SME

จำนวนเข้าชม 1583 ครั้ง

เราได้เรียนรู้อะไรบ้างในวิกฤต Covid 19

Sponsored
หลักสูตร : การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ( Project Feasibility Analysis ) อบรมในรูปแบบ Online ผ่าน Zoom

          การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และความกดดันจากการแข่งขันที่เข้มข้นเป็นเหตุใ...

ดูรายละเอียด
อบรมหลักสูตร Training Roadmap & IDP Based on Competency Class Room

                   วัตถุประสงค์  ...

ดูรายละเอียด

เราได้เรียนรู้อะไรบ้างในวิกฤต Covid 19


นี้เป็นสภาวะสุดมันส์ ที่เรารับรู้ได้จากการเสพสื่อในสารพัดช่องทาง (FB / Youtub และอื่นๆ) ที่มีทั้งข่าวต่างประเทศ และของไทยเราเอง จะบอก ว่าคนไทยไม่รับรู้เรื่อง Covid 19 คงไม่ได้แล้ว เพราะเหตุการณ์นี้ก็ลาก ยาวมามากกว่า 2 เดือนแล้ว


ไทยเราเริ่มมีคนป่วยที่เป็น Covid 19 คนแรก เมื่อ 13 Jan 2020 โดย เป็นหญิงจีนที่เดินทางมาเที่ยวเมืองไทย แล้วหลังจากนั้นก็เริ่มพบผู้ ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


ก็ถือว่ามาตรการดูแลทางสาธารณะสุขของไทยเราอยู่ในเกณท์ที่ดีมาก ก็ว่าได้ ทำให้การระบาดยังมีอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าที่ จีน-ยุโรป-อเมริกา มาก


(ซึ่งในทางเทคนิคก็พบว่า อุณหภูมิของบ้านเราสูง เป็นสภาพที่ Covid 19 ไม่สามารถแพร์กระจายได้ดี และคนไทยก็ไม่นิยมทักทายกันด้วย การกอด หอม จับมือกัน และใส่รองเท้าเข้าบ้าน จึงทำให้บ้านเราติด ได้ยากกว่า และยังมีประเด็นใหญ่อีกที่คนฝรั่ง เขาเชื่อว่าการใช้ หน้า กากอนามัยไม่จำเป็น !!)


แต่สถานการณ์ก็เริ่มพลิกผัน เมื่อกลางเดือนมีนาคม พบการผู้ติดเชื้อเพิ่ม ขึ้นในอัตราที่สูงและอย่างรวดเร็ว โดยมีต้นตอที่เกิดจากการไปรวม กลุ่มกันของคนไทยใน ร้านอาหาร สนามมวย และไปร่วมงานศาสนา จากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มน่าเป็นห่วง มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 คนต่อวัน ตอนนี้ก็พยายามกันอยู่ว่าจะหยุดยั่งการระบาด ไม่ให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร !!


แน่นอน สถานการณ์ Covid 19 คนที่รับผิดชอบก็คือ รัฐบาลของท่านประ ยุทธ มาตรการต่างๆที่ออกมา ทำให้เกิดเสียงติและชม และที่ขาดไม่ได้ คือ คำด่า แน่นอน ไม่เคยมีรัฐบาลไหนของไทย และคนในคณะรัฐมนตรีนี้ ด้วย ที่เคยมีประสบการณ์ในการรับมือกับเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน ลำพังจะให้กลไกลของรัฐแบบปกติ ไปรับมือคงเป็นไปไม่ได้


(ขนาดตอนน้ำท่วมประเทศไทยปี 2554 สมัยรัฐบาลคุณยิ่งลักษณะ ระดมการแก้ปัญหากับแทบตาย แต่ก็ยังท่วมไปครึ่งประเทศ ทั้งที่มีเวลา เตรียมตัวกันเป็นเดือน แม้หน่วยราชการเองจะมีประสบการณ์เกี่ยว กับน้ำท่วมใหญ่ มาก่อนหน้านี้ถึง 2 ครั้งก็ยังช่วยอะไรไม่ได้)


สถานการณ์แบบนี้เรียกว่า ปราบเซียน หรือปราบรัฐบาล ก็ว่าได้ รัฐบาล ก็ทำหน้าที่ของท่านไป ส่วนพวกเราก็มาเรียนรู้กับสถานการณ์ Covid 19 ว่า มันได้สอนให้เราเห็นอะไรบ้างอย่าง และได้เข้าใจอะไรมาก ขึ้น !!


1.Communication (การสื่อสาร) : มันเป็นกระบวนทัศน์ที่จำเป็นมากๆ ในทุกๆสถานการณ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีความซับซ้อน และเป็นอันตราย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เอาผู้ที่เข้าใจสถานการณ์จริงของปัญหานั้น มาเป็นทีมทำงาน และจัดทีมที่มีความเข้าใจทางเทคนิค ในการเผย แพร์ข้อมูลที่ถูกต้องออกไป และกระจายข่าวสารออกไปให้มากที่สุด


ในกรณีของ Covid 19 นี้ ท่านนายกได้นั่งประชุมร่วมกับคณะแพทย์ และได้ใช้โฆษกที่เป็นนายแพทย์มาเป็นผู้เผยแพร์ข้อมูล (ถ้าทำได้ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ก็คงจะดีกว่านี้) ทั้ง 2 กรณีนี้ ได้สร้างความเชื่อถือให้กับ รัฐบาล และทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในข่าวสารที่ส่งออกไป


(คุณต้องเข้าใจน่ะครับ คนที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ เอาไปเป็นโฆษก คุณจะได้คนที่ถามคำตอบคำเท่านั้นล่ะ)


เรื่องนี้มันให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง : Power of Professional คนจะเชื่อ ในสิ่งที่เขาเป็น ไม่ได้เชื่อเพราะตำแหน่งของเขา อย่างในกรณี นี้ รัฐบาลไม่สามารถสร้างความเชื่อถือในการสถานการณ์ของ Covid 19 ได้มากพอ แต่เมื่อเปลี่ยนแผนโดยใช้คณะแพทย์เข้ามาร่วม สถานการณ์ ก็เปลี่ยนไป


2.Leadership (ภาวะผู้นำ) : ในสภาวะที่มีวิกฤตเกิดขึ้น ผู้คน ประชาชน ต้องการทิศทาง และข่าวสาร ที่จะทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีความปลอดภัย ดังนั้นภาวะผู้นำในตัวผู้นำจะต้องชัดเจน ในการแสดงออกต่อสถานการณ์ และทันต่อเวลา เพื่อให้เกิดการสื่อสาร อย่างมีประสิทธิภาพ

(เรื่องนี้ เรานึกถึงจีนเลยครับ ถ้าประธานาธิบดี สี จิ้นพิง ไม่สั่งปิดอู่ฮั่น อย่างเด็จขาด เขาจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ได้เลย แต่เชื่อมั้ยครับ การสั่งปิดเมืองแบบเด็ดขาดนั้น ผลกระทบที่ ตามมา มีมากมายเลย คนในอู่ฮั่นมากกว่า 11 ล้าน รัฐจะรับมืออย่างไร แต่แน่นอนไม่เคยมีใครที่มีประสบการณ์หรอก แต่ก็ต้องตัดสินใจ อย่างไม่มีทางเลือก แน่ล่ะ ผู้นำต้องกล้าที่จะตัดสินใจ !! )


เรื่องนี้มันให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง : ผู้นำ (Leadership) จะต้องแสดงสภาวะผู้นำ ที่จะนำเสนอวิสัยทัศน์ กล้าที่จะแสดงออก และตัดสินใจ เพื่อกำหนดทิศทาง และสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีม และนั้นคือหน้าที่ของคุณ


3.Management (การบริหารจัดการ) : สถานการณ์ของ Covid 19 กระบวนการบริหารจัดการของรัฐบาล มีแผนการณ์แบบไหน ไม่ชัดเจน ซึ่งรัฐอาจจะมีอยู่แล้ว หรือทำอยู่แล้ว แต่เป็นข้อมูลที่ต้องปกปิดก็แล้วแต่


แต่แน่นอน ประชาชนคนในเมือง เขาไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ดูทีวีกัน พวกเขาดู Youtube อ่าน FB / Line พวกเขาไม่ตามข่าวของรัฐ !! ท่ามกลางข่าวปลอม ข่าวอคติ ก็ได้สร้างความสับสนขึ้นมา ว่ารัฐบาลกำลังจะทำอะไร!! และผลกระทบจะเป็นอย่างไร !! ที่ต้องทำไม่ใช่แค่บอกว่า ขอให้เชื่อมั่นในรัฐบาล !!


แต่ถ้าเราใช้การบริหารทั้งภาพรวม และภาพย่อยให้ดี ก็จะช่วยได้ (แต่ข้อถัดไป จะช่วยให้เราเข้าใจ ปัญหานี้มากขึ้น)


ผลกระทบที่มาถึงประชาชน : สินค้าบางประเภทขาดแคลน และมีราคา แพงขึ้น เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ ไข่ไก่ ด้วยกลไกลของรัฐ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทั้งๆที่น่าจะคาดการได้ว่าเหตุการณ์ อะไรจะเกิด ขึ้น


เรื่องนี้มันให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง : กระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Process) มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติกัน แต่อย่างไรก็ตาม มันต้องอยู่บนฐานความคิดของการป้องกัน (การป้องกัน คือ ตั้งมาตรการ / ข้อกำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น มันจะมีการประเมิน และ คาดกาลล่วงหน้า)


ดังนั้นการป้องกัน คือ key ของเรื่องนี้ เพราะ เรารู้กันอยู่แล้วว่า ค่าใช้ จ่ายในการแก้ไข จะสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการป้องกัน


หมายเหตุ : ลองคิดดูว่า ถ้ามีภาพคนเสีย ชีวิต 500 คนติดๆกัน คนไทย จะเกิดอารมณ์แบบไหน !!


4.Team (ทีม) : ในช่วงต้นๆของสถานการณ์ Covid 19 เราจะเห็นว่า ฝ่ายค้าน และคนไทยบ้างกลุ่ม ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่รัฐบาลเสนอที่จะทำ เช่น แจกเงิน 2000 B กับผู้ได้รับผลกระทบ สุดท้ายรัฐบาลก็ยอมถอย ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นเรื่องที่ต้องทำ จนกระทั่งปลายเดือนมีนาคม ทุกฝ่ายค่อยออกมายอมรับ ที่จะเอามาตรการนั้นออกมาใช้ และแจกกัน ที่ 5000 B/เดือน ถึง 3 เดือน


และยังมีเรื่อง การขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่กับบ้าน และไม่ออกไป รวมกลุ่มกัน ก็ยังมีการละเลยกันอยู่


เมื่ออ่านจากข้างบนแล้ว ต้องคิดกันแล้วว่า Thailand Team เรามีกันหรือเปล่า !! เราจะมีความขัดแย้งกันตลอดเวลาเลยหรือ !! และคนไทย ไม่มีวินัย ไม่สนใจอะไรเลย นอกจากตัวเองหรือเปล่า !! (เราทำตามใจชอบ เราชอบติ แต่ไม่ชอบทำ)


ปัญหาเรื่อง Teamwork มันส่งผลให้การบริหารจัดการแย่ไปด้วยใช่ หรือไม่ คณะรัฐมนตรีที่มาจากต่างพรรคการเมือง เล่นเกมกัน หรือไม่ฟังกัน หรือ แต่คนต่างทำ !!


เรื่องนี้มันให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง : องค์กรไหนที่ไม่มี Team Work เราจะรู้เลยว่า องค์กรนั้นอาจไปไม่รอดในวิกฤตได้ ดังนั้น Team Work สำคัญและจำเป็น แต่ไม่ใช่มาสร้างกันตอนมีวิกฤต


5. Direction (ทิศทาง) : สถานการณ์ Covid 19 มันใหญ่โต จนมีผลกระทบไปทั่วโลก และมีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ( GDP) ของไทยเรา ซึ่งคาดการไว้ว่าจะติดลบถึง 5% รัฐบาลจะต้องรู้ว่า -5 % นั้นมันมาจากอะไร !! ผลกระทบจะเป็นอย่างไร !! จะรับมือ อย่างไร !! นี้เป็นงานของรัฐบาล ที่จะต้องกำหนดเป็นทิศทางออกมา


เรื่องนี้มันให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง : เราต้องคิดแล้วว่าปีนี้ Covid 19 มันจะมีผลกระทบอะไรกับธุรกิจเรา เราจะรับมืออย่างไร !! และในปีต่อ ไป เราจะนำเสนออะไร เพราะโลกจะเปลี่ยนไป ผู้คนจะใช้ชีวิตไป แบบไหน !! สินค้าและบริการใหม่ ที่คุณต้องคิดและทำออกมาให้ได้


6.Instinct (สัญชาตญาณ) : มันเป็นสิ่งที่ผู้บริหารประเทศต้องมี และเอามาใช้ เพราะถ้าจะรอแต่ข้อมูลให้ครบ และความสมบูรณแบบ หรือต้องรอให้มีคนสนับสนุนก่อน รัฐบาลจะไม่ได้รับการตอบรับ จากประชาชน เพราะความกลัวและกังวลของประชาชน จะทำให้พวก เขาขาดความเชื่อถือในตัวผู้นำ

เรื่องนี้มันให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง : ธุรกิจของคุณก็เหมือนกัน ต้องการสัญชาตญาณ ในการเอาตัวรอดของคุณ เอามันออกมาใช้ เพื่อดึงธุรกิจของคุณให้ เกิดความเปลี่ยนแปลง อย่างไรคุณก็ต้อง ตัดสินใจเพื่อจะเดินไปข้างหน้า ไม่มีใครรู้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า อนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไร เราเพียงต้องใช้ สัญชาตญาณ เท่านั้น

-------------------------------------------------------------------------------------

by Anant vachiravuthichai (Tangram Strategic Consultant)


#principle4biz #tangram


#professionalpurchasing #Internationaltrade


#codevelop #parttimegm


#covid19


---------------------------------------------------------------------------------


Tangram Strategic Consultant มี Class Room สำหรับ SME / ผู้สนใจ ในการพัฒนาธุรกิจ และบุคลากรของท่าน เรามีหัวข้อที่เปิด อบรม ท่านสามารถศึกษารายละเอียดในแต่ละหัวข้อได้ ตามข้อมูลข้างล่างนี้


และพิเศษสุดสำหรับช่วง Covid 19 นี้ ผมจะปรับการสอนจาก ในห้องประชุมมาเป็น Online โดยใช้ Video Conference แทนครับ สำหรับรายละเอียดจะเรียนให้ทราบอีกทีครับ แน่นอนครับ ค่าใช้จ่าย จะถูกเป็นพิเศษครับ


ผู้สนใจติดต่อสอบถามมาได้ที่ FB : Tangram Strategic Consultant / อนันต์ วชิราวุฒิชัย MB 089 814 9612




เคล็ดลับโค้ชฝากบอก ดูเคล็ดลับทั้งหมด »

วิทยากรด้าน พัฒนาธุรกิจ SME ดูวิทยากรทั้งหมด »