ประเด็น นายจ้าง – ลูกจ้าง ทำผิดกฎหมายแรงงาน / ผิดข้อบังคับในการทำงาน / ผิดสัญญาจ้าง จะรับผิดอย่างไร?

รหัสหลักสูตร: 56222

จำนวนคนดู 1247 ครั้ง
กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม

สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
นายจ้างประกอบธุรกิจเพื่อผลิตสินค้า ให้กับลูกค้าที่เป็นไปตามสัญญาข้อตกลงกัน สิ่งที่ผู้ประกอบกิจการต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลา คือต้องผลิตสินค้าให้มากที่สุด ดังนั้น สิ่งที่จะก่อให้เกิดสินค้าที่ดี มีคุณภาพก็คือผู้ควบคุมงานและผู้ผลิตชิ้นงาน ซึ่งผู้บริหารบุคคลจึงเป็นปัจจัยหลักในการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ

เข้ามาทำงานในองค์กร และเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความตั้งใจในการทำงานได้พัฒนาแรงงาน และการทำกิจการต่างๆ เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาทอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อกระบวนการผลิตชิ้นงานให้ออกมาดี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทราบการสรรหาบุคลากรที่ดี และมีคุณภาพ เข้ามาทำงานให้กับองค์กร และการเลื่อนตำแหน่งงาน หรือการสร้างสิ่งโน้มน้าวจิตใจ ให้กับพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้นานๆ

2. เพื่อให้ทราบถึงผลดีต่อการพัฒนาและคุ้มค่าต่อพนักงานที่ได้เรียนรู้ ถึงการอบรมสัมมนาและการทำกิจกรรมต่างๆ หรือการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี ตามนโยบายของบริษัทฯ 

3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ถึงเทคนิคการแก้ปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในองค์กร และการกล่าวโทษทางวินัยของพนักงานที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการรับผิด รวมทั้งการเลิกจ้างพนักงานในกรณีต่างๆ ที่ผู้บริหารงานบุคคลจะต้องนำไปปฏิบัติจริง

หัวข้ออบรมสัมมนา
หัวข้ออบรม

1. กฎหมายคุ้มครองแรงงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างอย่างไร?

2. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สิทธิ์ต่อนายจ้าง – ลูกจ้างอย่างไร? 

3. การเขียนประกาศ – ระเบียบปฏิบัติ หรือคำสั่ง ที่ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย และขัดต่อข้อบังคับในการทำงานต้องเขียนอย่างไร? 

4. มาทำงานสายเป็นอาจิณ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลต้องดำเนินการอย่างไร? 

5. ลาป่วยเป็นอาจิณ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลต้องดำเนินการอย่างไร? 

6. อนุมัติการลาที่ไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลต้องดำเนินการอย่างไร? 

7. กรณีจ้างงานหลังเกษียณงาน ต้องทำสัญญาจ้างและกำหนดสวัสดิการอย่างไร? 

8. ตำแหน่งงานใดที่จะเรียกเงินประกันเข้าทำงาน 

9. สัญญาจ้างแรงงาน แตกต่างกับสัญญาจ้างทำของ อย่างไร? 

10. จ่ายค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด จะมีความผิดอย่างไร? 

11. แจ้งเอกสารอันเป็นเท็จ เพื่อประโยชน์ของตน เลิกจ้างได้หรือไม่? 

12. เวลาพัก มีพนักงานออกไปพักนอกโรงงาน และดื่มสิ่งมึนเมาเข้ามาทำงาน จะกล่าวโทษอย่างไร? 

13. การเขียนข้อความกล่าวโทษ ที่จะมีผลต่อการถูกเลิกจ้าง ต้องเขียนอย่างไร? 

14. การบันทึกข้อความในหนังสือเลิกจ้าง ต้องระบุเหตุความผิด และอ้างถึงข้อกฎหมาย / ข้อบังคับฯ / วินัย / เขียนให้คุม ต้องเขียนอย่างไร? 

15. การพิจารณาการปรับค่าจ้างประจำปี พิจารณาจากอะไร? 

16. ไม่ได้รับการปรับค่าจ้างประจำปี เหมือนพนักงานอื่น จึงร้องทุกข์ต่อผู้จัดการฝ่ายบุคคล เพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้ยุติลง ต้องดำเนินการอย่างไร? 

17. คำว่าภายใน 1 ปี ไม่ปฏิบัติตน ผิดซ้ำ คำเตือน จะนับตั้งแต่วันเกิดเหตุ หรือวันกล่าวโทษ 

18. พนักงานในองค์กรอาศัยความเป็นลูกจ้างฝากงานให้คนรู้จักกันเข้าทำงาน โดยเรียกรับผลประโยชน์ นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่? 

19. หัวหน้างานสั่งพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาโดยสอบสวนฝ่ายเดียว และผู้ทำผิดไม่ยอมลงนามในหนังสือการกล่าวโทษ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลต้องดำเนินการอย่างไร? 

20. นายจ้างนำตำรวจเข้าตรวจฉี่พนักงานในโรงงานเพื่อหาสารเสพติด เมื่อตรวจพบนายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่? 

21. ตามใบสมัครงานมีข้อความว่า ในระหว่างทำงาน หรือออกจากงานไปแล้ว ภายใน 2 ปี ข้าฯ ยินยอมที่จะไม่ทำงาน เพื่อหรือทำประโยชน์ให้กับงานที่มีลักษณะเดียวกันกับนายจ้าง เมื่อลูกจ้างผิดสัญญา นายจ้างฟ้องศาลแรงงาน เพื่อเรียกค่าเสียหาย อดีตลูกจ้างจะรับผิดอย่างไร? 

22. ทำสัญญาจ้างรับพนักงานใหม่เข้าทำงาน เมื่อถึงวันทำงาน นายจ้างบอกเลิกสัญญา ลูกจ้างไปฟ้องศาลแรงงาน นายจ้างจะรับผิดอย่างไร? 

23. มีข้อพิพาทแรงงานระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดขึ้นในองค์กร ผจ.บุคคลจะไกล่เกลี่ยปัญหาให้ยุติลงได้อย่างไร? 

24. องค์กรประสบปัญหาการจ่ายโบนัสประจำปี มีพนักงานชุมนุมเพื่อกดดันปัญหาที่เกิด ผจ.บุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไร ที่จะเข้าไปไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นให้ยุติลง 

25. ก่อนเลิกจ้าง 10 ค่า ที่จะตรวจสอบให้กับลูกจ้าง มีอะไรบ้าง? 

26. บอกเลิกจ้างให้ถูกกฎหมายต่อลูกจ้างที่รับค่าจ้าง เป็นวันต่อวัน – รับเป็น 15 วัน – รับเป็นเดือน ต้องบอกกล่าวอย่างไร? 

27. เลิกจ้างไม่ออกใบผ่านงานให้ นายจ้างจะรับผิดอย่างไร? 

28. เลิกจ้างไม่คืนเงินประกันการทำงานให้ นายจ้างจะรับผิดอย่างไร? 

29. ลูกจ้างยื่นใบลาออกวันต่อมาไม่ทำงานหายไปเลย ลูกจ้างจะรับผิดอย่างไร? 

30. ผู้มีอำนาจบอกเลิกจ้างโดยไม่แจ้งเหตุผลใดๆ โดยจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า – ค่าชดเชย – เงินประกัน – เงินสะสม และเงินสมทบ ตามระเบียบ ทุกอย่าง ลูกจ้างไปฟ้องศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างจะมีสิทธิ์ได้รับหรือไม่? 

31. ทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง จะต้องได้รับโทษเป็นหนังสือเตือน มีลักษณะของการกระทำอย่างไร? 

32. ทำผิดวินัยร้ายแรง ที่จะต้องถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่างค่าชดเชย มีลักษณะของการกระทำอย่างไร? 

33. ลูกจ้างร้องต่อผู้ตรวจแรงงาน ด้วยเหตุถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือเงินอื่นเมื่อสอบข้อเท็จจริงแล้ว มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินตามที่ผู้ร้องเรียก นายจ้างไม่จ่ายเงินตามที่ผู้ตรวจแรงงานสั่ง นายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร? 

34. เมื่อลูกจ้างออกจากงานไปแล้วไปฟ้องศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ นายจ้างไม่จ้างทนายความ มีนโยบาย และมอบหมายให้ ผจ.บุคคลเข้าดำเนินการ จนคดีไปถึงที่สินสุด ผจ.บุคคลต้องดำเนินการอย่างไร? 

35. คำพิพากษาศาลฎีกา 60 คดี ที่ตัดสินคดีแรงงานไปแล้ว ที่ผู้บริหารงานบุคคลควรรู้มีคดีอะไรบ้าง? 

ถาม – ตอบ – แนะนำ

วิทยากร
ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 097-474-6644
อีเมล์ [email protected]
ไลน์ไอดี @seminardd
คำค้นประกาศนี้ Tags: กฎหมายคุ้มครองแรงงาน