เงินทดแทน ประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย ในสิทธิประโยชน์ที่ผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการพึงทราบ

รหัสหลักสูตร: 22459

จำนวนคนดู 3585 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

     โดยทั่วไปในการจ้างงาน ทั้งผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานก็มักจะนึกถึงกำหนดวันเวลาทำงาน ค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลาหรือโอที วันหยุด วันลาต่างๆ ตลอดจนสิทธิที่ผู้ใช้แรงงานพึงได้เมื่อเกิดการเลิกจ้างซึ่งเป็นสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สิทธิหน้าที่ดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่กฎหมายแรงงานได้กำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการที่จะต้องจัดหรือแจ้งให้ผู้ใช้แรงงานทราบ แต่มิได้หมายความว่าผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการจะมีสิทธิหน้าที่ต่อกันเพียงเท่านี้ เพราะในปัจจุบันกฎหมายแรงงานยังกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้าทั้งกองทุนเงินทดแทน และกองทุนประกันสังคม ซึ่งในทางธุรกิจถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในทางสังคมให้กับผู้ใช้แรงงาน เพื่อที่ว่ากองทุนฯ จะได้จ่ายเงินที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการให้กับผู้ใช้แรงงานเมื่อเขาเหล่านั้นเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งในส่วนของผู้ใช้แรงงานเองก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยเพื่อเก็บสมทบเป็นค่าใช้จ่ายในยามที่ตนเจ็บป่วย หรือเกษียณอายุ แต่แม้ว่าจะมีเงินจากกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้ ก็อาจจะไม่เป็นการเพียงพอเมื่อผู้ใช้แรงงานตกอยู่ในสภาวะตกงาน หรือชราภาพ ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการให้ผู้ใช้แรงงานรู้จักอดออมเก็บสะสมเงินไว้แต่เนิ่นๆ ในรูปของการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัดให้ผู้ใช้แรงงานเป็นสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

            เมื่อฟังคร่าวๆ อาจเกิดทั้งความน่าสนใจและความสับสนว่าทั้ง “เงินทดแทน” “ประกันสังคม” และ“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” มีความสำคัญอย่างไรกับทั้งผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบกิจการกันแน่ ดังนั้นการอบรมในหลักสูตรนี้จึงเป็นการใช้เวลาเพียง 6 ชั่วโมงเพื่อให้ผู้รับการอบรมได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับทั้งผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการ อย่างลึกซึ้งและเจาะประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ 
       1. ความเป็นมาเป็นไปของ “เงินทดแทน” “ประกันสังคม” และ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”
       2. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิหน้าที่ในเงินทั้ง 3 กองทุนดังกล่าว โดยเฉพาะตัวผู้ประกอบการว่าผู้ประกอบการใดบ้างที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินดังกล่าวนี้ และผู้ใช้แรงงานประเภทใดบ้างที่อยู่ภายใต้กฎหมายที่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินทั้ง 3 กองทุนนี้

       3. สิทธิและหน้าที่ที่ “ผู้ประกอบการ” มีตามกฎหมายต่อเงินทั้ง 3 กองทุน
       4. สิทธิและหน้าที่ที่ “ผู้ใช้แรงงาน” มีตามกฎหมายต่อเงินทั้ง 3 กองทุน

หัวข้ออบรมสัมมนา

         1.    
         2.    
         3.    แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

เทคนิคการเช็คสต็อกอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficient Stock & Inventory Control Tech...

การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก โดยใช้สำหรับแสดงปริมาณและชนิดของสินค้าคงคลังว่ามีมากน้อยเพียงใดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และเพื่อสามารถติดตาม ควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้มีประมาณสินค้าคงคลังไม่มากจนกลายเป็นต้นทุนที่จมอยู่ในคลังสินค้าแล