เจาะประเด็น....การใช้เทคนิคตามอำนาจหน้าที่ของหัวหน้างาน
รหัสหลักสูตร: 56356
สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้หัวหน้างานขณะปฏิบัติงานได้ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน เป็นที่ยอมรับต่อเพื่อนร่วมงาน และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจและนำหลักการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีไปปฏิบัติจริงต่อผู้ใต้บังคับบัญชา หรือการพัฒนาคนให้เหมาะสมกับการทำความดีให้กับองค์กร
3. เพื่อให้ทราบถึงการเรียนรู้ เทคนิคการแก้ปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในองค์กรหรือการกล่าวโทษทางวินัยของพนักงานที่ปฏิบัติตนผิดข้อบังคับในการทำงาน ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาความชอบ หรือได้รับการกล่าวโทษเป็นหนังสือเตือนหรือถูกเลิกจ้าง
1. การดำรงตนของหัวหน้างานที่ดี
-การปฏิบัติตนให้ดีเป็นที่ยอมรับต่อองค์กร / ต่อเพื่อนร่วมงาน ต้องปฏิบัติตนอย่างไร?
-ระหว่างผู้บริหารกับหัวหน้างาน มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างไร?
2. ปัจจัยที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จต่อการปฏิบัติงานและงานมีคุณภาพ หัวหน้างานต้องวิเคราะห์อย่างไร?
-การวางแผนงาน
-การทำงานเป็นทีม
-การใช้คนให้ตรงกับงาน
-การทำกิจกรรม 5ส หัวหน้างานระดับปฏิบัติการ ต้องเป็นผู้นำในการดำเนินการอย่างไร?
-การทำกิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) หัวหน้างานระดับปฏิบัติการ ต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ดีอย่างไร?
3. การสร้างแรงงานสัมพันธ์อันดีงานระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา
-การทำกิจกรรมภายใน ผู้บริหารระดับจัดการควรอำนวยความสะดวกอย่างไร?
-การทำกิจกรรมภายนอก ผู้บริหารระดับจัดการควรส่งเสริมการทำกิจกรรมอย่างไร?
-การประชุมกรรมการสวัสดิการ / กรรมการลูกจ้าง หัวหน้างานต้องมองเห็นความสำคัญอย่างไร?
4. การพิจารณาความชอบและการลงโทษให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา
-การประเมินผลงานประจำปี หัวหน้างานจะพิจารณาในภาพรวมอย่างไร?
-การจ่ายสวัสดิการเพิ่ม เป็นรายบุคคล จะพิจารณาตามระเบียบอย่างไร?
-การเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้างาน จะพิจารณาตามความสามารถอย่างไร?
-การพิจารณาลงโทษ – ลด – ปลด – ย้าย พิจารณาจากอะไร?
5. การใช้อำนาจตามหน้าที่ เมื่อมีผู้ใต้บังคับบัญชาทำผิดวินัยในการทำงาน
-มาสาย - ลากิจ – ลาป่วย – ลาไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ หัวหน้างานต้องดำเนินการอย่างไร?
-หัวหน้างานเรียกประชุมก่อนทำงาน มีพนักงานไม่เข้าประชุมเป็นอาจิณ หน. ต้องดำเนินการอย่างไร?
-หัวหน้างานออกคำสั่งด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ จะเกิดผลดี – ผลเสียอย่างไร?
-พบปัญหาในกระบวนการผลิต แนวทางการแก้ปัญหาที่ดี หัวหน้างานต้องดำเนินการอย่างไร?
-อนุมัติการลาหรือไม่อนุมัติ หัวหน้างานจะพิจารณาจากอะไร?
-การอนุญาตหรือไม่อนุญาต ให้ออกนอกโรงงาน จะพิจารณาจากอะไร?
-การเขียนคำกล่าวโทษ (หนังสือเตือน) และการนับเวลา ผิดซ้ำคำเตือน จะนับตั้งแต่เมื่อใด?
-ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือเตือน หัวหน้างานต้องดำเนินการอย่างไร?
-เมื่อพบผู้ใต้บังคับบัญชาใช้สถานที่ทำงาน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตน หัวหน้างานต้องดำเนินการอย่างไร?
-เวลาพัก ออกไปดื่มสุรา แล้วเข้ามาทำงาน หัวหน้างานจะพิจารณาความผิดอย่างไร?
-ใช้โทรศัพท์ในเวลาทำงานเป็นอาจิณ หัวหน้างานพบปัญหา ต้องดำเนินการอย่างไร?
-ลูกจ้างลาถูกระเบียบไปเยี่ยมบิดาที่ป่วยอยู่ต่างจังหวัด เมื่อครบกำหนด โทรลาต่ออีก 4 วัน หัวหน้างานรับทราบ แต่ไม่อนุมัติ จะถือว่าลูกจ้างขาดงานเกิน 3 วัน สามารถเลิกจ้างได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?
-ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าร้องทุกข์ต่อผู้บริหารระดับสูง เรื่องได้รับการปรับค่าจ้างน้อยกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น หัวหน้างานจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร?
-มีพนักงานชุมนุมกัน เพื่อกดดันนายจ้างให้จ่ายเงินโนบัสตามที่ต้องการ ผู้บริหารและหัวหน้างาน จะใช้เทคนิคอย่างไร ที่จะเข้าไปไกล่เกลี่ยปัญหาให้ยุติลง
-ผู้ใต้บังคับบัญชาทำความเสียหายเกิดขึ้นและออกงานไป ผู้ค้ำประกันการทำงานจะรับผิดในอัตราเท่าใด?
-หัวหน้างานได้ออกจากงานไปทำงานกับคู่แข่งทางการค้าของนายจ้าง และได้เปิดเผยความลับทางการค้าของนายจ้างด้วย นายจ้างฟ้องศาลแรงงานเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย อดีตลูกจ้างจะรับผิดอย่างไร?
-นายจ้างนำตำรวจเข้าตรวจฉี่พนักงานในโรงงาน พบสารเสพติดกับพนักงาน นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่?
-ผู้ใต้บังคับบัญชาลาออกจากงานต่อหัวหน้างาน และผ่านไปถึง ผจ.บุคคล วันต่อมา ขอยกเลิกการลาออก ทำได้หรือไม่?
-หัวหน้างานจะกล่าวโทษเป็นกรณีไม่ร้ายแรง พิจารณาจากอะไร?
-หัวหน้างานจะกล่าวโทษเป็นกรณีร้ายแรง พิจารณาจากอะไร?
6. ปัญหาของภาพรวมที่เกิดขึ้นในองค์กร
-การลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาตามโทษานุโทษ หรือลงโทษลัดขั้นตอน จะเกิดผลกระทบอย่างไร?
-ปัญหาที่ทำให้พนักงานตั้งสหภาพแรงงานขึ้นในองค์กร มาจากอะไร?
-ปัญหาที่ทำให้พนักงานทำผิดวินัยในการทำงานบ่อยๆ มาจากอะไร?
-การกระทำอันไม่เป็นธรรม คือการปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร?
-การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือการเลิกจ้างพนักงานอย่างไร?
-เลิกจ้างลูกจ้างอย่างไร? ไม่ให้เกิดปัญหาฟ้องศาลแรงงานภายหลัง
7. คำพิพากษาฎีกา ที่หัวหน้างานควรรู้ มีอะไรบ้าง
ถาม – ตอบ – แนะนำ